dc.contributor.advisor | พัศพันธน์ ชาญวสุนันท์ | |
dc.contributor.author | นัทชา เลิศประดิษฐ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T12:58:35Z | |
dc.date.available | 2020-11-11T12:58:35Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69909 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | |
dc.description.abstract | โครงการอาคารชุดในกรุงเทพมหานครอยู่ภายใต้กฎหมายซึ่งกำหนดจำนวนขั้นต่ำของที่จอดรถยนต์ที่ต้องจัดเตรียมในโครงการโดยกำหนดจำนวนที่จอดรถยนต์จากขนาดพื้นที่ห้องชุดและพื้นที่อาคาร อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยที่กล่าวถึงระยะเดินเท้าของคนที่แสดงถึงพฤติกรรมการเดินเท้าของผู้พักอาศัยโดยรอบสถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็วหรือรถไฟฟ้าที่ต่างกันไปตามระยะห่างจากสถานี ซึ่งอาจส่งผลถึงความต่างของพฤติกรรมการใช้รถยนต์ของผู้พักอาศัย และการจัดเตรียมจำนวนที่จอดรถยนต์ในโครงการพักอาศัยที่ตั้งอยู่ในระยะห่างจากสถานีที่ต่างกัน อีกทั้ง การลงทุนพัฒนาโครงการอาคารชุดต้องใช้เงินลงทุนสูง ผู้ประกอบการจึงได้นำเสนอแนวคิดว่า การลดอัตราส่วนที่จอดรถยนต์ลงสามารถมีส่วนช่วยลดต้นทุนได้ โดยเฉพาะโครงการอาคารชุดตามทำเลแนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนแบบเร็วหรือรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นทำเลที่ที่ดินมีราคาสูง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์และพฤติกรรมการใช้งานที่จอดรถยนต์ของผู้อยู่อาศัยในโครงการอาคารชุดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบตามระยะห่างจากโครงการอาคารชุดถึงสถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็ว โดยใช้วิธีการศึกษาทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านอุปทาน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างโครงการอาคารชุดจำนวน 430 โครงการ จากการสุ่มตัวอย่างจากรายชื่อโครงการอาคารชุดที่ได้รับอนุมัติความเห็นชอบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2561 ในเอกสารรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และด้านอุปสงค์ โดยศึกษาด้วยการเก็บแบบสอบถามข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานที่จอดรถยนต์ในโครงการอาคารชุดจากกลุ่มตัวอย่างผู้พักอาศัยจำนวน 293 คน ซึ่งอาศัยในโครงการอาคารชุดที่มีลักษณะเดียวกันกับโครงการกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาด้านอุปทาน จากนั้นจึงนำข้อมูลที่รวบรวมได้ มาวิเคราะห์เชิงสถิติ สรุปผล และอภิปราย จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า โครงการอาคารชุดในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่จัดเตรียมที่จอดรถยนต์ไว้เท่ากับจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31 ของจำนวนโครงการทั้งหมด โดยจัดเตรียมที่จอดรถยนต์ไว้โดยเฉลี่ยที่สัดส่วนร้อยละ 104 เมื่อเทียบกับจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 82 จัดเตรียมที่จอดรถยนต์ในโครงการไว้เป็นสัดส่วนไม่เกินค่าเฉลี่ยดังกล่าว เมื่อเทียบกับจำนวนห้องชุด โครงการอาคารชุดในภาพรวมมีการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์เฉลี่ยที่ร้อยละ 54 ต่อจำนวนห้องชุดในแต่ละโครงการ กล่าวคือ เตรียมไว้ประมาณกึ่งหนึ่งของจำนวนห้องชุดทั้งหมด ความแตกต่างของระยะห่างของที่ตั้งโครงการจากสถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็วไม่ทำให้เกิดความแตกต่างในการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์ในแต่ละโครงการ โดยโครงการอาคารชุดที่ตั้งอยู่ในระยะห่างที่ต่างกันมีการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์ไว้ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยทั้งสิ้น โครงการอาคารชุดในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในมีแนวโน้มที่จะจัดเตรียมที่จอดรถยนต์เกินจากที่กฎหมายกำหนดในสัดส่วนที่สูงกว่าพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นกลาง และชั้นนอก ส่วนความแตกต่างของพื้นที่ในและนอกย่านศูนย์เศรษฐกิจ ไม่ก่อให้เกิดความต่างในการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์ในโครงการอาคารชุดนัก สำหรับโครงการที่จัดเตรียมที่จอดรถยนต์ไว้เกินกว่าจำนวนที่จอดรถยนต์ที่กฎหมายกำหนดค่อนข้างสูงนั้น จะตั้งอยู่ใกล้สถานีระบบขนส่งมวลชนรูปแบบสถานีทั่วไปที่ไม่ใช่สถานีร่วม เมื่อศึกษาพฤติกรรมการของผู้พักอาศัยในการใช้ที่จอดรถยนต์ในโครงการอาคารชุด พบว่า ร้อยละ 75 ของกลุ่มตัวอย่างใช้รถยนต์ในการเดินทางเป็นประจำ โดยมีสัดส่วนการใช้ที่จอดรถยนต์ในโครงการแตกต่างกันไปตามช่วงวันและเวลา ตั้งแต่ร้อยละ 15 ถึงร้อยละ 57 ต่อจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ผู้พักอาศัยกลุ่มตัวอย่างจอดรถยนต์เป็นจำนวนมากในช่วงเวลาตั้งแต่ 18.00-08.00 น. ในขณะที่ช่วงเวลา 08.00-18.00 มีอัตราการจอดรถยนต์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 18 ส่วนในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ผู้พักอาศัยกลุ่มตัวอย่างจะจอดรถยนต์ในโครงการเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 30 จากการอภิปรายผล ในภาพรวมที่จอดรถยนต์ที่โครงการจัดเตรียมซึ่งส่วนใหญ่เตรียมไว้ใกล้เคียงกับจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดนั้นมีความสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งานจริง และหากจะปรับลดจำนวนที่จอดรถยนต์ขั้นต่ำลงก็มีความเป็นไปได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ใกล้สถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็ว เนื่องจากผู้พักอาศัยในระยะ 500 เมตรจากสถานีใช้การเดินเท้าเป็นรูปแบบการเดินทางหลัก ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดเรื่องระยะการเดินเท้าที่ผ่านมา | |
