Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70971
Title: ปัญหาการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัยของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
Other Titles: The problems of pettition system on discipline of personnel in autonomous university
Authors: วิลาวัณย์ ทัศคร
Advisors: เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
ธีรวุฒิ บุณยโสภณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: ข้าราชการ -- วินัย
พนักงานมหาวิทยาลัย -- วินัย
พนักงานมหาวิทยาลัย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การลงโทษ
อุทธรณ์
มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา ลักษณะกฎหมายว่าด้วยวินัยของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยการดำเนินการทางวินัยการลงโทษ และการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยว่ามีหลักประกันความมั่นคงและเป็นธรรมเพียงพอหรือไม่ และเปรียบเทียบกับกฎหมายว่าด้วยวินัยของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่ปรับเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งเป็นส่วนราชการการดำเนินการทางวินัยการลงโทษ และการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัยของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐว่าเหมาะสมหรือไม่ และศึกษาถึงผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐโดยศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัย ของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย และการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัยของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเกี่ยวกับการแจ้งสิทธิอุทธรณ์ ระยะเวลาอุทธรณ์ องค์กรวินิจฉัยอุทธรณ์ และผลหลังจากการสั่งอุทธรณ์ เพื่อหาแนวทางหรือรูปแบบที่เหมาะสมของการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษของหนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเพื่อนำผลที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยนี้ ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยวินัยและการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัยของหนักงานมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐให้สอดคล้องกับหลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมายและยังสามารถสร้างหลักประกันความมั่นคงให้แก่ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในอนาคต โดยในส่วนที่ส่งผลกระทบต่อพนักงานมหาวิทยาลัยก็คือการแจ้งสิทธิอุทธรณ์ระยะเวลาอุทธรณ์องค์กรวินิจฉัยและผลหลังจากการสั่งอุทธรณ์ผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าควรกำหนดให้มีกฎหมายกลางที่วางหลักให้มีการแต่งตั้งองค์กรวินิจฉัยอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัยโดยต้องเป็นองค์กรกลางภายในมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของบุคคลใด เพื่อให้มีความเป็นอิสระและสามารถทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ได้อย่างอิสระ สามารถแสดงความคิดเห็นในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ได้โดยปราศจากการชี้นำของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันจะส่งผลดีต่อการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ และควรกำหนดให้องค์ประกอบขององค์กรวินิจฉัยส่วนใหญ่มาจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม เนื่องจากผู้พิจารณาวินิจฉัยเป็นผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในการวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยกำหนดให้สภามหาวิทยาลัยเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งองค์กรวินิจฉัยนี้ขึ้นภายในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ควรจะได้มีการจัดให้มีหน่วยงานกลางในการรับเรื่องอุทธรณ์เพื่อทำหน้าที่แนะนำผู้อุทธรณ์เกี่ยวกับวีการดำเนินการไปจนถึงการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
Other Abstract: This thesis was performed to the study of the discipline laws of the university civil officials on the subjects of the discipline procedures, punishments, an appeal against punishment lodged by the officials. These subjects are to considered whether there are enough guarantee and justice. This study also compares the adjusted discipline laws of the civil officials in the government automous university with the discipline laws in the government university in the justification of the discipline procedure, punishment, and appeal against punishment order. The effects resulted from the adjustment are analized from an appeal against the discipline punishment order of the civil officials in the government automous university on the issues of the rights to an appeal claim, an appeal duration, the organizational adjudication, the result after an appeal. This study is to find the suitable from of an appeal against punishment and to improve the discipline laws with an appeal against punishment. This should be in accordance with legal administration and create the guarantee of security. This change effects on the right of an appeal claim, an appeal duration, organizational adjudication and the result after an appeal adjudge. In my opinion, the neutral laws should be organized mainly support to the adjudicators appointment from the university committee which is neutral and free from any other power control, in order encourage the liberative adjudication. Moreover, the organizational adjudicators should come from outside in order to get justice. In addition, central office should be organized to work on the appeal admission by giving suggestion and the procedure through the Administrative Court.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70971
ISBN: 9741305435
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilawan_ta_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ880.41 kBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ta_back_p.pdfบทที่ 1710.51 kBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ta_ch1_p.pdfบทที่ 2853.46 kBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ta_ch2_p.pdfบทที่ 32.24 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ta_ch3_p.pdfบทที่ 42.11 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ta_ch4_p.pdfบทที่ 51.4 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ta_ch5_p.pdfบทที่ 6787.9 kBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ta_back_p (2).pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก166.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.