Abstract:
งานวิจัยนี้ศึกษาลักษณะทางกลสัทศาสตร์ ได้แก่ ค่าความถี่กำทอนที่ 1 และ ที่ 2 รวมถึงค่าระยะเวลาของสระเดี่ยวเสียงยาวของคนอีสานที่มีประสบการณ์ทางภาษาไทยกรุงเทพฯต่างกัน โดยเปรียบเทียบกับลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของคนกรุงเทพฯ สมมติฐานของการวิจัยคือ ลักษณะทางกาลสัทศาสตร์ของเสียงสระทั้งเก้าของคนอีสานที่พูดภาษาไทยกรุงเทพฯแตกต่างจากลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของเสียงสระทั้งเก้าของคนกรุงเทพฯ โดยมีค่าความถี่กำทอนที่ 1 และที่ 2 สูงกว่า และมีค่าระยะเวลาในการเปล่งเสียงน้อยกว่าคนกรุงเทพฯ อีกประการหนึ่งประสบการณ์ทางภาษาของคนอีสานที่พูดภาษาไทยกรุงเทพฯมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของสระเดี่ยวเสียงยาว กล่างคือ คนอีกสานที่มีประสบการณืทางภาษาไทยกรุงเทพฯต่ำจะมีสระที่มีลักษณะทางกลสัทศาสตร์ดังกล่าวแล้วแตกต่างจากสระของคนกรุงเทพฯมากกว่าคนอีกสานที่มีประสบการณ์ทางภาษาไทยกรุงเทพฯสูง ผลการวิจัยพบว่า ค่าความถี่กำทอนที่ 1 ของเสียงสระทั้งเก้าของคนกรุงเทพฯและคนอีสานที่มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกัน โดยคนอีสานที่มีประสบการณ์ทางภาษาไทยกรุงเทพฯสูงมีค่าเฉลี่ยของค่าความถี่กำทอนที่ 1 สูงกว่าคนกรุงเทพฯ และคนอีสานที่มีประสบการณ์ทางภาษาไทยกรุงเทพฯต่ำมีค่าเฉลี่ยของค่าความถี่กำทอนที่ 1 ต่ำที่สุด อย่างไรก็ตามในคนอีกสานที่มีประสบการณ์ทางภาษาไทยกรุงเทพฯต่ำจะมีค่าคะแนนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าเฉลี่ยของความถี่กำทอนที่ 1 สูงที่สุดเมื่อเทียบกับคนอีสานที่มีประสบการณ์ทางภาษาไทยกรุงเทพฯสูง และคนกรุงเทพฯมีค่าคะแนนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าความถี่กำทอนที่ 1 น้อยที่สุด เมื่อทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าความถี่กำทอนที่ 1 ของเสียงสระทั้งเก้าของผู้พูดทั้งสามกลุ่มแล้ว พบยว่าค่าความถี่กำทอนที่ 1 ของสระ w:a:และ o: ของผู้พูดทั้งสามกลุ่มมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สำหรับค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในเปล่งเสียงสระ การวิจัยพบว่า คนกรุงเทพฯมีค่าระยะเวลาเฉลี่ยของเสียงสระสูงที่สุดเมื่อเทียบกับคนอีสาน และคนอีสานที่มีประสบการณ์ทางภาษาไทยกรุงเทพฯต่ำมีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในการเปล่งเสียงสระต่ำที่สุด เมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าระยะเวลาของเสียงสระทั้งเก้าของผู้พูดทั้งสามกลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในสระส่วนใหญ่ยกเว้นสระ I: และ o: