dc.contributor.advisor | วิชชุตา วุธาทิตย์ | |
dc.contributor.author | ปวีณา พุทธเจริญทอง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-11-16T08:01:58Z | |
dc.date.available | 2020-11-16T08:01:58Z | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70774 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิทยานิพนธ์เรื่องการรำตรวจพลตัวพระในการแสดงละครพันทาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการรำตรวจพลในการแสดงละครพันทาง องค์ประกอบการรำตรวจพลตัวพระในการแสดงละครพันทาง แบบแผนและกลวิธีของการรำตรวจพลตัวพระในการแสดงละครพันทาง และวิเคราะห์บริบททางสังคมที่มีต่อการรำตรวจพล ผลการวิจัยพบว่าละครพันทางเป็นการแสดงที่มีเอกลักษณ์ในเรื่องของการเล่นออกภาษา เรื่องที่ใช้ในการแสดงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชนชาติต่างๆ เช่น ชาติมอญ ชาติพม่า ชาติลาว และชาติจีนเรื่องที่นำมาแสดงนั้นได้ปรากฏการรำตรวจพลของชนชาติต่างๆ อยู่ด้วย การรำตรวจพลทุกชาตินั้นมีขั้นตอนของกระบวนท่าเป็นแบบแผน คือ คนธงออกมาร่ายรำ ตามด้วยพลทหาร และสุดท้ายคือการปรากฏกายของแม่ทัพ แต่สิ่งที่แตกต่างที่เด่นชัดคือ กระบวนท่ารำบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของชาตินั้นๆ ชาติมอญจะใช้การโย้ตัว การตีไหล่การตีไหล่ระหว่างการเชื่อมท่า การถ่ายน้ำหนักของลำตัว ชาติพม่าใช้มีการใช้เหลี่ยมของวงแขน การหักศอก ลีลาท่ารำมีความกระฉับกระเฉงว่องไวตามจังหวะเพลง ชาติลาวเมื่อก้าวเท้าข้างใดการเอียงศีรษะและการถ่ายน้ำหนักจะไปตามข้างนั้น มีการโยนตัว การกล่อมหน้าสัมพันธ์กับการกล่อมไหล่ ชาติจีนใช้กระบวนท่ารำของงิ้วมาผสมผสาน มีเอกลักษณ์คือการตั้งวงของจีนจะเป็นในลักษณะที่นิ้วชี้และนิ้วกลางเหยียดตึง นิ้วที่เหลืองอลงเก็บนิ้วที่ฝ่ามือ การใช้สายตาปรายตาไปตามมือที่วาดออกไป ส่วนเครื่องแต่งกายแต่งอย่างเครื่องน้อยและพันทางผสมผสานการแต่งกายที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชนชาติทำนองเพลงที่ใช้ในการแสดงเป็นเพลงไทยแต่ปรับปรุงทำนองให้มีสำเนียงที่บ่งบอกถึงเชื้อชาติหรือเพิ่มเครื่องดนตรีที่สามารถให้เสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนชาติเข้าไปประวัติศาสตร์ไทยได้ปรากฏเรื่องราวการทำศึกมาช้านาน มีการตรวจตรากองทัพเพื่อจัดพลเตรียมความพร้อมในยามที่เกิดศึก จากบริบทของสังคมไทยเช่นนี้จึงมีอิทธิพลแก่บทละครรำของไทยที่พบว่ามีการทำสงคราม และนำรูปแบบการตรวจพลมาปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับการแสดงละครรำ การรำตรวจพลในการแสดงละครพันทางแต่ละชนชาตินั้น มีลีลาอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ต่างกันออกไป ผู้แสดงควรคำนึงถึงแบบแผนและขั้นตอนของการรำตรวจพล มีทักษะอย่างดีในการฟังทำนองเพลง ใช้อาวุธอย่างคล่องแคล่ว แสดงอารมณ์มุ่งมั่น แข็งแกร่ง มีความเด็ดเดี่ยว เป็นผู้นำ และควรมีความรู้ในเรื่องของทักษะกระบวนท่ารำของชนชาติที่ได้รับบทบาทเป็นอย่างดี | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims to study the history of the Reviewing the Troop Dance by the Male Protagonists in the LakhonPanthang, its components, pattern and technique as well to analyze an impact of the social context on the dance. The research has found that the LakhonPhanThang Drama is unique in its playful presentation of different languages as the subject matter is involved with different nationalities; for example, the Mon, the Burmese, the Laotians and the Chinese. The performance thus includes the reviewing the troop dance of those nations, each of which has its specific pattern, starting with the dance of a flag bearer, followed by that of the privates and concluded by the appearance of the army commander. What distinguish them from one another are the dance postures which show the identity of each nations. For the Mon, dancers will aslant move their body from side to side, slap their shoulders and slap their shoulders to connect one dance posture with another as well as transfer the body weight. For the Burmese, dancers will present the angular posture of their arms, bend their elbows and dance in rigorous motions to musical rhythms. For the Laotians, dancers will lean their head and transfer their weight in the same direction of their step, throw their body sidewise and sway their face in connection with swaying their shoulders. For the Chinese, dancers will incorporate the dance postures of the Chinese opera, distinguished by the Chinese hand posture-the index and the middle finger are kept straight and the rest bend towards the palm and come together there; the eyes will follow the movement of the hand that stretches out. The costume is not elaborate and a mixture of things, combining with national costumes that show the national identity. The songs to accompany the performance are basically Thai but their melody is adapted to the sound that suggests the nationalities or a musical instrument may be added to play the music specifically identified with certain nationalities. Thai history shows that warfare had long been part of our country; leaders of the military troops had to review their troops in preparation for battles. This social context has thus influenced traditional Thai dancers that are related to wars and the pattern of reviewing troops has been improved to make it appropriate to the performance of dance dramas. The performance of the Reviewing the Troop Dance in the LakhonPanthangof each nation has its own unique style. Dancers should be aware of the pattern and levels of the dance; they should develop a good listening skill to the melody, by able to skillfully use weapons, show their determination, strength, resolution and leadership. They should also be knowledgeable in the skills in the dance postures of the nation they are to perform. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.40 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ละครพันทาง | en_US |
dc.subject | การรำ -- ไทย | en_US |
dc.subject | นาฏศิลป์ไทย | en_US |
dc.subject | Dance -- Thailand | en_US |
dc.subject | Dramatic arts, Thai | en_US |
dc.title | การรำตรวจพลตัวพระในการแสดงละครพันทาง | en_US |
dc.title.alternative | Reviewing the troop dance of the male protagonists in the Lakhon Panthang | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Vijjuta.V@chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.40 |