dc.description.abstract |
จากการที่รัฐบาลมีนโยบายย้ายท่าอากาศยานดอนเมืองไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภายในปี 2549 ทำให้เกิดผล กระทบต่อการทำงานของพนักงาน ในด้านที่อยู่อาศัยและการเดินทางไปทำงาน โดยเฉพาะพนักงานสายปฏิบัติการของสายการบิน ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญกับสายการบินเป็นอย่างมาก สำหรับการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่อยู่อาศัยและการเดินทางของพนักงานสายปฏิบัติการ ในด้านการวางแผนที่อยู่อาศัยและการเดินทางเมื่อย้ายสนามบิน รวมถึงการศึกษาปัญหาและอุปสรรคด้านที่อยู่อาศัยที่อาจจะเกิดขึ้น โดยกลุ่มเป้าหมายคือพนักงานสายปฏิบัติการของสายการบินไทยแอร์เอเซียจำนวน 496 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลผลจากการศึกษาพบว่า พนักงานมีอายุเฉลี่ย 25-30 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด มีอายุงาน 1 - 2 ปี พนักงานมากกว่าร้อยละ 25 มีระดับรายได้ 10,000-15,000 บาท มีที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวระดับราคา 2,000,000 - 2,500,000 บาท ร้อยละ47 มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองอาศัยมานาน1-5ปี และไม่มีค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง สนามบินดอนเมือง ร้อยละ61.7 มีรถยนต์ส่วนตัวใช้เดินทางไปทำงานในด้านการวางแผนที่อยู่อาศัยของพนักงานสายปฏิบัติการ พบว่า ร้อยละ 48.4 มีความต้องการย้ายที่อยู่อาศัยโดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมีรายได้มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป มีความต้องการขึ้นที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวระดับราคา 3,000,000-4,000,000 บาท สำหรับพนักงานบริการ ภาคพื้นดินมีรายได้ 10,000 - 15,000 บาทต้องการที่อยู่อาศัยประเภทเช้าอพาร์ตเมนท์ระดับราคา 3,000-3,500 บาท เหตุผลที่ ต้องการย้ายคือที่อยู่อาศัยยเดิมมีสภาพแวดล้อมไม่ดีและไม่ปลอดภัยเนื่องจากพนักงานจะต้องมีการเช้ากะทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งสองกลุ่มต้องการที่อยู่อาศัยบริเวณถนนศรินครินทร์ระยะเวลาเดินทาง 15-30 นาทีและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 15-50 บาทต่อ วันโดยนำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการเดินทางสำหรับกลุ่มที่ไม่ต้องการย้ายที่อยู่อาศัยพบว่าร้อยละ 51.6 เป็นกลุ่มวิศวกรอากาศยาน เล้าหน้าที่บริการลานจอด เครื่องบิน พนักงานวางแผนการบินและพนักงานบริการอาหารบนเครื่องบิน มีทั้งสกานภาพโสดและสมรส ซึ่งมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองและอยู่อาศัยมานาน เหตุผลที่ไม่ต้องการย้ายเนื่องจากมีความคุ้นเคยกับที่อยู่อาศัยเดิม และไม่ต้องการแยกกับครอบครัวมีการวางแผนด้านการใช้ชีวิตประจำวันโดยเปลี่ยนแปลงการเดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวมากขึ้นมีระยะเวลาในการเดินทางไป ทำงาน 31-60 นาที และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน 51-100 บาทต่อวัน ปัญหาภายหลังการย้ายที่อยู่อาศัยของพนักงาน พบว่าปัญหาเกิดจากพื้นที่บริเวณใกล้เคียงสนามบินมีราคาค่อนข้างสูง และงบประมาณในการซื้อที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่อยู่อาศัยที่มีราคาสูงขึ้นข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยหากบริษัทต้องการจัดสวัสดิการควรจะเป็นการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการ เดินทางโดยจัดหาที่อยู่อาศัยประเภทอพาร์ตเมนท์ให้เช่าสำหรับพนักงานกลุ่มที่มีรายได้น้อย และจัดสวัสดิการด้านเงินกู้เพื่อที่อยู่ อาศัยให้กับพนักงานส่วนที่ต้องการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับพนักงานกลุ่มที่มีรายได้สูง สำหรับกลุ่มที่ไม่ต้องการย้ายที่อยู่อาศัย แล้วควรจัดให้มีรถสวัสดิการในการรับ-ส่งพนักงานจากสนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางไปทำงาน |
|
dc.description.abstractalternative |
The Thai Government's agenda to move the Bangkok International Airport from Donmuang Airport to Suvarnabhumi Airport by the year 2006 will affect the airport employees, especially in the aspect of their accommodation and transportation. In Particular, this move will greatly affect the lives of the operational staff, who are essential for the operations of aircrafts. This study, then, aimed to investigate the housing and the commuting plans of the operational staff when the new airport is finished. Additionally, the researcher studies the problems about accommodation areas that may happen unexpectedly. This study is a survey study, which used a questionnaire to collect the data from 496 Thai Air Asia's operational staff. The survey results showed that most of the staff members were single. They were between 25 and 30 years old and had one to two years of working experience. More than 25 percent of the staff members earned from 10,000 to 25,000 Baht a month and had a house that was worth 2,000,000 to 2,500,000 Baht. 47 percent of the staff members had lived close to the old airport in their own houses, so they did not have any extra expenditure for housing. 61.7 percent drove to work เท their own cars. Being asked about their housing plans when they had to work at the new airport, 48.4 percent of the staff members, mostly pilots and flight attendants, who received more than 30,000 Baht, reported that they wanted to buy a new house priced between 3,000,000 and 4,000,000 Baht. For the customer service ground staff who earned between 10,000 and 15,000 Baht, they wanted to rent apartments charging around 3,000 to 3,500 Baht because their current places did not have good environment and were not so safe for the staff who sometimes needed to work at night. Both groups preferred to find new housing on Srinakarin Road, which will take about 15-30 minutes continue time to go to the airport by car and cost only 15-50 Baht a day. For the group that did not want to change their housing, 51.6 percent of them were single and married. These staff members worked as aerospace engineers, customer service ground staff, flight operation staff, and inflight service staff. These staff members had their own houses and had lived there for a long time; therefore, they reported being used to living in their current house did not want to be away from their families. These staff members reported planning to drive to the new airport, which would take them about 30-60 minutes each way and would cost approximately 51-100 Baht a day. The findings suggest that the airport company can provide housing and commuting welfare for their staff in different ways. For the group that wants to find new housing, the company can help provide housing like worker apartment to the staff members who have low income and provide housing loans for high income staff to buy new house. For those who do not plan to find new housing, the company can provide bus service from Donmuang Airport to Suvarnabhumi Airport in order to help make the commuting comfortable and safe |
|