DSpace Repository

ผลกระทบที่ประเทศไทยจะได้รับในการเข้าเป็นภาคีธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ : ศึกษากรณีความร่วมมือระหว่างประเทศและการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุผานิต เกิดสมเกียรติ
dc.contributor.advisor วันชัย รัจนวงศ์
dc.contributor.author อัญชิสา เต็มพงศ์พัฒนา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-02-06T09:58:18Z
dc.date.available 2021-02-06T09:58:18Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741311109
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72169
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en_US
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาธรรมนูญอาญาระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินคดีกับบุคคลที่ได้กระทำการก่ออาชญากรรมที่มีความร้ายแรงมาก โดยที่ผ่านมาในอดีตนั้น มีหลายครั้งที่บุคคลผู้กระทำความผิดเหล่านี้ไม่ได้รับการลงโทษ หรือมีการนิรโทษกรรมตนเองเพื่อให้พ้นโทษ การจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศจะมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการนำตัวบุคคลผู้กระทำความผิดเหล่านี้มาดำเนินคดี โดยมีเงื่อนไขว่าศาลอาณาระหว่างประเทศจะดำเนินการรับพิจารณาคดีในกรณีที่รัฐที่มีเขตอำนาจศาลเหนือบุคคลนั้นไม่ตั้งใจที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษหรือไม่สามารถที่จะดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดได้ จากเหตุผลที่ว่าการกระทำอาชญากรรมร้ายแรงต่อประชาคมระหว่างประเทศ ไม่อาจหลุดพ้นจากการลงโทษ และการฟ้องร้องดำเนินคดีเหล่านี้จะได้รับการประกันในระดับมาตรฐานของประเทศ รวมทั้งเป็นการเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงได้รับแรงผลักดันให้ก่อตั้งขึ้นโดยที่ ประชุมผู้แทนทางการทูตของประเทศต่าง ๆ ในการประชุมสรุปการพิจารณารับร่างธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยเสียงข้างมากของที่ประชุม ธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศนี้บัญญัติเงื่อนไขการก่อตั้งศาลนี้ว่าจะต้องได้รับสัตยาบันจากรัฐภาคี ครบ 60 ประเทศ เสียก่อนศาลจึงจะดำเนินการได้ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมดังกล่าว และได้ดำเนินการลงนามในธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศนี้แล้ว การจะให้สัตยาบันแก่ธรรมนูญศาลนี้ ประเทศไทยจะต้องตระหนักและประเมินถึงพันธกรณีทั้งหลายอันจะเกิดขึ้นจากบทบัญญัติของธรรมนูญแห่งกรุงโรมว่าด้วยการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ รวมถึงพันธกรณีที่จะต้องให้ความร่วมมือกับศาล ไม่เพียงแต่มีพันธกรณีที่จะต้องมีความตกลงช่วยเหลือกันในด้าน กฎหมาย และการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ประเทศไทยจะต้องแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนแก่องค์การระหว่างประเทศได้ แต่ประเทศไทยจะต้องพินิจพิเคราะห์ถึงกฎหมายทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องเพราะว่ามีผลกระทบทางกฎหมายหลาย ๆ ประการเกี่ยวข้องกับการที่จะเป็นภาคีของธรรมนูญนี้เช่น ประเด็นเกี่ยวกับความคุ้มกันของประมุขของรัฐ ประเด็นเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลของประเทศไทย ประเด็กระบวนการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยสอดคล้องกับธรรมนูญแห่งกรุงโรมว่าด้วยการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศรวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ประเทศไทยจะต้องพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าวจากการเป็นรัฐภาคีก่อนที่จะให้สัตยาบันแก่ธรรมนูญแห่งกรุงโรมว่าด้วยการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ. en_US
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to study the Rome Statute of International Criminal Court which established the jurisdiction over persons for the most serious crimes of international concern. Since long time the persons who committed serious crimes often have had impunity or amnesty themselves. This International Criminal Court has the objective to have jurisdiction on those persons with the pre - condition that the State which has jurisdiction over the case unwilling or unable to exercise the jurisdiction. For the reasons that the most serious crimes of concern to the international community as a whole must not go unpunished and that their effective prosecutions must be ensured by measures at the national level and by enhancing international cooperation, the establishment of International Criminal Court had the majority vote in the diplomatic conference concludes for the Rome Statute of International Criminal Court. The Rome Statute is subjected to ratification, acceptance or approval by 60 ratification States before entry into force. Thailand has also joined in that diplomatic conference and has been one of the signatory states. Going to be a ratification state, Thailand will consider and evaluate all obligations setting up by the Rome statute including the obligation to corporate to The Court. Not only the obligation to corporate on mutual legal assistance and extradition, Thailand shall review the extradition law for corporation with the International Organization but also consider to all forms of law because there are more law impacts concerning this matter, such as ะ the immunity of the Head of State, the jurisdiction of Thai Court 1the procedures for developing and improving Thai law in accordance with the Rome Statute and the State security. Thailand should have to consider and analyze for all impacts before going to be the membership of the Rome Statute of International Criminal Court. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การส่งผู้ร้ายข้ามแดน en_US
dc.subject กฎหมายระหว่างประเทศ en_US
dc.subject กระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ -- ศาลอาญา en_US
dc.title ผลกระทบที่ประเทศไทยจะได้รับในการเข้าเป็นภาคีธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ : ศึกษากรณีความร่วมมือระหว่างประเทศและการส่งผู้ร้ายข้ามแดน en_US
dc.title.alternative Impact of Thai membership in the International Criminal Court : a case study of International Cooperation and Extradition en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Suphanit.K@chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record