dc.contributor.advisor | พีระ จิรโสภณ | |
dc.contributor.author | รักชนก สมศักดิ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-12-03T03:23:38Z | |
dc.date.available | 2020-12-03T03:23:38Z | |
dc.date.issued | 2543 | |
dc.identifier.isbn | 9741301405 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71205 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา วิเคราะห์วัฒนธรรมการทำข่าวการเมืองของนักข่าวรุ่นใหม่ รุ่นกลางและรุ่นอาวุโส ที่สะท้อนจากพฤติกรรมการทำข่าว ความสำนึกทางวิชาชีพ และจริยธรรม รวมถึงการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อวัฒนธรรมการทำข่าวการเมืองของนักข่าวทั้ง 3 รุ่น โดยศึกษาภายใต้กรอบแนวคิด วัฒนธรรมองค์กร บทบาทหน้าที่ของผู้สื่อข่าว คุณสมบัตินักข่าว ความเป็นนักวิชาชีพ ความรับผิดชอบ และจริยธรรมนักข่าว ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมการทำข่าวการเมืองระหว่างนักข่าวทั้ง 3 รุ่น มีความ แตกต่างกันในเชิงแนวคิดและวิธีปฏิบัติ โดยมีปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม ความสำนึกในวิชาชีพนโยบายองค์กร พื้นฐานความรู้และประสบการณ์ของนักข่าวเป็นปัจจัยกำหนด ผลการวิจัยพบว่าวัฒนธรรมการทำข่าวการเมืองของนักข่าวรุ่นกลางและรุ่นใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากนักข่าวรุ่นอาวุโส ทั้งนี้โดยวิธีปฏิบัติของนักข่าวรุ่นกลางและรุ่นใหม่ มีการเปลี่ยนไปในลักษณะของการร่วมมือในการทำงานข่าวกันมากขึ้น อาทิ การช่วยกันเขียนข่าว ส่งข่าว รวมทั้งการคัดลอกข่าวโดยที่นักข่าวรุ่นอาวุโสมักจะต่างคนต่างทำในลักษณะแข่งขันกันทำข่าวให้โดดเด่นจากคนอื่น ส่วนวัฒนธรรมในเชิงแนวคิดนั้นนักข่าวรุ่นกลางและรุ่นใหม่เปลี่ยนไป การทำงานคำนึงถึงตัวเองเป็นหลักและมักมองว่าการรับของกำนัลหรือของชำร่วยจากแหล่งข่าวเป็นเรื่องของสินน้ำใจแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่มูลค่าของที่ได้รับ หากมีมูลค่ามากเกินไปก็จะไม่รับ ขณะที่นักข่าวรุ่นอาวุโสส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับของรางวัลจากแหล่งข่าว และมีความรักในวิชาชีพมาก เคร่งครัดในหลักจริยธรรมยืดหยัดอยู่บนอุดมการณ์ของนักหนังลือพิมพ์ "ซื้อไม่ ขาย ขอไม่ให้" ยึดถือแนวทางปฏิบัติจากนักหนังสือรุ่นเก่า ๆ ที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา | |
dc.description.abstractalternative | This study is both quantitative and qualitative in nature. Its objective is to analytically study and compare the culture in political news coverage in three groups of reporters : new - generation, middle - level, and senior. This culture is reflected in news-gathering behavior, professional conscience, and ethics. Factors that may influence this culture of political news coverage are also studies under a conceptual framework that incorporates several theoretical perspectives. These perspectives include organizational culture of media organizations, role of journalists, professionalism, press responsibility and journalistic ethics. The study finds that there are two major areas of differences in the culture of political news coverage in the three groups of reporters ; that is, differences in perspective, and in practice. These differences are shaped primarily by contextual factors, professional conscience, organizational policy, educational background and journalistic experience. On a practical level, the study finds that the culture of political news coverage in middle-level and new generation reporters is more cooperative in nature when compared with that of the senior reporters. New-generation and middle-level reporters tend to help each other in their news assignments-writing, reporting and copying - while the senior reporters tend to work more independently and competitively in order to make their reports outstanding from others. As for the difference in terms of perspective, middle-level and new – generation reporters tend to be more self-centered and are more comfortable than the senior reporters with the idea of receiving gifts or souvenirs from news sources. The younger reporters regard gift-giving as a gesture of appreciation. But this also depends on the value of gifts. If the gift is too valuable, then these reporters will not accept it. Most senior reporters said that they have never accepted any gift from the sources. They also expressed strong positive feelings about their profession. The senior reporters also adhere strongly to ethics that is said to be premised upon a well-known journalistic ideology of “not salable, not bribable.” This ideology is said to be transmitted from generations to generations of reporters. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject | นักข่าว -- ไทย | |
dc.subject | นักหนังสือพิมพ์ -- ไทย | |
dc.subject | จรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์ -- ไทย | |
dc.subject | หนังสือพิมพ์กับการเมือง | |
dc.title | วัฒนธรรมการทำข่าวการเมือง เปรียบเทียบระหว่างนักข่าวรุ่นใหม่ รุ่นกลางและรุ่นอาวุโส | |
dc.title.alternative | Culture in political news coverage compared among new generation, middle level, and senior reporters | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การหนังสือพิมพ์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |