Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบที่เหมาะสมในการมีส่วนร่วมจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นตั้งเดิม แนวคิดและขอบเขตของสิทธิ ตลอดจนระดับและ ขั้นตอนในการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นตั้งเดิมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธดักราช 2540 ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น ตั้งเดิมตามหลักการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืนมีความสัมพันธ์กับจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ หรือวัฒนธรรมของชุมชนโดยถือเป็นสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐซึ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติ ของกฎหมาย ขณะที่รูปแบบการจัดการในปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการโดยไม่ปรากฏว่ามี กฎหมายฉบับใดรับรองสิทธิของชุมชนท้องถิ่นตั้งเดิมในการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ แม้ชุมชนที่มีลักษณะเป็นชุมชนท้องถิ่นตั้งเดิมจะมีดักยภาพในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ความไม่ชัดเจนของกฎหมายและรูปแบบของการมีส่วนร่วมดังกล่าว ส่งผลให้ศักยภาพของชุมชนลดลง ดังนั้น หากภาครัฐจะได้บัญญัติกฎหมายให้ชัดเจนก็จะทำให้ชุมชนท้องถิ่น ตั้งเดิมสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเองได้อย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการจัดทำกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิของชุมชน ท้องถิ่นตั้งเดิม และเสนอรูปแบบในการบัญญัติกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิดังกล่าว อาทิเช่น การกำหนดนิยาม ของชุมชนท้องถิ่นตั้งเดิมให้ชัดเจนสอดคล้องตามหลักการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธดักราช 2540การกำหนดให้มีองค์กรที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายทั้งในส่วนของประชาชนองค์กรภาครัฐและชุมชนท้องถิ่น ตั้งเดิม รวมทั้งการกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรดังกล่าว ระดับการมีส่วนร่วมของ ชุมชนท้องถิ่นตั้งเดิมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การระงับข้อพิพาท ตลอดจนการ เสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งจะส่งผลต่อการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น