dc.description.abstractalternative | Condominiums in Bangkok are subjected to the building code enforcing the minimum number of car parking spaces to be provided in the project, known as Minimum Parking Requirements (MPRs), which are determined by a formula based on room area and building area. However, there is some research about walking distance that indicates that walking behavior of residents living near mass rapid transit stations varies according to the distance from the station. Those theories may provide insight into differences in car use habits and the number of parking spaces needed for condominiums located at different distances to the stations. Condominium project development requires high investment. Developers, therefore, have proposed the idea that reducing the Minimum Parking Requirements can help reduce investment required in condominium projects along mass rapid transit routes, where land prices are high. Thus, this research aims to study the provision of parking spaces in condominiums, and residents’ parking behavior in Bangkok, compared by distance to mass rapid transit stations. There are 2 types of research carried out in this study. The first type is supply research performed by studying 430 random samples of condominium projects, selected from a list of projects in Environmental Impact Assessment (EIA) reports, that were approved from 2008 to 2018. The other type is demand research carried out by collecting questionnaires from 293 residents living in a condominium which had the same characteristics as the sample projects used in the supply research. Following data collection, all information is analyzed with statistical methods and summarized. This research found that 31 percent of sample projects provide parking spaces equal to the minimum number required by law. An average of providing parking lots ratio is 104 percent compared to Minimum Parking Requirements. Eighty-two percent of sample projects did not provide more than the average. Compared as a percentage of the number of condominium units, the number of parking spaces averaged 54 percent of the total number of units in each project. The difference in the distance of the condominiums from the mass rapid transit stations does not make significant difference in the provision of parking spaces, with most close to the average. Condominiums located in the inner Bangkok area tend to provide a higher proportion of parking spaces than the law requires compared to the middle and outer areas of Bangkok. The differences in the areas inside and outside the Central Business District do not cause any difference in the provision of car parking in the condominium. Projects that provide parking lots that greatly exceed the Minimum Parking Requirements are likely to be found near a mass transit station which is a non-junction station. With regard to parking behavior, 75 percent of residents were found to usually travel in their own cars. The use of parking lots in the condominium varied widely between 15 and 57 percent of the total of residents depending on the date and time. From Monday to Friday, residents mostly make use of the condominium parking areas between 6 PM and 8 AM, while from 8 AM to 6 PM the average parking usage is 18 percent, less than Saturdays and Sundays which average 30 percent. In general, the parking space provided by the condominium, which is close to the minimum required by law, is consistent with actual usage behavior. Still, there may be some merit in the idea of reducing the Minimum Parking Requirements, especially in areas close to mass rapid transit stations as residents within 500 meters of the station primarily travel by foot, which is in agreement with previous research on walking distances. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.684 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.title | การจัดให้มีที่จอดรถยนต์และการใช้งานที่จอดรถยนต์ของผู้อยู่อาศัยในโครงการอาคารชุดเปรียบเทียบตามระยะห่างของโครงการจากสถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็ว | |
dc.title.alternative | Provision of parking spaces and parking usage of condominium residents compared based on distance from mass rapid transit stations | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.684 |