DSpace Repository

กฎราคาเดียวและสมมติฐานอำนาจซื้อระหว่างประเทศ : การทดสอบเชิงประจักษ์ในกรณีประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไพฑูรย์ วิบูลชุติกุล
dc.contributor.author ภูดินันท์ อดิทิพยางกูร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-12-14T02:38:08Z
dc.date.available 2020-12-14T02:38:08Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741302673
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71486
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
dc.description.abstract วัตถุประสงค์หลักของการศึกษา คือ การทดสอบสมมติฐานอำนาจซื้อระหว่างประเทศ (Purchasing Power Parity Hypothesis : PPP) และกฎราคาเดียวระหว่างประเทศ (Law of One Price : LOP) ในเชิงประจักษ์ด้วยข้อมูลรายเดือนช่วงปลายทศวรรษ 1970 ถึงเดือนตุลาคม ปี 1999 การทดสอบทำในรูปแบบที่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าของประเทศไทยกับราคาสินค้าของต่างประเทศที่แปลงมาอยู่ในรูปสกุลเงินบาทแล้ว ภายใต้มุมมองที่ประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก และวิธีการทดสอบทางเศรษฐมิติที่ใช้ คือ Cointegration Method การทดสอบสมมติฐานอำนาจซื้อระหว่างประเทศเป็นการทดสอบด้วยราคาสินค้ารวมของประเทศ ขณะที่การทอสอบสมมติฐานอำนาจซื้อระหว่างประเทศเป็นการทดสอบด้วยราคาสินค้ารวมของประเทศ ขณะที่การทดสอบกฎราคาเดียวเป็นการทดสอบด้วยราคาสินค้ารายกลุ่มสินค้าย่อยและรายชนิดสินค้า เกณฑ์หรือเงื่อนไขในการสนับสนุน PPP และ LOP คือ การที่ค่าสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่นของราคาสินค้าในประเทศไทยต่อราคาสินค้าของต่างประเทศที่แปลงมาอยู่ในรูปสกุลเงินบาทแล้วมีค่าอยู่ในช่วง 0.75-1.25 และค่า R² มีระดับอย่างน้อยเท่ากับ 0.8 พร้อมกันนี้ควรยอมรับว่ามี Cointegration Relationship ระหว่างราคาสินค้าในประเทศไทยกับราคาสินค้าของต่างประเทศที่แปลงมาอยู่ในรูปสกุลเงินบาทแล้ว การศึกษาพบว่าผลการทอสอบด้วยข้อมูลช่วงปลายทศวรรษ 1970 ถึงเดือนตุลาคม ปี 1999 สนับสนุน PPP 10 กรณีจากทั้งหมด 33 กรณีทดสอบ ผลการทดสอบ LOP ใน 20 กลุ่มสินค้าย่อย สนับสนุน LOP 27 กรณี จากทั้งหมด 151 กรณีทดสอบ ส่วนผลการทดสอบ LOP ใน 67 ชนิดสินค้า สนับสนุน LOP 33 กรณี จากทั้งหมด 169 กรณีทดสอบ ดังนั้นโดยรวมแล้วจึงสนับสนุน PPP และ LOP ได้ในระดับที่ไม่สูงนักและพบว่าผลการทดสอบอ่อนไหวต่อขนาดข้อมูลและช่วงเวลาที่ทดสอบ การทดสอบโดยใช้ข้อมูลที่มีความครอบคลุมช่วงเวลายาวนานมักให้ผลการทดสอบที่สนับสนุน PPP และ LOP มากกว่าข้อมูลช่วงสั้น ๆ การทดสอบด้วยข้อมูลขนาดเล็กในช่วงที่มีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในระดับสูงมักให้ผลการทดสอบปฏิเสธ PPP และ LOP ซึ่งบ่งชี้ถึงการปรับตัวที่เชื่องช้าของราคาสินค้าในประเทศไทยเพื่อที่จะตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าของต่างประเทศอย่างไรก็ตามยิ่งข้อมูลราคาสินค้าที่ทดสอบมีนิยามที่แคบและสอดคล้องกันระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศที่ทดสอบด้วยมากเท่าไร ความสัมพันธ์ที่ราคาสินค้าในไทยมีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงไปในอัตราเดียวกันกับราคาสินค้าของต่างประเทศที่ทดสอบด้วยก็ยิ่งมีความอ่อนไหวต่อช่วงเวลาและขนาดข้อมูลที่ทดสอบน้อยลงเพียงนั้น ประโยชน์ที่สำคัญของผลการศึกษา PPP และ LOP ต่อการวางนโยบายทางเศรษฐกิจ คือ การใช้ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าของประเทศไทยกับราคาสินค้าของต่างประเทศที่แปลงมาอยู่ในรูปสกุลเงินบาทแล้วเป็นเครื่องชี้ทิศทางโดยทั่วไปในระยะยาวของราคาสินค้าภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยในการประเมินผลกระทบและความเหมาะสมของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อราคาสินค้า
dc.description.abstractalternative The objective of this study is to test the purchasing power parity hypothesis (PPP) and the law of one price (LOP). The period of the empirical study is from the end of the 1970’s to October 1999. The data used were monthly data. The test was done by determining the relationship between Thai goods prices and foreign goods prices in terms of Thai baht. In the study we assumed that Thailand was a small country and we used the cointegration method for our econometric testing. The PPP test used aggregated price data while the LOP test used goods prices data disaggregated by commodity group and by individual commodity. To accept PPP and LOP, elasticity coefficients are specified to be in the range of 0.75-1.25 and R² to be at feast equal to 0.8 Furthermore, the cointegration relationship should not be rejected. The study results show that for the period during the end of 1970’s to October 1999, there were 10 cases out of totally 33 cases where the PPP hypothesis was accepted. For the LOP test using 20 groups of disaggregated goods prices data, there were 27 cases out of totally 151 cases where the LOP was accepted. In addition, we also used 67 commodity price data to examine the LOP hypothesis. There were 33 cases out of totally 169 cases where the LOP was accepted. Overall we do not find much evidence supporting the PPP or the LOP. Moreover, the results seem to be sensitive to periods of study and the sample size. Small sample size led to rejecting the PPP and the LOP because of the volatile exchange rates. Increased sample size enhanced the likelihood of accepting both the PPP and the LOP. All evidence indicates the slow adjustment process of Thai goods prices in response to the changes in exchange rates and foreign prices. However, the more disaggregated data we used, the more robust the PPP and the LOP tests were found. The potential benefit of this study is for helping guiding economic policies that need prediction of long-term directions of price changes. It is also helpful for conjecturing the impacts and the evaluation results of economic policies affecting commodity prices.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject อำนาจซื้อระหว่างประเทศ
dc.subject ราคา
dc.title กฎราคาเดียวและสมมติฐานอำนาจซื้อระหว่างประเทศ : การทดสอบเชิงประจักษ์ในกรณีประเทศไทย
dc.title.alternative Law of one price and purchasing power parity hypothesis : an empirical test in the case of Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record