Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา ลักษณะกฎหมายว่าด้วยวินัยของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยการดำเนินการทางวินัยการลงโทษ และการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยว่ามีหลักประกันความมั่นคงและเป็นธรรมเพียงพอหรือไม่ และเปรียบเทียบกับกฎหมายว่าด้วยวินัยของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่ปรับเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งเป็นส่วนราชการการดำเนินการทางวินัยการลงโทษ และการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัยของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐว่าเหมาะสมหรือไม่ และศึกษาถึงผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐโดยศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัย ของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย และการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัยของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเกี่ยวกับการแจ้งสิทธิอุทธรณ์ ระยะเวลาอุทธรณ์ องค์กรวินิจฉัยอุทธรณ์ และผลหลังจากการสั่งอุทธรณ์ เพื่อหาแนวทางหรือรูปแบบที่เหมาะสมของการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษของหนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเพื่อนำผลที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยนี้ ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยวินัยและการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัยของหนักงานมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐให้สอดคล้องกับหลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมายและยังสามารถสร้างหลักประกันความมั่นคงให้แก่ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในอนาคต โดยในส่วนที่ส่งผลกระทบต่อพนักงานมหาวิทยาลัยก็คือการแจ้งสิทธิอุทธรณ์ระยะเวลาอุทธรณ์องค์กรวินิจฉัยและผลหลังจากการสั่งอุทธรณ์ผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าควรกำหนดให้มีกฎหมายกลางที่วางหลักให้มีการแต่งตั้งองค์กรวินิจฉัยอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัยโดยต้องเป็นองค์กรกลางภายในมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของบุคคลใด เพื่อให้มีความเป็นอิสระและสามารถทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ได้อย่างอิสระ สามารถแสดงความคิดเห็นในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ได้โดยปราศจากการชี้นำของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันจะส่งผลดีต่อการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ และควรกำหนดให้องค์ประกอบขององค์กรวินิจฉัยส่วนใหญ่มาจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม เนื่องจากผู้พิจารณาวินิจฉัยเป็นผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในการวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยกำหนดให้สภามหาวิทยาลัยเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งองค์กรวินิจฉัยนี้ขึ้นภายในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ควรจะได้มีการจัดให้มีหน่วยงานกลางในการรับเรื่องอุทธรณ์เพื่อทำหน้าที่แนะนำผู้อุทธรณ์เกี่ยวกับวีการดำเนินการไปจนถึงการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง