DSpace Repository

อิทธิพลของมิวสิกวิดีโอในฐานะโฆษณาแฝง ที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมของวัยรุ่น

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิฎราธร จิรประวัติ
dc.contributor.author สมคิด ศรัทธาสมบูรณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-12-18T04:44:06Z
dc.date.available 2020-12-18T04:44:06Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9743467076
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71637
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของมิวสิกวิดีโอเพลงไทยสากลที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมของวัยรุ่นโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิเทศศาสตร์และจิตวิทยา 4 ท่าน รวมทั้งผู้สร้างสรรค์มิวสิกวิดีโอ 3 ท่านเพื่ออาศัยผลการวิเคราะห์มิวสิกวิดีโอที่ศึกษาร่วมเป็นกรอบในการเทียบผลการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นชายหญิงจำนวน 32 คน อายุ 18-21 ปีที่ได้รับการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่มโดยอาศัยมิวสิกวิดีโอซึ่งใด้รับความนิยมสูงสุดของครึ่งปีหลังของปี 2542 เป็นเครื่องมือในการศึกษาจำนวน 5 เรื่อง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ามิวสิกวิดีโอมืผลต่อการเลียนแบบของกลุ่มตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ 1. การเลียนแบบเชิงนามธรรมซึ่งเป็นผลกระทบต่อทัศนคติ คือ การเกิดความคิดสะท้อนจากเนื้อหาที่มิวสิกวิดีโอนำเสนอในด้านค่านิยมหรือวัฒนธรรม 2. การเลียนแบบเชิงรูปธรรมซึ่งเป็นผลกระทบต่อพฤติกรรม คือ การแสดงพฤติกรรมตามอย่างเนื้อหาที่มิวสิกวิดีโอนำเสนอ เช่น การเลียนแบบการแต่งกาย แต่งหน้า ทำผมตามศิลปินนักร้อง นอกจากนั้นมิวสิกวิดีโอยังมีส่วนที่ช่วยให้เกิดการซื้อสินค้าเทปเพลงด้วย ระดับอิทธิพลของมิวสิกวิดีโอจะขึ้นอยู่กับลักษณะการเปิดรับสาร (Media Exposure) ของผู้รับชมแต่ละบุคคล รวมทั้งการเข้าถึงกลุ่มผู้รับชมของมิวสิกวิดีโอและความถี่ในการเผยแพร่ ซึ่งเนื้อหาที่แฝงอยู่ในมิวสิกวิดีโอมีทั้งเชิงสร้างสรรค์หรือเชิงบวกและเชิงทำลายหรือเชิงลบ
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to study the influence of music videos on attitudes and behaviors of adolescence. In-depth interviews with four experts in the fields of mass communication and psychology as well as three music video creative men were conducted. Eight focus group discussions of 32 male and female adolescence, aged between 18-21 were conducted using five most popular music videos recorded during the second half of 1999 as a research tool. Results indicate that music videos have some impacts on the samples’ imitation into 2 forms: 1) intangible imitation which influences samples’ attitudes and beliefs, and 2) tangible imitation which results in samples’ behaviors such as the influence on their clothing, make-ups, and hairstyle, as well as their purchase of musical products. The level of music videos’ influence depends on individual’s media exposure including penetration and coverage of music video, and frequency of broadcasting. Music videos’ context includes positive and negative messages.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject มิวสิกวิดีโอ
dc.subject เพลง
dc.subject สังคมประกิต
dc.subject สื่อมวลชน
dc.subject วัยรุ่น
dc.title อิทธิพลของมิวสิกวิดีโอในฐานะโฆษณาแฝง ที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมของวัยรุ่น
dc.title.alternative The influence of music videos as disguised advertising on attitudes and behaviors of adolescence
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การโฆษณา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record