DSpace Repository

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจรถแท็กซี่มิเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศักดา ธนิตกุล
dc.contributor.author เดชา พนาวรกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-12-09T08:43:49Z
dc.date.available 2020-12-09T08:43:49Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9745329967
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71468
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน และบุคคลต่าง ๆ ในธุรกิจรถแท็กซี่มิเตอร์ในกรุงเทพมหานครสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ซึ่งประกอบไปด้วย นิติบุคคลรถแท็กซี่ เจ้าของอู่รถแท็กซี่ ผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก ส่วนความสัมพันธ์อีกประเภท คือ ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับเอกชน โดยจะเป็นลักษณะการกำกับดูแล ทั้งการกำกับดูแลคุณภาพ ความปลอดภัยให้บริการ การเข้าสู่ธุรกิจรถแท็กซี่ และอัตราค่าโดยสาร จากการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนนั้นจะมีการนำเอาหลักกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์มาปรับใช้ เพราะไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะบังคับใช้ ไม่ว่าจะเป็นเช่าทรัพย์ รับขน ตัวการตัวแทน ละเมิด เป็นต้น แต่บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินงานในธุรกิจรถแท็กซี่ จึงก่อให้เกิดปัญหาขึ้น โดยเฉพาะการกำหนดความรับผิดชอบของผู้ประกอบการที่มีต่อผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอก เพราะไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันตามสัญญาใดๆ แต่มีการนำหลักตัวการตัวแทนมากำหนดความรับผิดของผู้ประกอบการรถแท็กซี่ ให้ร่วมรับผิดต่อผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอก ทั้งที่ไม่มีความสัมพันธ์ตามสัญญาตัวการ ตัวแทนแต่อย่างใด จึงถือได้ว่าผิดหลักกฎหมายและก่อให้เกิดความไม่ชัดเจนในการกำหนดความรับผิดในกรณีดังกล่าว ส่วนปัญหาของการกำกับดูแลที่สำคัญคือ กฎหมายที่บัญญัติออกมาไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถบังคับใช้ได้เลย เช่น การรวมกลุ่มกันประกอบการในรูปแบบนิติบุคคลนั้นเพื่ออาศัยข้อได้เปรียบในการประกอบการของนิติบุคคลทั้งจำนวนรถแท็กซี่ ที่มีได้มากกว่าบุคคลธรรมดาและการได้รับยกเว้นภาษีในกรณีของสหกรณ์เท่านั้น ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายและทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา อย่างเช่น ไม่มีการจดทะเบียนอู่รถแท็กซี่ เพราะถือว่าเป็นสมาชิกของนิติบุคคลรถแท็กซี่ ซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว และอาจจะทำให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพในการให้บริการได้ จึงมีความเห็นว่าควรจะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1.มาตรการระยะสั้น เมื่อยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ จึงต้องอาศัยกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันเท่าที่จะเอื้ออำนวยให้ 2.มาตรการระยะยาว ศึกษาวิจัยเพื่อที่จะบัญญัติกฎหมายซึ่งมีการกำหนดคำจำกัดความของบุคคลในธุรกิจรถแท็กซี่ และสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบระหว่างหน่วยงาน และบุคคลต่างๆ ในธุรกิจรถแท็กซี่ เพื่อนำมาบังคับใช้กับธุรกิจรถแท็กซี่โดยเฉพาะ en_US
dc.description.abstractalternative The relation between departments and interested persons who participates in Meter-Taxi Business in Bangkok can be classified into 2 types. First, the relation within the private sectors which consist of juristic persons, owners, drivers, customers and third persons. Secondly, the relation between governmental sectors and privates sectors concerning the supervision on the quality and security of services, entering into the business and cost of fares. The study reveals that the relation within the private sectors is currently governed by the Civil and Commercial Code because there are no specific laws to enforce to such cases, for example, Hire of property, Carriage, Principal and Agency. This situation leads to some difficulties in the aforementioned business on account of applying the incompatible provisions, particularly in a claim on Taxi-owners' liability to customers without any obligations or contractual agreements. Surprisingly, the Principal and Agency provisions is unsuitably brought to claim the Taxi-owners' liability but nevertheless there is no such link, in turn, is illegal and brings about ambiguity in standard practice. In a case of the supervision problem, the existent laws cannot be effectively applied in any circumstances. An example is that the juristic persons cunningly use the advantages use the being aggregate of individual taxi-drivers to be exempt from paying taxes in the form of co-operatives. This unacceptable gap does not comply with the objectives of the laws and possibly causes upcoming trouble, for instance there will be the avoidance of registration for the Taxi-owners because they are members of the registered juristic persons. Additionally, it can lead to the problem in a standard of services. Having said that, the solutions should be divided into 2 parts. 1. Short-term measure: Use the existent laws as far as they can be reasonably applied when there are no specific laws. 2. Long-term measure: Study and research the possibilities in order to legislate the laws which can define the meaning of various characteristics of the interested persons in Taxi-Meter Business, also the definition of rights, duty and the liabilities between departments and interested persons that is specifically applicable to Meter-Taxi Business. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject รถแท็กซี่มิเตอร์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en_US
dc.subject Taxicabs -- Thailand -- Bangkok -- Law and legislation en_US
dc.title ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจรถแท็กซี่มิเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร en_US
dc.title.alternative Legal problems relating to operating taxis meter services in Bangkok en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Sakda.T@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record