DSpace Repository

การเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุธรรมา นิติเกษตรสุนทร
dc.contributor.author พงศกร โค้วไพโรจน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T14:06:18Z
dc.date.available 2020-11-11T14:06:18Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70448
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลจากชาวไทยที่เป็นผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่เคยใช้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. ส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลข่าวสารจาก Facebook Page Amazing Thailand โดยใน 1 สัปดาห์ มีความถี่การใช้บริการ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนผู้ที่ไม่เคยใช้บริการมีสาเหตุเนื่องจากไม่ทราบมาก่อนว่า ททท. มีช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล ผลการศึกษาเรื่องความเชื่อมั่นต่อข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. โดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน สำหรับการวิเคราะห์อิทธิพลด้านประชากรศาสตร์ต่อปัจจัยต่างๆ พบว่า ปัจจัยด้านเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน มีผลต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. ส่วนปัจจัยด้านระดับการศึกษา มีผลต่อความเชื่อมั่นต่อข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. และปัจจัยด้านเพศ ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. ส่วนผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. พบว่าทั้ง 3 ปัจจัยมีความสัมพันธ์กัน โดยเป็นความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
dc.description.abstractalternative This study has an objective to examine the media exposure, confidence and media uses of Thai social media users to the Tourism Authority of Thailand (TAT)’s digital contents. A quantitative methodology was used in the analysis of responses provided by 400 Thai social media users, acquired by a well-structured questionnaire. The data were later statistically analyzed using a few methods including t-test, One-way ANOVA and Pearson’s correlation coefficient. The results show that the majority of the people who follow TAT’s news updates through its online channels also follow news updates on TAT’s Amazing Thailand Facebook Page. In average, they usually visit TAT’s Facebook Page 1-3 times a week. On the other hand, most of those who never receive news updates from TAT are unaware that TAT has such an online communication channel. It is obvious that TAT can generally build strong confidence in its credibility of digital contents. Correspondingly, the uses of TAT’s news updates through its digital contents are generally high. In terms of demographic factors, the researcher found out that gender, education level and monthly income are related to the media exposure of TAT’s news updates through its digital contents. In the aspect of confidence in TAT’s credibility for its digital contents, education level is the contributing factor. Meanwhile, gender is the contributing factor for the uses of TAT’s news updates on its online channel.  The study also shows a connection between the media exposure, confidence and media uses of Thai people to TAT’s digital contents as a positive covariance. 
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.261
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย -- การประชาสัมพันธ์
dc.subject การเผยแพร่ข่าวสาร
dc.subject Tourism Authority of Thailand -- Public relations
dc.subject Publicity
dc.subject.classification Social Sciences
dc.subject.classification Business
dc.title การเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
dc.title.alternative Tourism Authority of Thailand's media exposure, confidence and its media uses through digital contents
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.subject.keyword Media Exposure
dc.subject.keyword Confidence
dc.subject.keyword Media Uses
dc.subject.keyword Digital Contents
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2019.261


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record