DSpace Repository

นักดื่มหน้าใหม่กับมาตรการควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

Show simple item record

dc.contributor.advisor วงอร พัวพันสวัสดิ์
dc.contributor.author ภัฏฏินวดี จำปาอ่อน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T14:06:31Z
dc.date.available 2020-11-11T14:06:31Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70461
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งตอบคำถามที่ว่านักดื่มหน้าใหม่มีพฤติกรรมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างไร และประสิทธิผลมาตรการควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่เป็นอย่างไร โดยมองมาตรการควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านกรอบแนวคิดนโยบายสาธารณะในฐานะเครื่องมือแทรกแซงพฤติกรรม ใช้ระเบียบวิธิวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ (Online questionnaire) เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิต นักศึกษา ที่ศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญาหรือปริญญาตรีที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 272 คน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า (1) กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกในช่วงอายุระหว่าง 12-15 ปี คิดเป็นร้อยละ 47.79 ซึ่งเป็นการเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่อายุที่น้อยมาก (2) ชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ดื่มครั้งแรก คือ เบียร์ คิดเป็นร้อยละ 52.94 และเบียร์ ยังเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ชอบดื่มมากที่สุดในปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 67.65 (3) ผู้ที่มีอิทธิพลในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกของกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ คือ เพื่อน คิดเป็นร้อยละ 54.04 (4) เหตุผลที่กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ดื่มเครืองดื่มแอลกอฮอล์ในครั้งแรก คือ อยากทดลอง คิดเป็นร้อยละ 45.58 (5) ร้านขายของชำเป็นสถานที่ที่กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.29 และยังเป็นสถานที่ที่กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่เลือกซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยที่สุดในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 47.79 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : การพิจารณามาตรการในการดูแลและควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่อายุระหว่าง 12-15 ปีให้มากขึ้นเป็นพิเศษ การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานหรือสถาบัน  อาทิ สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว ฯลฯ ในการดูแลและให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ การแทรกแซงผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดเบียร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีบทบาทต่อการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่
dc.description.abstractalternative The objectives of the study were to answer the question that how the new drinkers could consume alcohol and how the government’s measures to limit access to alcohol drinking effective is in the new drinkers. The Public Policy was applied as behavioral intervention tools to explore the government’s measures to limit access to alcohol drinking. The study was quantitative research that the data was collected by an online questionnaire. The data was gathered from the sample who were 272 students in the associate’s degree and bachelor’s degree in the last 12 months. The result found that (1) The new drinkers started to drink alcohol at a very young age which was from 12 to 15 years old as the percentage was 47.79 (2) Beer was consumed in the new drinkers the most (52.94%) and it also was the most favorite choice of the new drinkers (67.65%) (3) The factor which influenced the new drinkers to start drinking alcohols was their friends (54.04%) (4) The reason that the new drinkers would like to drink alcohols for the first time was their curiosity (45.58%) (5) The groceries were the place where the new drinkers bought alcohols in the earlier (35.29 %) and it also was a place where the comer drinkers bought alcohols the most in the last 12 months (47.79%) Policy recommendations: The government’s measures to limit access to alcohol drinking should be more considerable in the new drinkers who were 12 -15 years old. People and the institutes should operate to give the new drinkers information about consuming alcohol. Also, the institutes should govern the producers and suppliers who influenced the new drinkers considerably.             
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.253
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
dc.subject พฤติกรรมการดื่ม
dc.subject Drinking of alcoholic beverages
dc.subject Drinking behavior
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title นักดื่มหน้าใหม่กับมาตรการควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
dc.title.alternative New drinkers and government's measures to limit access to alcohol drinking
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.subject.keyword นักดื่มหน้าใหม่
dc.subject.keyword มาตรการควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
dc.subject.keyword เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
dc.subject.keyword NEW DRINKERS
dc.subject.keyword ALCOHOL
dc.subject.keyword MEASURES TO LIMIT ACCESS TO ALCOHOL DRINKING
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2019.253


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record