DSpace Repository

ความสำคัญของความผิดปกติของยีนพี 16 ที่เกิดจากเมททิเลชั่นในการเป็นปัจจัยพยากรณ์โรคและปัจจัยทำนายการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก

Show simple item record

dc.contributor.advisor นรินทร์ วรวุฒิ
dc.contributor.advisor อภิวัฒน์ มุทิรางกูร
dc.contributor.author สมชัย ลิมปการณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-12-18T03:36:42Z
dc.date.available 2020-12-18T03:36:42Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741307497
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71634
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาการมีชีวิตรอด อัตราการกลับเป็นซ้ำ และอัตราการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูกสองกลุ่ม ที่มีและไม่มีความผิดปกติของยีน p I6 ที่เกิดจากเมททิเลชั่น วิธีการดำเนินการศึกษาวิจัย ผู้ป่วยโรคมะเร็งโพรงหลังจมูกที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา นำมาตรวจหาความผิดปกติของยีน pI6 ชนิดเมททิเลชั่นในเซลล์มะเร็งด้วยวิธี MS-PCR โดยผู้ป่วยถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือผู้ป่วยที่ตรวจพบและไม่พบความผิดปกติของยีนพี 16 ที่เกิดจากเมททิเลชั่น และเปรียบเทียบความแตกต่างกันของระยะเวลาการมีชีวิตรอดอัตราการกลับเป็นซ้ำ และอัตราการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มด้วยวิธีทางสถิติ รวมทั้งดูปัจจัยพยากรณ์โรคทางคลินิกอื่นๆ จาการวิเคราะห์ตัวแปรตัวเดียวและหลายตัว ผลการศึกษา ไม่มีความแตกต่างกันของระยะเวลาการมีชีวิตรอดโดยรวม อัตราการตอบสนอง และอัตราการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่ามัธยฐานของระยะเวลาการมีชีวิตรอดโดยรวมเท่ากับ 31.35 และ 28.40 เดือน ในกลุ่มที่ไม่มีและมีความผิดปกติของยีน P 16 ตามลำดับ (ค่า p=0.054) อัตราการตอบสนองต่อการรักษาเท่ากับร้อยละ 100 และร้อยละ 82.8 ตามลำดับ (ค่า p=0.053) และไม่มีความแตกต่างกันของอัตราการกลับเป็นซํ้าของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่า p=0.071) คือ ร้อยละ 16 และร้อยละ 23.8 ตามลำดับ แต่พนว่าค่ามัธยฐานของระยะเวลาการมีชีวิตรอดโดยปราศจากโรค มี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 29.00 และ 23.20 เดือนในกลุ่มที่ไม่มีและมีความผิดปกติของยีน P 16 ตามลำดับ (ค่า p=0.03) จากการวิเคราะห์ตัวแปรตัวเดียวและวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัว พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการมีชีวิตรอด คือเป็นปัจจัยพยากรณ์โรค ได้แก่ การมีหรือไม่มีความผิดปกติของยีน p l6 ที่เกิดจากเมททิเลชั่น และ ระยะเวลาของอาการและอาการแสดงที่น้อยกว่าหรือมากกว่า 2 เดือน สรุป ความผิดปกติของยีน p l6 ที่เกิดจากเมททิเลชั่น เป็นปัจจัยพยากรณ์การมีชีวิตรอดและระยะเวลาการมีชีวิตรอดโดยปราศจากโรคได้ ระยะเวลาการมีชีวิตรอดโดยปราศจากโรคของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดย พบว่ามัธยฐานของระยะเวลาการมีชีวิตรอดโดยปราศจากโรคในกลุ่มที่ไม่มีความผิดปกติของยีน P 16 ยาวนานกว่ากลุ่มที่มีความผิดปกติของยีน p l6 ที่เกิดจากเมททิเลชั่น แต่ความผิดปกติของยีน p l6 ที่เกิดจากเมททิเลชั่น ไม่สามารถใช้เป็นปัจจัยทำนายการตอบสนอง และปัจจัยพยากรณ์การกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคมะเร็งโพรงหลังจมูก
dc.description.abstractalternative Objective To determine the significance of p I6 methylation as prognostic factor of survival and recurrence and predictive factor of response in nasopharyngeal carcinoma patients. Method Between 1994 and 1999, 55 patients were selected from nasopharyngeal carcinoma patients who were diagnosed by tissue biopsy with complete clinical data. The patients were classified into two groups, with and without p l6 methylation, detected by MS-PCR from tumor's DNA extract. Survival times, recurrence rates and response rates were analyzed for difference determination between groups. Univariate and multivariate analysis were also performed to determine dependent and independent prognostic factors in NPC. Results Overall survival times, response rates and recurrence rates in both groups were not significant differrent. The median overall survival time were 31.35 and 28.40 months in the patients without and with p I6 methylation, respectively (p=0.054). The response rates were 100% and 82.8% in the patients without and with p I6 methylation, respectively (p=0.053). The recurrence rates, 16% and 23.8% in each group, that were not different (p=0.071). But median progression-free survival times in both groups were significant different, that were 29.00 and 23.20 months in the patients without and with p I6 methylation, respectively (p=0.03). From univariate and multivariate analysis, p I6 methylation and duration of symptoms were found as independent prognostic factors in NPC. Conclusion PI6 methylation was found as independent prognostic factor in NPC. The median progressionfree survival times in both groups were significant different, which in the patients without p I6 methylation was longer than in the patients with p I6 methylation. PI6 methylation was not found as prognostic factors of recurrence and predictor of response.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject คอหอยส่วนจมูก -- มะเร็ง
dc.subject ยีนต้านมะเร็ง
dc.subject พี 16 (ยีนต้านมะเร็ง)
dc.subject เมททิเลชัน
dc.title ความสำคัญของความผิดปกติของยีนพี 16 ที่เกิดจากเมททิเลชั่นในการเป็นปัจจัยพยากรณ์โรคและปัจจัยทำนายการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก
dc.title.alternative The significance of p16 methylation as prognostic factor and predictive factor of response inpatients with nasopharyngeal carcinoma
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record