DSpace Repository

กลยุทธ์ในการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยกรณีศึกษา บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)

Show simple item record

dc.contributor.advisor พัศพันธน์ ชาญวสุนันท์
dc.contributor.author พรรณรัตน์ หะรารักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T12:58:37Z
dc.date.available 2020-11-11T12:58:37Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69912
dc.description วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่ถือว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศเป็นอย่างมาก โดยมีความสำเร็จของภาคเอกชนเป็นรากฐานที่สำคัญ แต่ก็เป็นธุรกิจที่มักจะได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอาคารชุดมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมากในปัจจุบัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ระดับองค์กรของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงวิธีการในการรับมือกับสภาพเศรษฐกิจในแต่ละปีที่ส่งผลถึงกลยุทธ์ระดับผลิตภัณฑ์ และแนวคิดในการพัฒนาของอาคารชุดแต่ละแบรนด์ที่มีในปัจจุบัน จากการเลือกกรณีศึกษาที่มีความโดดเด่นด้านรายได้ คือบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารเผยแพร่ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ รายงานข้อมูลประจำปี (56-1) และเอกสารอ้างอิงต่างๆ จากนั้นจึงเก็บข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง             ผลการศึกษาพบว่า บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  แบ่งโครงสร้างบริษัทเป็นฝั่งแวลูและพรีเมียม ซึ่งมีกลยุทธ์และแนวคิดที่แตกต่างกัน โดยฝั่งแวลูเน้นการสร้างฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่เป็นหลัก ไม่ซับซ้อน เน้นราคาและทำเล ส่วนฝั่งพรีเมียมเน้นการสร้างความแตกต่างจากไลฟ์สไตล์ลูกค้า ในส่วนของเป้าหมายและการกำหนดทิศทางของแต่ละปีนั้น บริษัทคำนึงถึงการปรับตัวตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยการสร้างแบรนด์ให้เกิดความหลากหลาย ครอบคลุมทุกกลุ่มตลาด เพื่อที่จะสามารถปรับตัวให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจ             ผลการศึกษาสรุปว่า กลยุทธ์การพัฒนาสำหรับอาคารชุดพักอาศัยของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)   คือการขยายพอร์ทให้เติบโตและยืดหยุ่นตามสภาวะตลาด โดยการสร้างธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และบริการที่หลากหลาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปรับตัวตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในแต่ละปี ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วงระยะเวลา คือ ช่วงที่ 1 (พ.ศ.2550-2553) เริ่มพัฒนาโครงการอาคารชุด ใช้กลยุทธ์การบริหารต้นทุนและกระจายการลงทุน สอดคล้องกับนโยบาย BOI ของรัฐบาล ช่วงที่ 2 (พ.ศ.2554-2557)  เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่และปัญหาการเมือง จึงยังคงเน้นกลยุทธ์การบริหารต้นทุนเป็นหลัก โดยมีกลยุทธ์สร้างเสร็จไว เร่งการรับรู้รายได้และสร้างความแข็งแรงในองค์กรเป็นกลยุทธ์รอง และช่วงที่ 3 (พ.ศ.2558-2562) ตลาดบนเป็นที่ต้องการ เริ่มมีการแข่งขันด้านนวัตกรรม การพัฒนาโครงการแบบมิกซ์ยูส ทำให้เกิดแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์ลูกค้ามากขึ้น เน้นกลยุทธ์เพิ่มมูลค่า กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์และการตลาดแบบออนไลน์ โดยที่กลยุทธ์หลักยังคงเป็นเรื่องของการบริหารต้นทุน
dc.description.abstractalternative Real estate is a crucial sector for the national economy, especially because it is produced and driven by the private sector. But it is often affected by the changing economic circumstance. The recent surge in condominium construction provides evidence of real market expansion. This research aims to analyze the corporate strategy of real estate development company, product strategy for coping with continually changing economic circumstance, and the concept of current brand development. In an effort to better understand the ongoing revenue of real estate companies, Pruksa Real Estate Public Company Limited was selected as the subject of a case study. The data were collected predominately by reviewing secondary sources, i.e., publications of the Office of the National Economic and Social Development Council, the Bank of Thailand, Kasikorn Research Center, The Real Estate Information Center, and the Annual Report (56-1) of Pruksa Real Estate Public Company Limited. To collect primary data, interviews of executives and relevant team members were conducted.                The results from this research show that the business unit is divided into two main units, which are Premium unit and Value unit, each of which has its own strategies and development concepts. The Value unit strategies focus on mass customers, price, and location,  While the Premium unit differentiates its product through a focus on customer lifestyle. With regard to annual targets and direction, the company adapts to changing economic circumstance by producing the various ranges of products, which allows the company to operate and survive in fluctuating economic circumstances.             It can be concluded that expansion in the range and flexibility of products to cope with annual economic circumstances by various business models, products, and services is the main strategy of company’s condominium development units, and the relevant history can be divided into 3 periods. The first period is 2007-2010, when condominium development was started. At that time, cost-intensive focus and product diversification comprised the main strategy, and some of the products were supported by BOI policy. The second period is 2011-2014, when an oversupply of condominiums occurred. In addition, the industry was affected by flooding and political problems. The cost-intensive strategy was the main strategy at this time, while improvements in construction speed, product handover for revenue recognition, and strengthening the organization and team members comprised secondary strategies. The most recent period is 2015-2019, when high positioning product has been needed. Innovation and mix-used projects have been developed by many real estate companies to fulfill the customer lifestyle goals. The cost-intensive strategy is still the main strategy, while value-added and online marketing strategies comprise secondary strategies.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.688
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title กลยุทธ์ในการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยกรณีศึกษา บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
dc.title.alternative Strategy of condominium development : case study Pruksa Real Estate Public Company Limited
dc.type Thesis
dc.degree.name เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.688


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record