Abstract:
การวิจัยเรื่อง “สัญนิยมในสื่อสารการแสดง “ลิเก" ยุคโลกาภิวัตน์" นี้ เป็นการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (ethnographic) ที่ผู้วิจัยมีส่วนร่วม'ในการบันทึกข้อมุ]ล คือบันทึกการแสดงสด 10 ครั้ง และร่วมแสดงลิเกอีก 10 ครั้ง ตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2544 นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องตั้งฝ่ายผู้แสดง จำนวน 22 คน และฝ่ายคนดู จำนวน 15 คน รวมตั้งข้อมูลจากเอกสารและสื่ออื่น ๆ ด้วย ซึ่งศึกษาวิเคราะห์ถึงพัฒนาการของลิเกในช่วง 25 ปี ที่ผ่านมา ศึกษาสัญนิยมรวมตั้งขนบของการแสดงที่สื่อผ่านทางสัญญะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำ การเจรจา การร้อง การร่ายรำ การแต่งกาย การแต่งหน้า เวที ฉาก แสง สี เสียง เนี้อเรื่อง และดนตรี รวมตั้งความต้องการหรือความนิยมชมชื่นลิเกของกลุ่มคนดู ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าลิเกมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยการนำของเก่าที่ยังคงเอกลักษณ์ของลิเก เช่น การร้องรานิเกลิง การแต่งกายแต่งหน้าที่สวยงามและเนี้อเรื่องที่ยังคงเกี่ยวกับเจ้ามาผสมผสานกับความทันสมัยหรือกลยุทธ์ในการแสดงใหม่ ๆ เพื่อสร้างรายได้ เช่นการปรับปรุงเครื่องแต่งกายให้วิจิตรอลังการมากขึ้น นำเพลงลูกทุ่งมาช่วยหารายได้ เปลี่ยนรูปแบบของรายการพิเศษ รวมทั้งการผันตัวเองไปเป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งของนักแสดงลิเก ตั้งนี้เนื่องมาจากพลังสื่อมวลชน ความทันสมัย และการสร้างช่องทางความอยู่รอดของลิเก ส่วนสัญนิยมในการแสดงนั้น เน้นที่ความสวยงามเป็นหลัก ตั้งการแต่งกาย แต่งหน้า เวที ฉาก แสง สีซึ่งช่วยสร้างความเพลิดเพลินและความลื่นไหลทางอารมณ์ในการชมการแสดงได้ ผู้แสดงลิเกต้องมีความสามารกในการร้อง รำ มีปฏิภาณไหวพริบที่ดี มีสีลาเฉพาะตัวที่ดึงดูดคนดู สามารถนำเหตุการณ์รอบตัวมาผสมผสานกับการแสดง และสามารทสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนดูได้ ประการสุดท้ายนั้น ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าคนดูมีความต้องการในการมาดูลิเก 3 ลักษณะ คือกลุ่มแรกมาเพื่อดูการแสดง กลุ่มที่สองมาเพื่อดูการแสดงและนักแสดง กลุ่มสุดท้ายมาเพื่อนักแสดงเป็นหลัก โดยมีความนิยมชมชื่นลิเก 4 ประการคือ ความนิยมในสัญญะด้านความงาม ความนิยมในคุณลักษณ์ของตัวละครและบทบาทการแสดง ความนิยมในศิลปวิธีปฏิสัมพันธ์ของนักแสดงลิเก และความนิยมความสัมพันธ์พิเศษ