Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมทางวัตถุกับความพึงพอใจในชีวิตโดยรวมและความพึงพอใจในแง่มุมย่อยของชีวิต 5 ด้าน ได้แก่ ความพึงพอใจในชีวิตการทำงาน ชีวิตครอบครัว ความสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น มาตรฐานการครองชีพ และสุขภาพร่างกาย รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบค่านิยมทางวัตถุ และความพึงพอใจในชีวิตโดยรวมในกลุ่มผู้ปฏิบัติศาสนกิจตามแนวสันติอโศก ผู้เป็นสมาชิกสโมสรโรตารี และพนักงานทั่วไปในองค์การขนาดใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่านิยมทางวัตถุมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางลบกับความพึงพอใจในชีวิตโดยรวม (r = -.22, p< .001) และมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตการทำงาน (r = -.17, p< .001) ความพึงพอใจในความสัมพันธ์ทางสังคม (r = -16,p= .001 ) ความพึงพอใจในมาตรฐานการครองชีพ (r = -.39, p< .001 ) และความพึงพอใจในสุขภาพร่างกาย (r = -.22,p< .001 ) แต่ไม่มีสหสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตครอบครัว (r = -.08) 2. ผู้ปฏิบัติคาสนกิจตามแนวสันติอโศกมีระดับค่านิยมทางวัตถุตํ่ากว่าผู้เป็นสมาชิกสโมสรโรตารี (p< .001) และพนักงานทั่วไปในองค์การขนาดใหญ่ (p< .001) และผู้เป็นสมาชิกสโมสรโรตารีมีระดับค่านิยมทางวัตถุไม่แตกต่างจากพนักงานทั่วไปในองค์การขนาดใหญ่ 3. ผู้ปฏิบัติคาสนกิจตามแนวสันติอโศกมีระดับความพึงพอใจในชีวิตโดยรวมไม่แตกต่างจากผู้เป็นสมาชิกสโมสรโรตารีและพนักงานทั่วไปในองค์การขนาดใหญ่ และผู้เป็นสมาชิกสโมสรโรตารีมีระดับความพึงพอใจในชีวิตโดยรวม สูงกว่าพนักงานทั่วไปในองค์การขนาดใหญ่ (p = .001) 4. ความพึงพอใจในชีวิตการทำงาน ความพึงพอใจในชีวิตครอบครัว ความพึงพอใจในความสัมพันธ์ทางสังคมความพึงพอใจในมาตรฐานการครองชีพ และความพึงพอใจในสุขภาพร่างกาย สามารถร่วมกันทำนายความพึงพอใจในชีวิตโดยรวมได้ (F = 37.395, p< .001) 5. ในกลุ่มผู้มีค่านิยมทางวัตถุสูง ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในมาตรฐานการครองชีพกับความพึงพอใจในชีวิตโดยรวม มีค่าไม่แตกต่างจากค่าที่พบในกลุ่มผู้มีค่านิยมทางวัตถุตํ่า และในกลุ่มผู้มีค่านิยมทางวัตถุสูง ความพึงพอใจในมาตรฐานการครองชีพ มีน้ำหนักในการทำนายความพึงพอใจในชีวิตโดยรวมสูงที่สุด (β = 0.50, p< .001) เมื่อเทียบกับความพึงพอใจในชีวิตการทำงาน (β = 0.13) ความพึงพอใจในชีวิตครอบครัว (β = 0.04) ความพึงพอใจในความสัมพันธ์ทางสังคม (β = 0.04) และความพึงพอใจในสุขภาพร่างกาย (β = 0.11 )