Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับนโยบายทางการคลังในต่างประเทศเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานสถาบันทางการคลังของไทย ณ ปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลเชิงเอกสารในเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการคลังในประเทศพัฒนาแล้วจำนวน 5 ประเทศและการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในภาคการคลัง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในเรื่องการคลังของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในเรื่องการคลังของธนาคารแห่งประเทศไทย
ผลการศึกษาพบว่า สถาบันทางการคลังที่เป็นอิสระในประเทศพัฒนาแล้วมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ รูปแบบ fiscal council, parliamentary budget office model และ other model โดยศึกษาสถาบันทางการคลังที่เป็นอิสระในประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบของสถาบันทางการคลังที่เป็นอิสระ คือ รูปแบบ fiscal council และ parliamentary budget office model มีหน้าที่สำคัญ คือ วิเคราะห์ความยั่งยืนทางการคลังระยะยาว ประมาณการเศรษฐกิจหรืองบประมาณ และติดตามการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การคลัง สำหรับกรณีประเทศไทย มีปรับปรุงคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ผ่านการแก้ไข พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 10 เพื่อปรับปรุงตัวแทนในคณะกรรมการ และเพิ่มเติมหน้าที่ในเรื่องการส่งสัญญาณเตือนต่อรัฐบาลในเรื่องความเสี่ยงทางการคลัง และการให้ความรู้ด้านการคลังต่อสาธารณะ .