DSpace Repository

ศักยภาพในการรองรับการพัฒนาศูนย์ราชการของภาคตะวันออกของประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ระหัตร โรจนประดิษฐ์
dc.contributor.author ธนกานต์ สิทธิ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-12-08T02:51:39Z
dc.date.available 2020-12-08T02:51:39Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741759959
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71359
dc.description วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract การศึกษาถึงศักยภาพในการรองรับการพัฒนาศูนย์ราชการของภาคตะวันออกของประเทศไทย นี้ได้มุ่งเน้นศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาถึงองค์ประกอบ ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือก ทำเลที่ตั้งของศูนย์ราชการ โดยศึกษาพื้นที่ในภาคตะวันออก 8 จังหวัด 67 อำเภอ ใช้เทคนิควิเคราะห์ ด้วยการซ้อนทับข้อมูล (Overlay Technique) โดยการนำปัจจัยต่างๆ มาซ้อนทับกันเพื่อหาศักยภาพ และจัดลำดับศักย์ความสำคัญของพื้นที่ เพื่อเสนอแนะพื้นที่ที่เหมาะสม ศูนย์ราชการของภาคตะวันออกเน้นบทบาทหน้าที่ เป็นเมืองหลักและเป็นศูนย์กลางแห่งการ บริหารปกครองของภาคตะวันออก โดยเน้นบทบาทหน้าที่เฉพาะมากขึ้น เพื่อรองรับกิจกรรมหลัก ซึ่งมี ความเฉพาะและเชี่ยวชาญพิเศษในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยปัจจัยที่ใช้วิเคราะห์ศักยภาพมีทั้งหมด 16 ปัจจัย ประกอบด้วยปัจจัยที่กันพื้นที่ออก 5 ปัจจัย ปัจจัยทางกายภาพ 3 ปัจจัย ปัจจัยทางเศรษฐกิจ 4 ปัจจัย และปัจจัยทางสังคม 4 ปัจจัย โดยแบ่งการศึกษาเป็น 4 กรณี ซึ่งให้ค่าน้ำหนักเน้นเฉพาะต่างกัน ออกไป ซึ่งผลการศึกษาพบว่าในทั้ง 4 กรณีได้ผลการศึกษาคล้ายคลึงกัน นั่นคือพื้นที่ที่มีศักยภาพมาก ที่สุดอยู่บริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดชลบุรี ใกล้แนวชายฝั่ง ดังนั้นจึงได้เสนอพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการรองรับศูนย์ราชการของ ภาคตะวันออก ซึ่งเมื่อมีศูนย์ราชการเกิดขึ้นในพื้นที่แล้วพื้นที่จะสามารถรองรับและส่งเสริมให้มีการ พัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง เป็นศูนย์กลางที่สำคัญและสามารถกระจายความเจริญสู่พื้นที่ข้างเคียงได้ โดย ศูนย์ราชการทำหน้าที่เป็นกิจกรรมนำให้เกิดการพัฒนา และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับกิจกรรม อื่นๆ ในพื้นที่รอบๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อพื้นที่ในภาคต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative The development potential of government center in Thailand’s eastern region areas was investigated with the purpose to study the elemental criterias, which impact of the determination of the government center location selection. The study area covers 67 districts of 8 provinces in the eastern region of Thailand. The “Overlay Technique” is used as a tool to analyze location of suitable potential area. The government center in the eastern region of Thailand will be as a hub of an administrative organization, with the main purpose to support the activities in the region. Potential areas were analyzed by 16 criterias, which are categorized into 4 groups: 5 criterias of protected area consideration. It include 3 physical criterias, 4 economic criterias and 4 societal criterias in this analysis. The coastal area of Chonburi province was shown the highest potential for locating the government center settlement. The conclusion is that this settlement will support and promote the suitable development in the region. Moreover it could be decentralized the growth to the hinterland in the region. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.833
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ศูนย์ราชการ -- ไทย (ภาคตะวันออก) en_US
dc.subject การพัฒนาเมือง -- ไทย (ภาคตะวันออก) en_US
dc.subject Urban development -- Thailand, Eastern en_US
dc.title ศักยภาพในการรองรับการพัฒนาศูนย์ราชการของภาคตะวันออกของประเทศไทย en_US
dc.title.alternative The development potential of government center in Thailand's eastern region areas en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การวางแผนภาค en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Rahuth.R@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2005.833


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record