DSpace Repository

กลวิธีการปฏิเสธในการตอบวัจนกรรมที่แสดงความปรารถนาดีในภาษาไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปราณี กุลละวณิชย์
dc.contributor.author วิมลพักตร์ พรหมศรีมาศ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-30T07:54:48Z
dc.date.available 2020-11-30T07:54:48Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9740300375
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71150
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ ประการแรกคือ การหากลวิธีในการปฏิเสธที่ผู้พูดภาษาไทยใช้ในการตอบวัจนกรรมที่แสดงความปรารถนาดี และหาความสัมพันธ์ของการเลือกใช้กลวิธีเหล่านี้กับปัจจัย 2 ปัจจัย คือประเภทของวัจนกรรมที่แสดงความปรารถนาดีซึ่งได้แก่ การให้คำแนะนำ การเชิญ และการให้ข้อเสนอกับสถานภาพของคู่สนทนา ประการที่สองคือ การวิเคราะห์บทบาทของ '‘หน้า” ว่าเมื่อผู้ปฏิเสธใช้กลวิธีใดๆในการปฏิเสธ ผู้ปฏิเสธคำนึงถึงหน้าของตนเอง หรือหน้าของผู้ถูกปฏิเสธ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการ ทำแบบสอบถามที่ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นการเดีมเต็มบทสนทนา ซึ่งเป็นข้อมูลที่บอกกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการปฏิเสธ และส่วนที่เป็นการเลือกตัวเลือกที่เกี่ยวข้องกับ "หน้า” ของผู้ปฏิเสธและผู้ถูกปฏิเสธผู้ตอบแบบสอบถามเป็นคนไทยหลากหลายอาชีพจำนวน 50 คน ผลการวิจัยพบว่ากลวิธีทางภาษาที่แสดงการปฏิเสธในการตอบวัจนกรรมที่แสดงความปรารถนาดีมี 18 กลวิธี กลวิธีเหล่านี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ กลวิธีในการปฏิเสธแบบตรง และ กลวิธีในการปฏิเสธแบบอ้อม กลวิธีในการปฏิเสธแบบตรงมี 2 กลวิธีได้แก่ การปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมา การปฏิเสธโดยบ่งความไม่สามารถตอบสนอง สำหรับกลวิธีในการปฏิเสธแบบอ้อม มี 16 กลวิธี ได้แก่การให้เหตุผล การขอบคุณ การปลอบไม่ให้กังวล การขอโทษ การแสดงความลังเล การแสดงความยินดีและความปรารถนาดี การแนะนำ การแสดงความต้องการหรือความรู้สึกส่วนตัวของผู้ปฏิเสธ การขอความเห็นใจจากผู้ถูกปฏิเสธ การชมเชย การ ผลัดผ่อนการให้คำตอบ การแสดงความเสียดายที่รับความปรารถนาดีไม่ได้ การแสดงความปรารถนาที่จะทำตาม การบอกทางเลือกอื่นของผู้ปฏิเสธ การตอบกึ่งตอบรับ การกล่าวติดตลก การเลือกใช้กลวิธีเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยประเภทของวัจนกรรมที่แสดงความปรารถนาดีทั้งสามประเภทข้างต้น และมีความสัมพันธ์กับปัจจัยสถานภาพของคู่สนทนาด้วยเช่นกัน โดยผู้พูดภาษาไทยจะเลือกใช้กลวิธีที่สอดคล้องกับบทบาทและอำนาจของผู้ปฏิเสธในสถานภาพต่าง ๆ ในการวิเคราะห์บทบาทของหน้าได้พบว่าผู้ปฏิเสธคำนึงถึงหน้าของผู้ถูกปฏิเสธมากกว่าหน้าของตนเองการเลือกใช้กลวิธีทั้ง 18 กลวิธีไม่มีความสัมพันธ์กับเรื่องของหน้าไม่ว่าของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือไม่ว่าผู้ปฏิเสธจะคำนึงถึงหน้าของผู้ถูกปฏิเสธหรือหน้าของตนก็สามารถใช้กลวิธีเดียวกันได้
dc.description.abstractalternative There are two aims in this investigation of the responses by speakers of Thai to favor-expressing speech acts. Firstly, this is an exploration of the refusal strategies used and the relationship between the strategies and two factors: the types of favorexpressing speech acts, which include suggestion, invitation, and offer; and the social status of the interlocutors. Secondly, this is an analysis of the role of 'face' to find out whether the speaker is concerned with his/her own face or that of his/her conversation partners. Data are collected, using a questionnaire answered by fifty Thai speakers of various occupational backgrounds. The questionnaire consists of two parts: a Discourse Completion Test for collection linguistic strategies and an inquiry on the speaker's concern about “face". The data show eighteen Inguistic strategies used by respondents in refusing favor-expressing speech acts. They can be divided into the direct, and the indirect type. Direct strategies can be either a direct refusal or a statement about the speaker’s lack of the needed ability. As for the indirect type, there are sixteen strategies: reasoning, thanking, comforting the addressee, apologizing, hesitating, congratulating and well-wish, suggesting, stating desire and feeling, asking for favor, complimenting, postponing, regret for being unable to comply, expressing desire to comply, offering an alternative, semi-acceptance, and joking. The choice of these strategies is related to the three types of the favor-expressing speech acts. The choice of the strategies is also related to the social status of interlocutors because Thai speakers tend to decide on different strategies while taking into account the role and the power of conversation participations. In the analysis of role of face, it is found that the speaker is more concerned with the hearer’s face than with his/her own face. The choice of strategies, however, is not related to the concern about face. The same strategy can be used in all cases.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject วัจนกรรม
dc.subject ภาษาไทย -- ประโยค
dc.title กลวิธีการปฏิเสธในการตอบวัจนกรรมที่แสดงความปรารถนาดีในภาษาไทย
dc.title.alternative Refusal strategies in responding to favor-expressing speech acts in Thai
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ภาษาศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record