Abstract:
เขตพญาไทเป็นเขตชั้นในเขตหนึ่ง ที่ได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวของกรุงเทพมหานคร ทั้งทาง ด้านเศรษฐกิจและการใช้ที่ดิน ทำให้การใช้ที่ดินมีความหนาแน่นและเข้มข้นสูงขึ้น ซึ่งถ้าไม่มีการควบคุม การใช้ที่ดินในแนวทางที่ถูกต้องแล้วจะก่อให้เกิดปัญหาทั้งด้านการใช้ที่ดิน การจราจรและสภาพแวดล้อม เมื่อ ปัญหาดังกล่าวมาพิจารณาประกอบกับนโยบายและแผนงานของรัฐ เพื่อเป็นกรอบในการวางแนวทางการใช้ที่ดิน เขตพญาไท ในปี พ.ศ.2544 สำหรับรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นถึง 400,000 คน อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องการพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาในกิจกรรมประเภทต่าง ๆ ได้แก่ พาณิชยกรรม 1,805 ไร่ แบ่งเป็นแบบอาคารสูงและแนวราบ ที่อยู่อาศัย 7,979 ไร่ แบ่งเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นสูง 200 คน/ไร่ และหนาแน่น 50 คน/ไร่ การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ใช้เทคนิค Potential Surface Analysis (PSA.) การกำหนดทางเลือกของแนวทางการใช้ที่ดิน ใช้รูปแบบเมืองขนาดใหญ่ 3 แนวความคิด ได้แก่ Center, Corridor และ Dispersion Concept จากการประเมินผลทางเลือกโดยวัดการตอบสนองวัตถุประสงค์ปรากฏว่าทางเลือกตามแนวความคิด Corridor ได้รับเลือกเป็นแนวความคิดหลักที่ใช้ในการวางแนวทางการใช้ที่ดิน แนวทางการใช้ที่ดิน เขตพญาไท พ.ศ.2544 มีการกำหนดทั้งการใช้ที่ดินและโครงข่ายถนนโดยกำหนดให้มีการใช้ที่ดินทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่ พาณิชยกรรมแบบอาคารสูง (พ.1) พาณิยกรรม(พ.2) ที่อยู่อาศัยหนาแน่นสูง (ย. 4) ที่อยู่อาศัยหนาแน่น (ย.3) สถาบันราชการ ศาสนสถาน สถานพักผ่อนหย่อนใจ สถานศึกษา ส่วนโครงข่ายถนนเห็นควรเชื่อมโยงถนนซอยต่าง ๆ ที่สำคัญ เพื่อช่วยระบายการจราจร นอกจากนี้ ยังได้เสนอมาตรการควบคุมการใช้ที่ดินและอาคาร ให้สอดคล้องกัน เพื่อให้แนวทางการใช้ที่ดิน เขตพญาไท พ.ศ. 2544 เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างจริงจัง