Abstract:
ศึกษาประสิทธิภาพของ florfenicol (FF) เปรียบเทียบกับ chloramphenicol (CAP) ในการยับยั้งเชื้อ vibiros ก่อ โรคในกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) และผลของนำทะเลต่อประสิทธิภาพของยาโดยวิธี antimicrobial agar dilution susceptibility tests พบว่าความเข้มข้นตํ่าสุดของ FF และ CAP ที่สามารถยับยั้งเชื้อ vibiros ที่ใช้ทดสอบ (Minimum Inhibitory Concentrations; MICs) (จำนวน 102 isolates) เมือทดสอบในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมน้ำกลัน คือ0.5-2 gg/ml และ 0.5-8 gg/ml ตามลำดับ เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของยาในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมนํ้าทะเลความ เค็ม 5%0 พบว่า MICs ของ FF มีช่วงกว้างชื้นเป็น 0.5-4 gg/ml และ MICs ของ CAP ไม่เปลี่ยนแปลง ค่า MICs แสดงว่ายาต้านจุลชีพทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ vibrios ที่แยกได้จากกุ้งกุลาดำป่วย เนื่องจาก FF เป็นยาต้านจุลชีพที่อนุญาตให้ใช้ในสัตว์เลี้ยงเพื่อการบริโภค จึงทดสอบการให้ยา FF ในกุ้งกุลาดำโดย การให้ยาผสมอาหารในขนาด 0.8 mg FF ต่อกิโลกรัมอาหาร ติดต่อกัน 5 วัน ให้อาหารวันละประมาณ 2.5% ของ นํ้าหนักตัวกุ้ง (นํ้าหนักตัวเฉลี่ย 14-15.5 g) และแบ่งให้วันละ 3 มื้อ วิเคราะห์ปริมาณ florfenicol-amine (FFA) ตกค้างในเนื้อเยื่อของกุ้งกุลาดำระหว่างการให้ยาและภายหลังการหยุดยาโดยวิธี High Performance Liquid Chromatography (HPLC) ใช้ uv detector ที่ควานยาวคลื่น 220 นาโนเมตร ผลการทดสอบวิธีวิเคราะห์แสดง Retention time ของ FFA ที่ 11.796-12.437 นาที จากการทดสอบประสิทธิภาพของวิธีวิเคราะห์โดยเติมสารละลาย มาตรฐาน FFA 1 pg ต่อกรัมเนื้อเยื่อในกุ้งกุลาดำ มีอัตราการคืนกลับของสารเฉลี่ย 79.2% ในกล้ามเนื้อและ 80.7% ใน hepatopancreas ตามลำดับ กุ้งที่ได้รับยาตรวจพบความเข้มข้นเฉลี่ยสูงที่สุดของ FFA (Cmax) ใน hepatopancreas เท่ากับ 0.7 gg ต่อกรัมเนื้อเยื่อ ที่เวลา 1 ชั่วโมง (tmJ และในกล้ามเนื้อเท่ากับ 0.05 gg ต่อกรัม เนื้อเยื่อ (Cmax) ที่เวลา 4 ชั่วโมง (tmax) หลังจากได้รับยาครั้งแรก ความเข้มข้นเฉลี่ยของ FFA ในกล้ามเนื้อและ HP สมํ่าเสมอตลอดระยะเวลาของการให้ยา และค่อยๆลดลงหลังหยุดการให้ยาจนไม่สามารถตรวจพบได้ในวันที่ 7 หลัง การหยุดยา พบว่าประมาณ 50% ของปริมาณยาที่ผสมในอาหารละลายออกสู่นํ้าภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากอาหารผสม ยาสัมผัสนํ้าในระบบปิด ผลการวิเคราะห์แสดงว่าความเข้มข้นของ FFA ที่พบในเนื้อเยื่อกุ้งตลอดระยะเวลาให้ยา ตํ่ากว่าค่า MIC50 ของ FF (1 pg/ml) ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการสูญเสียยาที่ผสมในอาหารละลายออกสู่นํ้า