Abstract:
จากการที่รัฐบาลมีนโยบายย้ายท่าอากาศยานดอนเมืองไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภายในปี 2549 ทำให้เกิดผล กระทบต่อการทำงานของพนักงาน ในด้านที่อยู่อาศัยและการเดินทางไปทำงาน โดยเฉพาะพนักงานสายปฏิบัติการของสายการบิน ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญกับสายการบินเป็นอย่างมาก สำหรับการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่อยู่อาศัยและการเดินทางของพนักงานสายปฏิบัติการ ในด้านการวางแผนที่อยู่อาศัยและการเดินทางเมื่อย้ายสนามบิน รวมถึงการศึกษาปัญหาและอุปสรรคด้านที่อยู่อาศัยที่อาจจะเกิดขึ้น โดยกลุ่มเป้าหมายคือพนักงานสายปฏิบัติการของสายการบินไทยแอร์เอเซียจำนวน 496 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลผลจากการศึกษาพบว่า พนักงานมีอายุเฉลี่ย 25-30 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด มีอายุงาน 1 - 2 ปี พนักงานมากกว่าร้อยละ 25 มีระดับรายได้ 10,000-15,000 บาท มีที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวระดับราคา 2,000,000 - 2,500,000 บาท ร้อยละ47 มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองอาศัยมานาน1-5ปี และไม่มีค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง สนามบินดอนเมือง ร้อยละ61.7 มีรถยนต์ส่วนตัวใช้เดินทางไปทำงานในด้านการวางแผนที่อยู่อาศัยของพนักงานสายปฏิบัติการ พบว่า ร้อยละ 48.4 มีความต้องการย้ายที่อยู่อาศัยโดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมีรายได้มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป มีความต้องการขึ้นที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวระดับราคา 3,000,000-4,000,000 บาท สำหรับพนักงานบริการ ภาคพื้นดินมีรายได้ 10,000 - 15,000 บาทต้องการที่อยู่อาศัยประเภทเช้าอพาร์ตเมนท์ระดับราคา 3,000-3,500 บาท เหตุผลที่ ต้องการย้ายคือที่อยู่อาศัยยเดิมมีสภาพแวดล้อมไม่ดีและไม่ปลอดภัยเนื่องจากพนักงานจะต้องมีการเช้ากะทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งสองกลุ่มต้องการที่อยู่อาศัยบริเวณถนนศรินครินทร์ระยะเวลาเดินทาง 15-30 นาทีและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 15-50 บาทต่อ วันโดยนำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการเดินทางสำหรับกลุ่มที่ไม่ต้องการย้ายที่อยู่อาศัยพบว่าร้อยละ 51.6 เป็นกลุ่มวิศวกรอากาศยาน เล้าหน้าที่บริการลานจอด เครื่องบิน พนักงานวางแผนการบินและพนักงานบริการอาหารบนเครื่องบิน มีทั้งสกานภาพโสดและสมรส ซึ่งมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองและอยู่อาศัยมานาน เหตุผลที่ไม่ต้องการย้ายเนื่องจากมีความคุ้นเคยกับที่อยู่อาศัยเดิม และไม่ต้องการแยกกับครอบครัวมีการวางแผนด้านการใช้ชีวิตประจำวันโดยเปลี่ยนแปลงการเดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวมากขึ้นมีระยะเวลาในการเดินทางไป ทำงาน 31-60 นาที และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน 51-100 บาทต่อวัน ปัญหาภายหลังการย้ายที่อยู่อาศัยของพนักงาน พบว่าปัญหาเกิดจากพื้นที่บริเวณใกล้เคียงสนามบินมีราคาค่อนข้างสูง และงบประมาณในการซื้อที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่อยู่อาศัยที่มีราคาสูงขึ้นข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยหากบริษัทต้องการจัดสวัสดิการควรจะเป็นการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการ เดินทางโดยจัดหาที่อยู่อาศัยประเภทอพาร์ตเมนท์ให้เช่าสำหรับพนักงานกลุ่มที่มีรายได้น้อย และจัดสวัสดิการด้านเงินกู้เพื่อที่อยู่ อาศัยให้กับพนักงานส่วนที่ต้องการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับพนักงานกลุ่มที่มีรายได้สูง สำหรับกลุ่มที่ไม่ต้องการย้ายที่อยู่อาศัย แล้วควรจัดให้มีรถสวัสดิการในการรับ-ส่งพนักงานจากสนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางไปทำงาน