DSpace Repository

ผลกระทบทางสังคมจากการปรับปรุงฟื้นฟูย่านพาณิชยกรรมบริเวณศูนย์คมนาคมกรุงเทพฯ ด้านตะวันตกเฉียงใต้

Show simple item record

dc.contributor.advisor นพนันท์ ตาปนานนท์
dc.contributor.author ปิยภัทร จันกลิ่น
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-12-09T07:22:26Z
dc.date.available 2020-12-09T07:22:26Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741423578
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71454
dc.description วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง (สนข.) ได้ศึกษาความเป็นไปได้โครงการพัฒนาศูนย์คมนาคมกรุงเทพฯด้านตะวันตกเฉียงใต้และโครงการรถไฟสายแม่กลองและส่วนต่อเนื่อง โดยต้องการพัฒนาเป็นศูนย์คมนาคมขนาดใหญ่ใช้รูปแบบการพัฒนาแบบผสม (mix-used development) จึงมีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาพื้นที่บริเวณศูนย์คมนาคมและบริเวณโดยรอบ โดยพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ย่านพาณิชยกรรมที่ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงฟื้นฟูเมือง(Redevelopment) จากสภาพทั่วไปที่มีประชาชนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่วในอนาคตมีผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัย ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษาผลระทบทางสังคมจากการปรับปรุงฟื้นฟู โดยประเมินผลกระทบและวิเคราะห์ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย เพื่อหาแนวทางลดผลกระทบทางสังคมได้อย่างเหมาะสม ผลการศึกษา พบว่าลักษณะทางสังคมภายในพื้นที่ศึกษามีทั้งเด็กและคนชรา ระยะเวลาอยู่อาศัยยาวนาน (มากกว่า51 ปีขึ้นไป) มีความผูกพันในพื้นที่ การปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่จึงส่งผลกระทบทางสังคมอย่างมากและจาก แผนการพัฒนาพื้นที่ที่ประกอบด้วยพื้นที่ศูนย์คมนาคมและโครงข่ายคมนาคมในอนาคตกับพื้นที่บริเวณรอบศูนย์คมนาคม ทำให้เกิดผลกระทบทางสังคมที่แตกต่างกันเพื่อลดผลกระทบทางสังคมของ 2 บริเวณ มีดังนี้ บริเวณที่ 1 บริเวณที่พัฒนาเป็นศูนย์คมนาคมและโครงข่ายถนน แนวทางการพัฒนาพื้นที่จะใช้อำนาจในการเวนคืน (eminent domain) ทำให้เกิดผลกระทบทางสังคมต่อผู้อยู่อาศัยอย่างมาก เพื่อลดผลกระทบทางสังคมของพื้นที่บริเวณนี้จึงมีการจัดทำแผนการโยกย้าย (relocation) แยกตามความเหมาะสมของครัวเรือน บริเวณที่ 2 บริเวณรอบศูนย์คมนาคม ซึ่งภายโนบริเวณที่ 2 มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันบ่งบอกถึงผลกระทบทางสังคมที่แตกต่างกัน จึงให้แนวทางการปรับปรุงพื้นฟูพื้นที่โดยใช้วิธีการทางผังเมืองมาปรับใช้ดามความเหมาะสมทางกายภาพและพิจารณาร่วมกับความสามารถในการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย โดยจะใช้วิธีรื้อสร้างใหม่ (redevelopment) การปรับปรุงโดยการบูรณะฟื้นฟู (rehabilitation) การปรับปรุงพื้นที่แบบรื้อและสร้างใหม่ในที่ดินเดิม (reconstruction) แต่ยังส่งผลให้มีประชาชนบางส่วนจำเป็นต้องโยกย้าย จึงควรจัดทำแผนโยกย้ายตามความเหมาะสมของครัวเรือนซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยลดผลกระทบทางสังคมได้ นอกจากนี้ ควรมีการกำหนดองค์กรบริหารให้ชัดเจนเพื่อการบริหารด้านการเงิน มีการให้ความช่วยเหลือผู้อยู่อาศัย กำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ ละเอียดขึ้นหรือครอบคลุมมากขึ้นพร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อช่วยลดผลกระทบทางสังคมจากการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่
dc.description.abstractalternative The Office of Transport and Traffic Policy and Planning has studied the project proposal of Bangkok Southwestern Intermodal Station and SRT's Maeklong Line with the requirement of mix-used development approach. The development guidelines for the intermodal Station and surrounding areas have been considered by studying the application of urban redevelopment in the commercial areas. The development will affect to the residents living in the area. Therefore, the study of the social impacts from the redevelopment had been proposed by focusing the assessment and the analysis of housing relocation capacity for finding appropriate guidelines for the mitigation of the social impacts. The study found that there are many children and elder persons living in the area. Hence, redevelopment will directly affect to the people who live there. The guidelines to mitigate social impact mentioned of the area are divided into 2 approaches: 1) For intermodal station and road network development area, the development will be using eminent domain which creates more social impacts to people who lives in that area. Therefore, Io mitigate this problem the relocation plan should be set up accordingly to the condition of households. 2) For the surrounding area of the intermodal station, development guidelines by using urban planning method has been adopted with considering the changes of housing capacity by redevelopment, rehabilitation and conservation. However, the three types of development are still affected to the people, Therefore, the relocation plan relating to the appropriate condition of the households can be a guideline for mitigating the social impact. Furthermore, the organizations or agencies should be setting up for the responsibility in managing financial support to residents, issuing laws and regulations, providing information, and public participation to mitigate social impacts from the redevelopment.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.447
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject โครงการพัฒนาศูนย์คมนาคมกรุงเทพฯ ด้านตะวันตกเฉียงใต้ en_US
dc.subject โครงการรถไฟสายแม่กลองและส่วนต่อเนื่อง en_US
dc.subject การฟื้นฟูเมือง en_US
dc.subject ผังเมือง en_US
dc.subject ย่านการค้ากลางใจเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ en_US
dc.subject Urban renewal en_US
dc.subject City planning en_US
dc.subject Central business districts -- Thailand -- Bangkok en_US
dc.title ผลกระทบทางสังคมจากการปรับปรุงฟื้นฟูย่านพาณิชยกรรมบริเวณศูนย์คมนาคมกรุงเทพฯ ด้านตะวันตกเฉียงใต้ en_US
dc.title.alternative Social impacts of redevelopment for the commercial districts in Bangkok southwestern intermodel station areas en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การวางผังเมือง en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Nopanant.T@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2005.447


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record