DSpace Repository

ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิต-สังคม กับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดวงใจ กสานติกุล
dc.contributor.author ภัทรีนาฎ บุญชู
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทย์ศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-02-04T03:34:15Z
dc.date.available 2021-02-04T03:34:15Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741313322
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72086
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิต-สังคม กับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1,700 คน แบ่งเป็นชาย 799 คน หญิง 901 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดภาวะซึมเศร้า CES - D Scale, แบบสอบถามการรับรู้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และแบบสอบถามการปรับตัวทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi - square test, t-test และ Multiple linear regression โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS / FW ผลการวิจัยพบว่า 1. ความชุกของภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เมื่อใช้จุดตัดคะแนน > 16 เท่ากับร้อยละ 60.5 ความชุกในนักเรียนหญิงมากกว่านักเรียนชาย คือ ร้อยละ 63.4 และร้อยละ 57.2 ตามลำดับ และเมื่อใช้จุดตัดคะแนนที่ > 22 พบความชุกร้อยละ 28.8 คิดเป็นนักเรียนหญิงร้อยละ 31.2 และนักเรียนชายร้อยละ 26.2 2. นักเรียนร้อยละ 25.6 เคยคิดฆ่าตัวตายและร้อยละ 5.7 เคยพยายามฆ่าตัวตาย นักเรียนหญิงมีความคิดและการพยายามฆ่าตัวตายมากกว่านักเรียนชายคือร้อยละ 62.84 และ 37.16 ของความคิดฆ่าตัวตายและร้อยละ 58.76 และ 41.24ของการพยายามฆ่าตัวตาย 3. ปัจจัยด้านเพศ ผลการเรียน จำนวนพี่น้อง เศรษฐานะของครอบครัวและการอยู่ร่วมกับบิดา-มารดาจริง มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .001 4. นักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้าและไม่มีภาวะซึมเศร้า มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยนักเรียนที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสัมพันธ์ในครอบครัวสูงกว่านักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า 5. นักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้าและไม่มีภาวะซึมเศร้ามีคะแนนเฉลี่ยของการปรับตัวทางสังคม (การปรับตัวกับเพื่อนและครู) ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า มีค่าคะแนนเฉลี่ยในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและครูสูงกว่านักเรียนที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to study the prevalence and psycho - social factors related to depression of Grade 10 students in Ubonrajathanee. Samples were 1,700 Grade 10 students 1 799 males and 901 females. The measurements included CES - D Scale family relationship perception and social adjustment questionnaires. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, Chi - square test, t - test and Multiple linear regression with SPSS / FW programe. The results of this study were 1. The prevalence of depression at the cut off score > 16 in Grade 10 students was 60.5 %. The prevalence in female was higher than in male (63.4 % V.S. 57.2 %). At the cut off scores > 22 the prevalence was found 28 .8%, 31.2% เท female and 26.2 in male. 2. 25.6 % of the students had suicidal idea and 5.7 % of the students had suicidal behaviors. Female students had suicidal idea and suicidal behaviors more than in male students (62.84 % V.S. 37.16% of suicidal idea and 58.76 % V.S. 41.24% of suicidal behaviors). 3. The factors 1 age 1 grade 1 number of sibling, economic status and living with parents were related to depression significantly (p < .05,.01). 4. Depressed and nondepressed students had the family relationship perception mean scores differ significantly (P < .001). Nondepressed students had family relationship perception scores higher than depressed students. 5. Depressed and nondepressed students had the social adjustment scores (to friend and teacher) differ significantly (p < .001). Nondepressed students had the social adjustment scores higher than in depressed students. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject วัยรุ่น en_US
dc.subject ความซึมเศร้า en_US
dc.subject ความซึมเศร้าในวัยรุ่น en_US
dc.subject การฆ่าตัวตาย en_US
dc.title ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิต-สังคม กับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี en_US
dc.title.alternative The Prevalence of depression and the relationship between psycho-social factors and depression of grade 10 students in Ubonrajathanee en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สุขภาพจิต en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Duangjai.K@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record