DSpace Repository

การเปรียบเทียบลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของสระเดี่ยวเสียงยาวในการพูดภาษาไทยกรุงเทพฯ ของคนอีสานและคนกรุงเทพฯ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุดาพร ลักษณียนาวิน
dc.contributor.author วิษณุ วงษ์เนตร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.coverage.spatial กรุงเทพฯ
dc.date.accessioned 2020-11-30T08:52:40Z
dc.date.available 2020-11-30T08:52:40Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 974030035
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71155
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ศึกษาลักษณะทางกลสัทศาสตร์ ได้แก่ ค่าความถี่กำทอนที่ 1 และ ที่ 2 รวมถึงค่าระยะเวลาของสระเดี่ยวเสียงยาวของคนอีสานที่มีประสบการณ์ทางภาษาไทยกรุงเทพฯต่างกัน โดยเปรียบเทียบกับลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของคนกรุงเทพฯ สมมติฐานของการวิจัยคือ ลักษณะทางกาลสัทศาสตร์ของเสียงสระทั้งเก้าของคนอีสานที่พูดภาษาไทยกรุงเทพฯแตกต่างจากลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของเสียงสระทั้งเก้าของคนกรุงเทพฯ โดยมีค่าความถี่กำทอนที่ 1 และที่ 2 สูงกว่า และมีค่าระยะเวลาในการเปล่งเสียงน้อยกว่าคนกรุงเทพฯ อีกประการหนึ่งประสบการณ์ทางภาษาของคนอีสานที่พูดภาษาไทยกรุงเทพฯมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของสระเดี่ยวเสียงยาว กล่างคือ คนอีกสานที่มีประสบการณืทางภาษาไทยกรุงเทพฯต่ำจะมีสระที่มีลักษณะทางกลสัทศาสตร์ดังกล่าวแล้วแตกต่างจากสระของคนกรุงเทพฯมากกว่าคนอีกสานที่มีประสบการณ์ทางภาษาไทยกรุงเทพฯสูง ผลการวิจัยพบว่า ค่าความถี่กำทอนที่ 1 ของเสียงสระทั้งเก้าของคนกรุงเทพฯและคนอีสานที่มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกัน โดยคนอีสานที่มีประสบการณ์ทางภาษาไทยกรุงเทพฯสูงมีค่าเฉลี่ยของค่าความถี่กำทอนที่ 1 สูงกว่าคนกรุงเทพฯ และคนอีสานที่มีประสบการณ์ทางภาษาไทยกรุงเทพฯต่ำมีค่าเฉลี่ยของค่าความถี่กำทอนที่ 1 ต่ำที่สุด อย่างไรก็ตามในคนอีกสานที่มีประสบการณ์ทางภาษาไทยกรุงเทพฯต่ำจะมีค่าคะแนนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าเฉลี่ยของความถี่กำทอนที่ 1 สูงที่สุดเมื่อเทียบกับคนอีสานที่มีประสบการณ์ทางภาษาไทยกรุงเทพฯสูง และคนกรุงเทพฯมีค่าคะแนนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าความถี่กำทอนที่ 1 น้อยที่สุด เมื่อทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าความถี่กำทอนที่ 1 ของเสียงสระทั้งเก้าของผู้พูดทั้งสามกลุ่มแล้ว พบยว่าค่าความถี่กำทอนที่ 1 ของสระ w:a:และ o: ของผู้พูดทั้งสามกลุ่มมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สำหรับค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในเปล่งเสียงสระ การวิจัยพบว่า คนกรุงเทพฯมีค่าระยะเวลาเฉลี่ยของเสียงสระสูงที่สุดเมื่อเทียบกับคนอีสาน และคนอีสานที่มีประสบการณ์ทางภาษาไทยกรุงเทพฯต่ำมีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในการเปล่งเสียงสระต่ำที่สุด เมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าระยะเวลาของเสียงสระทั้งเก้าของผู้พูดทั้งสามกลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในสระส่วนใหญ่ยกเว้นสระ I: และ o:
dc.description.abstractalternative This research is a study of the acoustic characteristics, i.e., Formant 1, Formant 2, and the duration of long monophthongs in Bangkok Thai spoken by Isan speakers with different language experience compared to Bangkok speakers. The hypotheses are (1) acoustic characteristics of the 9 long monophthongs in Bangkok Thai spoken by Isan speakers differ from Bangkok speakers, the have higher Formant 1 and Formant 2 and shorter duration, (2) language experience of the Isan speakers influences the acoustic characteristics of vowels, when compared to Bangkok speakers’ acoustic characteristics, speakers with low language experience have greater differences than speakers with high language experience. It is found that the average of Formant 1 and the average of Formant 2 of the 9 long monophthongs are different among the 3 groups of informants. For the average F1, Isan speakers with high language experience has the highest F1 value compared to the Bangkok speakers and Isan speakers with low language experience. The variation in terms of F1 are statistically significant (p≤0.05) only with 3 vowels, i.e.; w:a: and o: However, the value of the standard deviation of the F1 is highest in Isan speakers with low language experience compared to Isan speakers with high language experience and Bangkok speakers. In terms of average duration of the vowels, Bangkok speakers have highest value compared to Isan speakers, and Isan speakers with low language experience have lowest duration value. The variations in terms of duration among the 3 groups of speakers are statistically significant (p≤0.05) except 2 vowels, I : and O :
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ภาษาไทย -- สัทศาสตร์
dc.subject ภาษาไทย -- เสียงสระ
dc.title การเปรียบเทียบลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของสระเดี่ยวเสียงยาวในการพูดภาษาไทยกรุงเทพฯ ของคนอีสานและคนกรุงเทพฯ
dc.title.alternative A comparison of acoustic characteristics of long monophthongs in Bangkok Thai spoken by Isan and Bangkok speakers
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ภาษาศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record