DSpace Repository

ผลของฟลอเฟนิคอลในการยับยั้งเชื้อวิบริโอก่อโรคและการตรวจหาปริมาณฟลอเฟนิคอลเอมีนในเนื้อเยื่อของกุ้งกุลาดำด้วยวิธีเอชพีแอลซี

Show simple item record

dc.contributor.advisor เจนนุช ว่องธวัชชัย
dc.contributor.advisor เบญจมาศ ปัทมาลัย
dc.contributor.author นุชนารถ ทิพย์มงคลศิลป์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-12-08T08:52:16Z
dc.date.available 2020-12-08T08:52:16Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741739001
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71419
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract ศึกษาประสิทธิภาพของ florfenicol (FF) เปรียบเทียบกับ chloramphenicol (CAP) ในการยับยั้งเชื้อ vibiros ก่อ โรคในกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) และผลของนำทะเลต่อประสิทธิภาพของยาโดยวิธี antimicrobial agar dilution susceptibility tests พบว่าความเข้มข้นตํ่าสุดของ FF และ CAP ที่สามารถยับยั้งเชื้อ vibiros ที่ใช้ทดสอบ (Minimum Inhibitory Concentrations; MICs) (จำนวน 102 isolates) เมือทดสอบในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมน้ำกลัน คือ0.5-2 gg/ml และ 0.5-8 gg/ml ตามลำดับ เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของยาในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมนํ้าทะเลความ เค็ม 5%0 พบว่า MICs ของ FF มีช่วงกว้างชื้นเป็น 0.5-4 gg/ml และ MICs ของ CAP ไม่เปลี่ยนแปลง ค่า MICs แสดงว่ายาต้านจุลชีพทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ vibrios ที่แยกได้จากกุ้งกุลาดำป่วย เนื่องจาก FF เป็นยาต้านจุลชีพที่อนุญาตให้ใช้ในสัตว์เลี้ยงเพื่อการบริโภค จึงทดสอบการให้ยา FF ในกุ้งกุลาดำโดย การให้ยาผสมอาหารในขนาด 0.8 mg FF ต่อกิโลกรัมอาหาร ติดต่อกัน 5 วัน ให้อาหารวันละประมาณ 2.5% ของ นํ้าหนักตัวกุ้ง (นํ้าหนักตัวเฉลี่ย 14-15.5 g) และแบ่งให้วันละ 3 มื้อ วิเคราะห์ปริมาณ florfenicol-amine (FFA) ตกค้างในเนื้อเยื่อของกุ้งกุลาดำระหว่างการให้ยาและภายหลังการหยุดยาโดยวิธี High Performance Liquid Chromatography (HPLC) ใช้ uv detector ที่ควานยาวคลื่น 220 นาโนเมตร ผลการทดสอบวิธีวิเคราะห์แสดง Retention time ของ FFA ที่ 11.796-12.437 นาที จากการทดสอบประสิทธิภาพของวิธีวิเคราะห์โดยเติมสารละลาย มาตรฐาน FFA 1 pg ต่อกรัมเนื้อเยื่อในกุ้งกุลาดำ มีอัตราการคืนกลับของสารเฉลี่ย 79.2% ในกล้ามเนื้อและ 80.7% ใน hepatopancreas ตามลำดับ กุ้งที่ได้รับยาตรวจพบความเข้มข้นเฉลี่ยสูงที่สุดของ FFA (Cmax) ใน hepatopancreas เท่ากับ 0.7 gg ต่อกรัมเนื้อเยื่อ ที่เวลา 1 ชั่วโมง (tmJ และในกล้ามเนื้อเท่ากับ 0.05 gg ต่อกรัม เนื้อเยื่อ (Cmax) ที่เวลา 4 ชั่วโมง (tmax) หลังจากได้รับยาครั้งแรก ความเข้มข้นเฉลี่ยของ FFA ในกล้ามเนื้อและ HP สมํ่าเสมอตลอดระยะเวลาของการให้ยา และค่อยๆลดลงหลังหยุดการให้ยาจนไม่สามารถตรวจพบได้ในวันที่ 7 หลัง การหยุดยา พบว่าประมาณ 50% ของปริมาณยาที่ผสมในอาหารละลายออกสู่นํ้าภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากอาหารผสม ยาสัมผัสนํ้าในระบบปิด ผลการวิเคราะห์แสดงว่าความเข้มข้นของ FFA ที่พบในเนื้อเยื่อกุ้งตลอดระยะเวลาให้ยา ตํ่ากว่าค่า MIC50 ของ FF (1 pg/ml) ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการสูญเสียยาที่ผสมในอาหารละลายออกสู่นํ้า
