Abstract:
เพลงกราวใน สองชั้น เป็นเพลงหน้าพากย์ประกอบอากัปกิริยาการ ของตัวละครฝ่ายยักษ์ ลักษณะทำนองแสดงความองอาจ สง่างามและฮึกเหิม เป็นเพลงลักษณะลูกโยนที่มีความพิเศษ ประกอบ ไปด้วยกลุ่มลูกโยน 10 กลุ่ม(รวมเนื้อทำนองหลัก กลุ่มเสียงโยน 6 เสียงมีคุณลักษณะที่เหมาะสมในการ นำมาประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยว เนื่องจากในทำนองเพลงทั้งลูกโยนและทำนองหลัก เปิดโอกาสให้ สามารถตบแต่งทำนอง พลิกแพลงและแปรทางให้วิจิตรบรรจง เป็นเพลงที่แสดงถึงภูมิปัญญาของ ผู้ประพันธ์ที่ถึงพร้อมด้วยความรู้ทั้งเชิงศาสตร์และเชิงศิลป์จนบังเกิดสุนทรียรส ทางดนตรีได้หลากหลาย จากการวิเคราะห์เดี่ยวซออู้ เพลงกราวในทางครูย้อย เกิดมงคล พบว่าโครงสร้งทางเดี่ยวมีความ แตกต่างจากทำนองหลัก กล่าวคือ ในทางเดี่ยวมีการนำทำนองหลักมาประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยวพียง 8 กลุ่ม ลูกโยนแต่ยังคงใช้ 6 เสียงหมือนกับทำนองหลัก ส่วนกลุ่มลูกโยนที่ 9 แล ะ10 เป็นกลุ่มถูกโยนที่ซ้ำ เสียงและซ้ำสำนวนกลอนในกลุ่มลูกโยนที่ 1 และ 2 ดังนั้นจึงไม่มีการนำมาประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยวซึ่ง แตกต่างจากปี่พากย์เพราะธรรมชาติของเสียงระหว่างปี่พาทย์และเครื่องสายมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ในเรื่องของจังหวะพบว่า ในทางเดี่ยวใช้จังหวะหน้าทับกราวนอกแทนจังหวะหน้าทับ กราวในของทำนองหลัก เนื่องจากลักษณะกระสวนจังหวะเอื้อต่อการบรรเลง ในเรื่องของระดับเสียง พบว่ามีการใช้ระดับเสียงอยู่ 3 ระดับเสียงคือทางเพียงออบน ทางเพียงออล่างและทางนอก ส่วนลักษณะ ของทิศทางการเคลื่อนที่ของทำนอง มีความซับซ้อน และมีการเคลื่อนไหวของทำนองทั้งลักษณะ ลอยจังหวะและลักษณะการเก็บ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างทำนองหลัก และทางเดี่ยวพบว่าในทางเดี่ยว มีการนำเค้าโครงที่เป็นรากทำนองหลักมาแปรทางในทางเดี่ยวในลูกโยนที่ 1-7 ยกเว้น ในลูกโยนที่ 8 ด้านกลวิธีพิเศษมีการนำกลวิธี ในการบรรเลงรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดความไพเราะ และกลมกลืน โดยเฉพาะลักษณะการเปลี่ยนตำแหน่งนิ้วและตำแหน่งเสียง และการดำเนินทำนองในการซ้ำทำนอง ซึ่ง จากผลการวิเคราะห์ในประเด็นต่าง ๆ ทุกประเด็นเป็นข้อยืนยันได้ว่า เพลงเดี่ยวกราวในเป็นเพลงเดี่ยว ขั้นสูงและมีความสำคัญเพลงหนึ่ง