Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาบทบาทของลิงในนิทานไทย ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากนิทาน ไทยและนิทานของชนชาติไทกลุ่มต่างๆในประเทศไทย ทั้งสำนวนลายลักษณ์และมุขปาฐะ ทั้งหมด ๖๙ เรื่อง ผลการศึกษาพบว่านิทานที่ปรากฏบทบาทของตัวละครที่เป็นลิงนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก และปรากฏ ในนิทานหลายประเภท ทั้งนิทานพระราม นิทานพุทธศาสนา นิทานคติ นิทานสัตว์ นิทานอธิบายเหตุ และ นิทานมหัศจรรย์ จากการศึกษาลักษณะของลิงที่ปรากฏในนิทานไทยสามารถแบ่งลักษณะของลิงได้เป็น ๒ ประเภท คือ ลิงที่มีลักษณะพิเศษ และลิงที่มีลักษณะธรรมดา ลิงที่มีลักษณะพิเศษพบในลิงพระโพธิสัตว์และลิง ผู้ช่วย ลิงพระโพธิสัตว์ในอรรถกถาชาดก มีคุณสมบัติพิเศษคือ มีร่างกายใหญ่โตและกำลังแข็งแกร่ง อุปนิสัยที่ สำคัญได้แก่ความมีเมตตา และมีไหวพริบปัญญาเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้อื่น ส่วนลิงที่เป็นผู้ช่วยพบในนิทาน พระราม ปัญญาสชาดก ชาดกพื้นบ้าน และนิทานมหัศจรรย์ มีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีอำนาจวิเศษหรือมีของ วิเศษ มีอุปนิสัยกล้าหาญ และซื่อสัตย์ จงรักภักดี ส่วนลิงที่มีลักษณะธรรมดา พบในลิงจากนิทานคติและ นิทานสัตว์ มีอุปนิสัยชุกซน เจ้าเล่ห์ คล้ายกับลิงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ผู้วิจัยได้แบ่งบทบาทของลิงออกเป็น OET ประเภท คือ ตัวเอก ผู้ช่วย ตัวร้าย และตัวประกอบ ลิงที่เป็นตัวเอก แบ่งได้เป็น ลิงที่แสดงให้เห็นความมีเมตตาและมีไหวพริบจากการช่วยเหลือผู้อื่น มักพบในลิงที่เป็นพระโพธิสัตว์ จากอรรถกถาชาดก และลิงที่แสดงพฤติกรรมการทำร้ายตัวเองด้วยความชุกซนและโง่เขลา พบในลิงจากนิทาน คติและนิทานสัตว์ ลิงที่เป็นผู้ช่วย พบในนิทานพระราม ปัญญาสชาดก ชาดกพื้นบ้าน และนิทานมหัศจรรย์ มี บทบาทในการช่วยเหลือตัวเอกด้วยความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ลิงที่เป็นตัวร้าย พบในอรรถกถาชาดก บทบาทคือ การทำร้ายพระโพธิสัตว์ด้วยความชุกซน และลิงที่เป็นตัวประกอบ พบในนิทานอธิบายเหตุ แสดงให้เห็นการ อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับลิงในหลายลักษณะ จากการศึกษาลักษณะและบทบาทของลิงในนิทานไทย พบว่าลิงในนิทานไทยมีภาพลักษณ์ ๓ ประการ ได้แก่ ภาพลักษณ์ของลิงพระโพธิสัตว์ที่มีความเมตตากรุณา ภาพลักษณ์ของลิงที่มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี และเก่งกล้าสามารถ และ ภาพลักษณ์ของลิงที่มีความเจ้าเล่ห์ชุกซน