dc.description.abstractalternative Florfenicol (FF) and Chloramphenicol (CAP) were tested for in vitro antimicrobial activity against 102 clinical vibrio isolates. Agar dilution method as described by the National Committee of Clinical Laboratory Standards (NCCLS) was used to determine Minimum Inhibitory Concentrations (MICs) of each chemical against the isolated vibrios. MICs for both antimicrobials were < 8 pg/ml suggesting that all of the tested isolates were susceptible to both antimicrobials. The observed MICs range of FF (0.5-4.0 pg/ml) was more potent than that of CAP (0.5-8.0 pg/ml). The activity of both antimicrobials was not substantially Influenced by an addition of 5%0 seawater to the test system. With respect to the type of antimicrobial for food producing animals and in vitro antivibrio activity, FF is a prospective antimicrobial for shrimp vibrio pathogens. A following in vivo study was conducted in 3 months old black tiger shrimp Penaeus monodon (average body weight 14-15.5 gm) fed for 5 days with FF medicated feed at 0.8 gm of FF per kilogram of feed and the feeding rate was approximately 2.5% of body weight/day. Florfenicol-amine (FFA), the marker residue of FF, in the hepatopancreas and muscle was measured using High Performance Liquid Chromatography (HPLC) and UV detection (k = 220 nm). The analytical method revealed peak of FFA at 11.79-12.437 min retention time and the recovery rate of FFA in shrimp tissues was 79.2% in muscle and 80.7% in hepatopancreas, when the control tissue was added with 1 pg FFA standard/g tissue. Samples were taken 0.5, 1,2,4, 8.5,12,16.5, 24 and every 24 hours after first administration; and 1,3, 5, 7, 9 days after the 5-day treatment. The FFA concentration in samples from control shrimp was not detected by this method. The maximum concentration of FFA (Cmax) detected in the hepatopancreas at 1 hour (tmaxJ was 0.7 pg/g tissue, and Cmax in the muscle was 0.05 pg/g tissue at 4 hour (tmax) after the initial medication. Average concentration of FFA analyzed every 24 hours of the medication was 0.5-0.6 pg/g in the hepatopancreas and 0.1-0.15 pg/g in the muscle. By the seventh day, following the cessation of feeding the medicated feed, the drug residue in the shrimp hepatopancreas and muscle, was less than detectable limits for the method use. Up to 50% of FF added into the diet was found leached to water within 30 min of static assay. Data indicated amount of FFA in shrimp tissue was less than MICgo of FF (1 pg/ml) observed in the previous study, these may suggest an inadequated bioavailability of FF consequently to leaching of the compound from the diet to water.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กุ้งกุลาดำ -- โรค en_US
dc.subject กุ้งกุลาดำ -- โรคเกิดจากไวรัส en_US
dc.subject Penaeus monodon -- Diseases en_US
dc.subject Penaeus monodon -- Virus diseases en_US
dc.title ผลของฟลอเฟนิคอลในการยับยั้งเชื้อวิบริโอก่อโรคและการตรวจหาปริมาณฟลอเฟนิคอลเอมีนในเนื้อเยื่อของกุ้งกุลาดำด้วยวิธีเอชพีแอลซี en_US
dc.title.alternative Inhibitory efficacy of florfenicol against shrimp pathogenic vibrios and quantitative analysis of florfenicol-amine in black tiger shrimp Penaeus Monodon tissues by HPLC en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สัตวแพทยสาธารณสุข en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Janenuj.W@Chula.ac.th
dc.email.advisor Benjamas.Pa@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record