DSpace Repository

การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภค

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธาตรี ใต้ฟ้าพูล
dc.contributor.author สราวุธ บูรพาพัธ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T12:38:43Z
dc.date.available 2020-11-11T12:38:43Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69868
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภค 2) ความแตกต่างทางลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอต 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการยอมรับฯ และ 4) ปัจจัยที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตได้ระหว่างปัจจัยการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และทัศนคติ สำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรและผู้บริโภคทั่วประเทศ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1)  กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรและผู้บริโภค มีการเปิดรับความข่าวสารในระดับต่ำมาก มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวระดับปานกลาง มีทัศนคติเป็นกลาง และพฤติกรรมการยอมรับฯตั้งใจที่จะทำ โดย 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการยอมรับฯ แตกต่างกัน 3) การเปิดรับข่าวสารไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทัศนคติแต่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการยอมรับฯ ความรู้มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและพฤติกรรมการยอมรับฯ เช่นเดียวกับ ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการยอมรับฯ รวมทั้ง การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางและมีอิทธิพลร้อยละ 29.20 ต่อพฤติกรรมการยอมรับฯ 4) ปัจจัยที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตได้ดีที่สุด คือ ทัศนคติ
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were 1) to explore consumers and farmers’ media exposure, knowledge, attitude and acceptance of paraquat usage, to explore the difference among the media exposure, the knowledge, the attitude and the acceptance of paraquat usage in demographic characteristics and 3) to explain those association also 4) to describe the key factor for the acceptance of paraquat usage. This is a quantitative research which collected the samples of 400 consumers and farmers in Thailand, by using questionnaire. Percentage, frequency, mean, standard deviation, T-test, One-way analysis of variance ANOVA, Pearson’s product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis were used by SPSS program. As a result, the findings are: 1) the media exposure of consumers and farmers are at the lowest level. Their knowledge is a moderate level and the attitude is neutral level but the acceptance of paraquat usage is high level. 2)  There are differences in the media exposure, the knowledge, the attitude and the acceptance of paraquat usage among demographic characteristics. 3) There are associations between the media exposure and the acceptance of paraquat usage. There are associations between the knowledge and the attitude also the acceptance of paraquat usage. As well, there are associations between the attitude and the acceptance of paraquat usage. The media exposure, the knowledge and the attitude can predict moderately the acceptance of paraquat usage at 29.20% of the coefficient of multiple determination 4) The key factor for the acceptance of paraquat usage is the attitude.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.882
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภค
dc.title.alternative Consumers and farmers' media exposure, knowledge, attitude and acceptance of paraquat usage
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.882


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record