dc.contributor.advisor |
ขำคม พรประสิทธิ์ |
|
dc.contributor.author |
ปทุมทิพย์ กาวิล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-12-09T03:59:24Z |
|
dc.date.available |
2020-12-09T03:59:24Z |
|
dc.date.issued |
2548 |
|
dc.identifier.isbn |
9745328006 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71447 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
en_US |
dc.description.abstract |
เพลงกราวใน สองชั้น เป็นเพลงหน้าพากย์ประกอบอากัปกิริยาการ ของตัวละครฝ่ายยักษ์ ลักษณะทำนองแสดงความองอาจ สง่างามและฮึกเหิม เป็นเพลงลักษณะลูกโยนที่มีความพิเศษ ประกอบ ไปด้วยกลุ่มลูกโยน 10 กลุ่ม(รวมเนื้อทำนองหลัก กลุ่มเสียงโยน 6 เสียงมีคุณลักษณะที่เหมาะสมในการ นำมาประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยว เนื่องจากในทำนองเพลงทั้งลูกโยนและทำนองหลัก เปิดโอกาสให้ สามารถตบแต่งทำนอง พลิกแพลงและแปรทางให้วิจิตรบรรจง เป็นเพลงที่แสดงถึงภูมิปัญญาของ ผู้ประพันธ์ที่ถึงพร้อมด้วยความรู้ทั้งเชิงศาสตร์และเชิงศิลป์จนบังเกิดสุนทรียรส ทางดนตรีได้หลากหลาย จากการวิเคราะห์เดี่ยวซออู้ เพลงกราวในทางครูย้อย เกิดมงคล พบว่าโครงสร้งทางเดี่ยวมีความ แตกต่างจากทำนองหลัก กล่าวคือ ในทางเดี่ยวมีการนำทำนองหลักมาประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยวพียง 8 กลุ่ม ลูกโยนแต่ยังคงใช้ 6 เสียงหมือนกับทำนองหลัก ส่วนกลุ่มลูกโยนที่ 9 แล ะ10 เป็นกลุ่มถูกโยนที่ซ้ำ เสียงและซ้ำสำนวนกลอนในกลุ่มลูกโยนที่ 1 และ 2 ดังนั้นจึงไม่มีการนำมาประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยวซึ่ง แตกต่างจากปี่พากย์เพราะธรรมชาติของเสียงระหว่างปี่พาทย์และเครื่องสายมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ในเรื่องของจังหวะพบว่า ในทางเดี่ยวใช้จังหวะหน้าทับกราวนอกแทนจังหวะหน้าทับ กราวในของทำนองหลัก เนื่องจากลักษณะกระสวนจังหวะเอื้อต่อการบรรเลง ในเรื่องของระดับเสียง พบว่ามีการใช้ระดับเสียงอยู่ 3 ระดับเสียงคือทางเพียงออบน ทางเพียงออล่างและทางนอก ส่วนลักษณะ ของทิศทางการเคลื่อนที่ของทำนอง มีความซับซ้อน และมีการเคลื่อนไหวของทำนองทั้งลักษณะ ลอยจังหวะและลักษณะการเก็บ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างทำนองหลัก และทางเดี่ยวพบว่าในทางเดี่ยว มีการนำเค้าโครงที่เป็นรากทำนองหลักมาแปรทางในทางเดี่ยวในลูกโยนที่ 1-7 ยกเว้น ในลูกโยนที่ 8 ด้านกลวิธีพิเศษมีการนำกลวิธี ในการบรรเลงรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดความไพเราะ และกลมกลืน โดยเฉพาะลักษณะการเปลี่ยนตำแหน่งนิ้วและตำแหน่งเสียง และการดำเนินทำนองในการซ้ำทำนอง ซึ่ง จากผลการวิเคราะห์ในประเด็นต่าง ๆ ทุกประเด็นเป็นข้อยืนยันได้ว่า เพลงเดี่ยวกราวในเป็นเพลงเดี่ยว ขั้นสูงและมีความสำคัญเพลงหนึ่ง |
|
dc.description.abstractalternative |
Phleng Kraw Nai is the title of a Thai composition in moderate tempo, which belongs to the category of phleng na pat (sacred repertoire). It is used in khon (masked dance-drama) to accompany the activities and movements of demonic characters from the Ramayana epic. The melody gives the emotional qualities of confidence, elegance, and boldness. The melody is made up of ten "Luk Yon” melodic formula, and it shows that the occurrence of metabole involving six modes. The melody is suitable for arranging a solo composition for the melody lies in the pitch areas involving metabole and transitional passages, allowing a composer to make variations freely. The melody thus indicates the genius of a composer who has a vast knowledge and wisdom. The musical analysis of Kraw Nai solo for Saw-U shows that there are differences between the essential melody and the solo melody. Out of ten Luk Yon formula, only eight Luk Yon formula were found in the solo melody. The ninth and the tenth formula are the repetitions of melodic phrases found in the first and the second Luk Yon formula. Thus, the ninth and the tenth Luk Yon formula are omitted in the solo melody. In terms of rhythmic analysis, the findings show that the solo melody is accompanied by the Kraw Nok pattem in stead of the Kraw Nai pattern because the Kraw Nok patten is more compatible to the solo melody to support a soloist while performing. The analysis also shows that the solo melody is in three pitch levels: thang phiang au bon, thang phiang au lang, and thang nok. The melodic movements are complex, using the techniques of free rhythmic and steady spacing. In the aspect of essential melody-solo melody relationship, it is found that all of the solo melody is based on the essential melody of Kraw Nai song chan except the eight Luk Yon formula. The performance techniques involve advanced playing techniques to render musical aesthetics including fingering relocation and pitch relocation. In conclusion, all musical aspects of the Kraw Nai Solo composition for Saw-U were analyzed, and the analysis proves that the composition is rightfully acclaimed as one of the most advanced solo pieces and the most significant solo compositions. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ย้อย เกิดมงคล -- เพลงและดนตรี |
en_US |
dc.subject |
ซออู้ |
en_US |
dc.subject |
เพลงไทยเดิม |
en_US |
dc.subject |
การวิเคราะห์เพลง |
en_US |
dc.subject |
Yoyi Kirdmongkon -- Songs and music |
en_US |
dc.title |
วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวในทางครูย้อย เกิดมงคล |
en_US |
dc.title.alternative |
Musical analysis of Saw-U solo : a case study of Kru Yoyi Kirdmongkon's Kraw Nai Solo |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ดุริยางค์ไทย |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Kumkom.P@Chula.ac.th |
|