dc.contributor.advisor |
นิพันธ์ วิเชียรน้อย |
|
dc.contributor.author |
อุทุมพร จิ๋วราษฎร์อำนวย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
|
dc.date.accessioned |
2021-02-02T01:54:38Z |
|
dc.date.available |
2021-02-02T01:54:38Z |
|
dc.date.issued |
2530 |
|
dc.identifier.isbn |
9745682225 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72048 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
|
dc.description.abstract |
เขตพระโขนงเป็นเขตหนึ่งที่มีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มจะขยายตัวทาง ด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น และจากการที่โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทจำเป็นต้องอาศัยพื้นที่เป็นที่ตั้งของสถานประกอบการ ซึ่งเมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจเลือกที่ตั้งบริเวณใดก็เป็นการลำบากในการโยกย้าย ดังนั้น การเลือกพื้นที่จึงเป็นปัจจัยหลักที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง แต่ทว่า การกระจายตัวของโรงงานมักจะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้น ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม การทราบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่ตั้งของโรงงาน จึงมีประโยชน์โดยตรงต่อการกำหนดเขตอุตสาหกรรม หรือปรับปรุงย่านอุตสาหกรรมที่มีอยู่ให้เหมาะสม การศึกษาประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลโรงงานที่มีแรงงาน 7 คนขึ้นไปในทุกแขวงของเขตพระโขนง รวม 1, 303 แห่ง และสุ่มตัวอย่างโรงงานอุตสาหกรรมเหล่านี้ จำนวน 400 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามเพื่อทราบถึงลักษณะสภาพทั่วไปของโรงงานเกี่ยวกับองค์ประกอบทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และพฤติกรรมของผู้ประกอบการ ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ใช้แนวความคิด 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ การประหยัดภายนอกในตัวเมือง การ ประหยัดภายนอกในอุตสาหกรรม และการเลือกที่ตั้งโดยไม่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจ ซึ่งทั้ง 3 แนวความคิดนี้ ประกอบด้วยปัจจัย 11 ตัวที่ใช้ศึกษา ได้แก่ การคมนาคมขนส่ง แรงงาน สาธารณูปโภค การธนาคาร ตลาด วัตถุดิบ ราคาที่ดิน ทำมาแต่เดิม ใกล้ญาติพี่น้อง เหตุผลส่วนตัว และใกล้โรงงานที่ผลิตสินค้าคล้ายคลึงกัน ผลการศึกษา พบว่า แนวความคิดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพระโขนง อันดับแรก คือ การประหยัดภายนอกในตัวเมือง รองลงมาได้แก่ การประหยัดภายนอกในอุตสาหกรรม และการเลือกที่ตั้งโดยไม่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจ สำหรับปัจจัยต่าง ๆ พบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญ 5 อันดับแรก คือ การคมนาคมขนส่ง ตลาด วัตถุดิบ แรงงาน และราคาที่ดิน นอกจากนี้ ยังได้ทำการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติเชิงอิสระหรือไม่อิสระ โดยวิธีไคว์-สแควร์ ระหว่าง ปัจจัยต่าง ๆ กับ ตัวแปรด้านแขวงต่าง ๆ ในเขตพระโขนง ขนาดของโรงงาน และประเภทอุตสาหกรรม ผลการทดสอบพบว่า ปัจจัยต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับขนาดโรงงาน แต่เป็นอิสระกับแขวงและประเภทอุตสาหกรรม ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงนำความรู้จากผลการศึกษาดังกล่าว ประกอบกับมาตรการต่าง ๆ ทางด้านอุตสาหกรรมของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร มาเสนอแนะแนวทางเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไว้ 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 สำหรับอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม ให้พัฒนาการใช้ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กรณีที่ 2 จัดย่านอุตสาหกรรมหรือ เขตสำหรับอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่ ให้ดำเนินการในพื้นที่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งทั้ง 2 กรณี ควรจะมีมาตรการดำเนินการควบคู่พร้อมกันไป จึงจะทำให้การใช้ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย |
|
dc.description.abstractalternative |
Industrial expansion in the Phra Khanong district, in south-eastern Bangkok, is becoming increasingly significant as many businesses require more and more space and when site has been selected it is very difficult to move. However, there are environmental considerations which cannot be overlooked and which impose constraints on such expansion. A knowledge of the factors influencing the location of industrial premises would therefore be of help in planning efforts. An empirical survey was conducted of 1,303 firms, with seven or more employees, of all Khwangs in the Phra Khanong district. A questionnaire was prepared for 400 selected firms to identify the physical, economic, social and behavioral components governing the selection of location. The results of the study revealed that the three concepts on which the study was based were, in order of importance, urbanisation economies, localisation economies and footloose location. Factors influencing these concepts included transportation, labour, infrastructure, finance, market, row materials, land prices, old businesses, proximity to family, personal reasons and proximity to other businesses specialising in the same product. The factors exerting the greatest influence were found to be transportation, market, raw materials supply, labour and land prices. Contingency tables and chi-square test were used for the analysis. It is suggested that if the Government wish to avoid traffic and other problems in Bangkok it should consider factors which influencing location of industry. Use can be made by planners in order to plan and develop industrial landuse. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.160 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
โรงงาน -- สถานที่ตั้ง -- ไทย |
|
dc.subject |
อุตสาหกรรม -- สถานที่ตั้ง -- ไทย |
|
dc.subject |
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
|
dc.subject |
Factories -- Location -- Thailand |
|
dc.subject |
Industrial location -- Thailand -- Bangkok |
|
dc.subject |
Land use -- Thailand -- Bangkok |
|
dc.title |
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตพระโขนง |
|
dc.title.alternative |
Major factors influencing location of industry in Phra Khanong District |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การวางแผนภาคและเมือง |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.1987.160 |
|