Abstract:
Pseudomonas sp. สายพันธุ A41 คัดแยกได้จากน้ำทะเลในอ่าวไทย มีความสามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพสูงสุดในภาวะที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นแหล่งคาร์บอน และใช้ NH4N03 เป็นแหล่งไนโตรเจน ในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวกำหนดสูตรโดยมีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจนเท่ากับ 10.29 ค่าความเป็นกรดเป็นด่างเท่ากับ 7.0 บ่มที่อุณหภูมิห้อง (30±℃), เขย่าที่ 200 รอบต่อนาที เป็นเวลา 72 ชั่วโมง มีค่า production yield (YP/S) 0.125 กรัมต่อกรัม ซึ่งมีค่ามากกว่าผลิตโดยใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นแหล่งคาร์บอนซึ่งมีค่า production yield (YP/S) 0.113 กรัมต่อกรัม เมื่อนำสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้ทำให้บริสุทธิ์ด้วยการสกัดโดยตัวทำละลายอินทรีย์พบว่ามีค่า critical micelle concentration (CMC) เท่ากับ 50 มก.ต่อ ลิตร สามารถลดแรงตึงผิวที่ค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 2-12 เสถียรที่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 2-12 เสถียรต่อความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์มากกว่า 5.0% ที่อุณหภูมิ 100℃นาน 15 ชั่วโมง และ 121℃ นาน 240 นาที สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่บรีสุทธิ์บางส่วนสามารถเกิดอิมัลชั่นกับสารไฮโดรคาร์บอนได้หลากหลายเมื่อวัดค่าอิมัลชั่น อินเด็กช์ และอิมัลชั่นจะเสถียรตลอด 30 วันกับ ไดคลอโรมีเทน เฮกเซน โทลูนอีน ไชลีน คลอโรฟอร์ม และน้ำมันพาราฟิน และมีความสามารถในการละลายได้กับตัวทำละลายอินทรีย์หลายชนิดหากละลายได้ดีที่สุดกับคลอโรฟอร์มและเมทานอล และไม่ละลายในเฮกเซน ยิ่งไปกว่านั้นสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่บริสุทธิ์บางส่วนมีความสามารถในการกระจายน้ำมันไม่ด้อยไปกว่าสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ เมื่อทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีโครมาโตกราฟีเและ ทำเคมีวิเคราะห์ด้วย LC-MS และ IR spectrum สามารถกล่าวได้ว่าสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้เป็นแรมโนลิปิด