Abstract:
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ของชาวชุมชนบ้านครัว ลักษณะและปัจจัยที่ชาวชุมชนแสดงออกถึงความรู้สึกผูกพัน ความรู้สึกติดถิ่น และผลานความร่วมมือภายในชุมชน กลยุทธ์การสื่อสารของแกนนำชุมชนในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในกรณีพิพาทฯ โดยใช้การวิจัยเอกสาร วิจัยภาคสนามการสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก และการสนทนากลุ่ม กลุ่ม เป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วย คณะทำงานเฉพาะกิจ กรรมการชุมชน และชาวชุมชนบ้านครัว จำนวน 20 คน ผลการวิจัย พบว่า บฏิสัมพันธ์ของชาวชุมชนเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีลักษณะลองทาง แบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ ระดับบุคคล ได้แก่ การทักทาย การพูดคุย ระดับกลุ่ม ได้แก่ การประชุม การพูดคุยของคนกลุ่มต่าง ๆ ระดับชุมชน เป็นการสื่อสารระหว่างกลุ่มหลาย ๆ กลุ่มที่มีความซับซ้อนกัน ลักษณะที่ชาวชุมชนแสดงถึงความรู้สึกผูกพัน ความรู้สึกติดถิ่น และผสานความร่วมมือต่าง ๆ เช่น กิจกรรมทางศาสนา การเมือง สุขภาพและอนามัย การพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในชุมชน การแข่งขันกีฬา การบริจาค และการประชุม ปัจจัยที่ชาวชุมชน แสดงถึงความผูกพันต่อชุมชน ได้แก่ ความเป็นมุสลิม ลักษณะของกิจกรรม แกนนำริเริ่มกิจกรรม และผลกระทบจากกรณีทางด่วน กลยุทธ์การสื่อสารของแกนนำชุมชนในการจัดการปัญหาได้แก่ การใช้ศาสนาอิสลามในการรวมคนในชุมชน การประสานกลุ่มแกนนำ การจัดการในชุมชน การใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสาร การกระจายข่าวสารอย่างรวดเร็วภายในชุมชน การใช้สื่อเฉพาะกิจโดยเสนอเรื่องราวจากแนวคิดทางศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาที่กระชับ เข้าใจง่าย ใช้สื่อมวลซนเผยแพร่ข่าวสารให้เป็นประเด็นข่าวในระดับประเทศ และการสร้างพันธมิตร ภายนอก กลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างความเข้มแข็งภายในชุมชน ได้แก่ การสื่อสารภายในชุมชน ซึ่งเกิดจากการสร้างปฏิสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นภายในชุมชนโดยใช้ “กิจกรรม” ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนในการดึงคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ การใช้หลักศาสนาในการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนและการใช้ คนนอก ได้แก่ นักวิชาการและสื่อมวลชนที่ช่วยเผยแพร่เรื่องราวของชุมชนให้เป็นที่แพร่หลายในระดับประเทศ