dc.contributor.advisor |
ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล |
|
dc.contributor.advisor |
กุลยา รัตนปรีดากุล |
|
dc.contributor.advisor |
เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย |
|
dc.contributor.author |
ขวัญชนก รัตนอุบล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2008-05-29T03:55:56Z |
|
dc.date.available |
2008-05-29T03:55:56Z |
|
dc.date.issued |
2542 |
|
dc.identifier.isbn |
9743340971 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7090 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
en |
dc.description.abstract |
ถึงแม้ว่าการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันฟันผุได้ แต่จากหลายการศึกษาพบว่าเด็กจะกลืนยาสีฟันในขณะแปรงฟัน โดยเฉพาะในเด็กเล็ก การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ความเข้มข้น 500 และ 1,000 ส่วนในล้านส่วน ถึงความแตกต่างของประสิทธิภาพในการส่งเสริมกระบวนการสะสมกลับของแร่ธาตุที่ผิวฟันน้ำนม โดยการเปรียบเทียบค่าความแข็งผิวฟันที่เพิ่มขึ้นภายหลังการได้รับยาสีฟัน ในฟันน้ำนมจำนวน 108 ซี่ โดยตัดฟันหน้าน้ำนมให้ได้ขนาด 2x3 มิลลิเมตร ทำการขัดผิวเคลือบฟันจนเรียบและมันเงา และทำให้เกิดรอยผุจำลองโดยการแช่ชิ้นฟันในสารละลายดีมินเนอรัลไรเซชั่น (Demineralizing solution) ซึ่งประกอบด้วย กรดแลคติก 0.1 โมลาร์, กรดโพลีอะคริลิกความเข้มข้นร้อยละ 0.2 (Cabopol C907), ไฮดรอกซีแอพาไทท์ความเข้มข้นร้อยละ 50 pH 5.0 เป็นเวลา 22 ชั่วโมง และทำการวัดความแข็งผิวฟันด้วยเครื่องวัดความแข็งผิวฟันแบบจุลภาค เลือกชิ้นฟันที่มีค่าเฉลี่ยความแข็งผิวฟันระหว่าง 40-60 VHN แล้วนำมาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม (ไม่ได้รับยาสีฟันผสมฟลูออไรด์, 0 ส่วนในล้านส่วน) กลุ่มยาสีฟันผสมโซเดียมฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วน (Colgate junior) และกลุ่มยาสีฟันผสมโซเดียมฟลูออไรด์ 1,000 ส่วนในล้านส่วน (Colgate double cool stripe) โดยให้ค่าเฉลี่ยความแข็งผิวฟันของทั้งสามกลุ่มใกล้เคียงกัน จากนั้นนำมาเข้าการทดลองจำลองสภาวะภายในช่องปาก โดยในแต่ละวันชิ้นฟันจะถูกแช่ในยาสีฟัน 4 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที และแช่ในสารละลายดีมินเนอรัลไรเซชั่น วันละ 2 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่เหลือจะแช่อยู่ในสารละลายรีมินเนอรัลไรเซชั่น (Remineralizing solution) (1:1, น้ำลายเทียม:น้ำลาย) ภายหลังทดลองครบ 14 วัน นำชิ้นฟันมาวัดค่าความแข็งผิวฟันภายหลังการทดลอง และทำการคำนวณหาค่าเฉลี่ยความแข็งผิวฟันที่เพิ่มขึ้น ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1,000 ส่วนในล้านส่วน, กลุ่มยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วน และกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยความแข็งผิวฟันเพิ่มขึ้น +- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากัย 134.03+-48.12 VHN, 1107.76+-30.70 VHN และ 18.03+-10.49 VHN ตามลำดับ เมื่อนำค่าเฉลี่ยความแข็งผิวฟันที่เพิ่มขึ้นมาทดสอบทางสถิติ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแข็งผิวฟันที่เพิ่มขึ้นของแต่ละกลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบเชิงซ้อน (Multiple comparison) ด้วยสถิติชนิดดันเนตที 3 (Dunnett T3) พบว่า ค่าเฉลี่ยความแข็งผิวฟันที่เพิ่มขึ้นของทั้งสามกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วน มีผลต่อการเพิ่มความแข็งผิวฟันน้ำนมน้อยกว่ายาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1,000 ส่วนในล้านส่วน |
en |
dc.description.abstractalternative |
Fluoride dentifrices are well accepted for their caries prevention effects, but many studies reported fluoride ingestion during toothbrushing especially in young children. The purpose of this study was to evaluate the effect of the dentifrice containing low fluoride concentration on microhardness of artificial carious lesion in human primary enamel in vitro. One hundred and eight primary enamel specimens from primary incisors were cut into 2x3 mm., grounded, polished and immersed in demineralizing solution containing 0.1 M lactic acid, 0.{650}% polyacrylic acid (Carbopol, C907) and 50% hydroxyapatite to form incipient lesions. Specimens with lesion surface hardness of 40-60 VHN were selected and devided into 3 groups : 0 ppm F (control), 500 ppm F (Colgate junior) and 1,000 ppm F (Colgate double cool stripe) sodium fluoride dentifrices. The specimens were subjected to daily cyclic treatment consisted of 4 one-minute dentifrice treatments and 2-hour acid challenge. The remaining time, specimens were immersed in remineralizing solution (1:1, synthetic saliva:pooled saliva). After 14 days of daily cyclic treatment, the specimens were again analyzed for surface hardness and calculated for hardness change. The results showed that deltaVHN (mean+-S.D.) for 1,000 ppm F, 500 ppm F and control group were 134.03+-48.12, 107.76+-30.70 and 18.03+-10.49, respectively. The data were analyzed using one way ANOVA and Dunnett T3 for multiple comparison. The 500 ppm F dentifrice had significantly higher surface hardness than the control group but significantly lower than the 1,000 ppm F dentifrice (p<0.05). The results of the present study suggested that the 500 ppm sodium fluoride dentifrice is less effective than the conventional 1,000 ppm sodium fluoride dentifrice in increasing hardness of human primary enamel. |
en |
dc.format.extent |
5225388 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.377 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ยาสีฟัน |
en |
dc.subject |
ฟลูออไรด์ |
en |
dc.subject |
ฟันน้ำนม |
en |
dc.title |
การเปรียบเทียบผลของยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ความเข้มข้น 500 และ 1,000 ส่วนในล้านส่วนต่อความแข็งผิวฟันน้ำนม ในห้องปฏิบัติการ |
en |
dc.title.alternative |
Comparison of the effects of 500 and 1,000 PPM sodium fluoride dentifrices on surface hardness of primary human teeth in vitro |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมสำหรับเด็ก |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.email.advisor |
Em-on.B@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.1999.377 |
|