Abstract:
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาการมีชีวิตรอด อัตราการกลับเป็นซ้ำ และอัตราการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูกสองกลุ่ม ที่มีและไม่มีความผิดปกติของยีน p I6 ที่เกิดจากเมททิเลชั่น วิธีการดำเนินการศึกษาวิจัย ผู้ป่วยโรคมะเร็งโพรงหลังจมูกที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา นำมาตรวจหาความผิดปกติของยีน pI6 ชนิดเมททิเลชั่นในเซลล์มะเร็งด้วยวิธี MS-PCR โดยผู้ป่วยถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือผู้ป่วยที่ตรวจพบและไม่พบความผิดปกติของยีนพี 16 ที่เกิดจากเมททิเลชั่น และเปรียบเทียบความแตกต่างกันของระยะเวลาการมีชีวิตรอดอัตราการกลับเป็นซ้ำ และอัตราการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มด้วยวิธีทางสถิติ รวมทั้งดูปัจจัยพยากรณ์โรคทางคลินิกอื่นๆ จาการวิเคราะห์ตัวแปรตัวเดียวและหลายตัว ผลการศึกษา ไม่มีความแตกต่างกันของระยะเวลาการมีชีวิตรอดโดยรวม อัตราการตอบสนอง และอัตราการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่ามัธยฐานของระยะเวลาการมีชีวิตรอดโดยรวมเท่ากับ 31.35 และ 28.40 เดือน ในกลุ่มที่ไม่มีและมีความผิดปกติของยีน P 16 ตามลำดับ (ค่า p=0.054) อัตราการตอบสนองต่อการรักษาเท่ากับร้อยละ 100 และร้อยละ 82.8 ตามลำดับ (ค่า p=0.053) และไม่มีความแตกต่างกันของอัตราการกลับเป็นซํ้าของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่า p=0.071) คือ ร้อยละ 16 และร้อยละ 23.8 ตามลำดับ แต่พนว่าค่ามัธยฐานของระยะเวลาการมีชีวิตรอดโดยปราศจากโรค มี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 29.00 และ 23.20 เดือนในกลุ่มที่ไม่มีและมีความผิดปกติของยีน P 16 ตามลำดับ (ค่า p=0.03) จากการวิเคราะห์ตัวแปรตัวเดียวและวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัว พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการมีชีวิตรอด คือเป็นปัจจัยพยากรณ์โรค ได้แก่ การมีหรือไม่มีความผิดปกติของยีน p l6 ที่เกิดจากเมททิเลชั่น และ ระยะเวลาของอาการและอาการแสดงที่น้อยกว่าหรือมากกว่า 2 เดือน สรุป ความผิดปกติของยีน p l6 ที่เกิดจากเมททิเลชั่น เป็นปัจจัยพยากรณ์การมีชีวิตรอดและระยะเวลาการมีชีวิตรอดโดยปราศจากโรคได้ ระยะเวลาการมีชีวิตรอดโดยปราศจากโรคของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดย พบว่ามัธยฐานของระยะเวลาการมีชีวิตรอดโดยปราศจากโรคในกลุ่มที่ไม่มีความผิดปกติของยีน P 16 ยาวนานกว่ากลุ่มที่มีความผิดปกติของยีน p l6 ที่เกิดจากเมททิเลชั่น แต่ความผิดปกติของยีน p l6 ที่เกิดจากเมททิเลชั่น ไม่สามารถใช้เป็นปัจจัยทำนายการตอบสนอง และปัจจัยพยากรณ์การกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคมะเร็งโพรงหลังจมูก