DSpace Repository

ทัศนคติและการตอบสนองของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับที่มีต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ 

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์
dc.contributor.author รัชนิดา เวชภูติ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T12:38:41Z
dc.date.available 2020-11-11T12:38:41Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69866
dc.description สารนิพนธ์ (นศ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ผ่านช่องทางออนไลน์ ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ และการตอบสนองต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับ และเพื่ออธิบายความแตกต่างทางลักษณะประชากรและการเปิดรับตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ผ่านช่องทางออนไลน์ ทัศนคติต่อตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ และการตอบสนองต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับ ลิซ่า แบล็กพิงก์ จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับ ลิซ่า แบล็กพิงก์ มีการเปิดรับตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ผ่านช่องทางออนไลน์ในระดับมากที่สุด ได้แก่เฟสบุ๊ก และในระดับรองลงมา คือ ยูทูบ อินสตาแกรม และกูเกิ้ล (โปรแกรมค้นหา) ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อตราสินค้าบุคคล ว่าอยู่ในกระแสนิยม รองลงมา มีด้านความสามารถพิเศษด้านเต้น และรูปร่างหน้าตา ที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์ จดจำง่าย และ มีการตอบสนองต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล คือ สามารถจดจำตราสินค้าได้ในระดับสูงที่สุด ความแตกต่างทางลักษณะประชากรด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนและด้านระดับการศึกษาของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับมีความแตกต่างกันในการเปิดรับตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ผ่านช่องทางออนไลน์และการตอบสนองต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคลที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ความแตกต่างทางลักษณะประชากรด้านระดับการศึกษามีความแตกต่างกันด้านทัศนคติที่มีต่อตราสินค้าบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
dc.description.abstractalternative The purposes of this quantitative research include to explore non-fan consumers' exposure, attitude and responses towards the personal brand communication of Lisa Blackpink via online channels, as well as to study the differences among demographic profiles namely age, sex, income, education level, career and marital status. Questionnaires were distributed to gather the data from 200 respondents of consumers who are not Lisa Blackpink's fans. The results showed that the non-fan consumers were exposed to Lisa Blackpink’s personal brand communication via Facebook, YouTube, Instagram and Google (search engine) respectively. They rated their attitude towards this personal brand as  being in trendy with dancing talent and outstanding appearance as well as being unique and easy to remember. Their responses to this brand was being able to remember the products and services via the communication. The results also showed that different demographic profiles including income and education levels had different level of brand exposure via online channels and different responses toward Lisa Blackpink's personal brand communication. Lastly, different education levels had difference levels of attitude towards this personal brand.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.218
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title ทัศนคติและการตอบสนองของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับที่มีต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ 
dc.title.alternative Attitude and responses of non-fan consumers toward personal branding communication of Lisa Blackpink
dc.type Independent Study
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2019.218


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Comm - Independent Studies [117]
    สารนิพนธ์ คณะนิเทศศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record