DSpace Repository

วรรณกรรมประเภทกลอนสวดภาคกลาง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา
dc.contributor.author ตรีศิลป์ บุญขจร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2021-02-11T06:30:56Z
dc.date.available 2021-02-11T06:30:56Z
dc.date.issued 2530
dc.identifier.isbn 9745683426
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72231
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ด.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์วรรณกรรมประเภทกลอนสวดของภาคกลาง ที่เป็นเอกสารต้นฉบับตัวเขียนในแผนกเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติ ทั้งในด้านรูปแบบเนื้อหา ได้แก่ ด้านวัฒนธรรม ทางวรรณศิลป์ ประเภท ที่มา องค์ประกอบและลักษณะร่วมของวรรณกรรมกลอนสวด รวมทั้งพัฒนาการโดยเน้นศึกษาในฐานะที่เป็นประเภทวรรณกรรม (Genre) ประเภทหนึ่ง ผลการวิจัยได้ข้อสรุปว่า กลอนสวดเป็นวรรณกรรมคำกาพย์ที่นำมาสวดอ่านเป็นทำนองสวดแต่งด้วยกาพย์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีท่วงทำนองสวดอ่านแตกต่างกันไปเพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง และอารมณ์ในท้องเรื่อง เนื้อเรื่องของกลอนสวดส่วนใหญ่เกี่ยวกับพุทธศาสนา กลอนสวดมีความสัมพันธ์กับประเพณีการสวดอ่านวรรณกรรมของไทย จากการศึกษาเปรียบเทียบประเพณีการอ่านวรรณกรรมของภาคกลางกับภาคอื่น ๆ พบว่า มีลักษณะร่วมกันคือ กลอนสวดมีกำเนิดจากวัด ต่อมาจึงนิยมนำไปสวดอ่านตามบ้านเรือน เมื่อชาวบ้านว่างจากการงานหรือในงานพิธี เช่น งานศพ ผู้สวดเดิมเป็นพระ ต่อมามีฆราวาสที่เคยบวชเรียนเป็นผู้สวด ด้านฉันทลักษณ์และท่วงทำนองสวดนิยมแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค วรรณกรรมกลอนสวดของภาคกลางอาจจำแนกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทสอนคติธรรมโดยตรง และประเพณีสอนคติธรรมโดยอ้อม กลอนสวดประเภทสอนคติธรรมโดยตรง นำเนื้อเรื่องมาจากพระสูตรต่าง ๆ ในพระไตรปิฎก กลอนสวดประเภทสอนคติธรรมโดยอ้อม นำเนื้อเรื่องมาจากนิบาตชาดกและชาดกนอกนิบาต อรรถกถาธรรมบท นิทานพื้นบ้านและวรรณกรรมอื่น ๆ และยังมีกลอนสวดที่แต่งเลียนแบบชาดกอีกด้วย กลอนสวดในฐานะประเภทวรรณกรรมมีกติกาวรรณกรรม ได้แก่ การเป็นวรรณกรรมคำสอนของวัด การดำเนินเรื่องแสดงถึงแนวคิดที่ว่าชีวิตถูกกำหนดแล้วด้วยบุรพกรรม ชีวิตประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสองด้าน คือทุกข์และสุข การเล่าเรื่องโดยให้ผู้ฟังรู้เรื่องล่วงหน้าของตัวละคร การใช้กลวิธีให้ผู้สวดเป็นผู้เล่าเรื่องและเล่าเรื่องโดยตัดสลับไปมาระหว่างโลกแห่งจินตนาการและโลกแห่งความจริง นอกจากนี้อนุภาคในกลอนสวดยังมีลักษณะเป็นสหบทกล่าวคือ เป็นการผสมผสานอนุภาคจากวรรณกรรมเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเคยได้ยินได้ฟังกันมาแล้ว วรรณกรรมกลอนสวดมีพัฒนาการเป็นสองยุค คือ ยุคความเก่าและยุคความใหม่ กลอนสวดยุคความเก่ามักมีโครงเรื่องเดี่ยว เสนอแนวคิดชัดเจน มีขนาดไม่ยืดยาว กลอนสวดยุคความใหม่นำเนื้อเรื่องเก่ามาดัดแปลงแต่งเติมเสริมต่อ เนื้อเรื่องมีขนาดยืดยาว มีโครงเรื่องซ้อนประกอบด้วย โครงเรื่องหลักและโครงเรื่องสืบเนื่อง เนื้อเรื่องกล่าวถึงตัวละครหลายรุ่น แนวคิดที่นำเสนอไม่ชัดเจนและเน้นความบันเทิงมากกว่าการมุ่งเสนอคติธรรม พัฒนาการของกลอนสวดในขั้นสุดท้ายคือยุคที่มีการพิมพ์ กลอนสวดและประเพณีการสวดอ่านได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีด้านการพิมพ์ทำให้การสวดอ่านลดน้อยลงและกลอนสวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีการสวดอ่านก็เสื่อมสลายลงไปด้วย
dc.description.abstractalternative The purpose of this thesis is to analyze unpublished Klon Suat manuscripts of Central Thailand, conserved in the Department of Manuscripts. The Thai National Library, in various aspects of form and content. These aspects are literary traditions, types, origins, compositions, contents, characteristics and the development of Klon Suat as one of Thai literary genres. It is concluded in the research that Klon Suat, written in the Kham-Kap style, was used for chanting. It was composed in several forms of Kap with many melodic rhythms. Most stories of Klon Suat were religious. The Klon Suat literary genre was associated with the Thai literary tradition of reading. A Careful comparison of the reading traditions in each region of Thailand shows a similar characteristic of these traditions that the reading tradition originated in Buddhistic monasteries and spread to households. Formerly, chanters were monks and later on were ordained laymen. As for prosodic forms and rhythms, they varied in each region of Thailand. Klon Suat of Central Thailand can be classified into 2 groups, those of direct and those of indirect instruction of morality. The Buddhistic Sutras were the important sources supplying contents to Klon Suat of the first group. As for the second group, its contents were influenced by the Jataka in the Tripitaka, the Jataka Commentary, the Dhammapada Commentary, folktales and other literature. There also were those which imitated the Jataka structure. Klon Suat, as one of the Thai literary genres had its literary "rules of the game." These rules were 1) the nature of Klon Suat is monastic and didactic; 2) the Buddhistic concept of present life, destined by past deeds, governed the techniques of presentation; 3) each story had the common theme of the two sides of life: Dukkha-Sukkha or miseries-happiness, 4) the predestination of character's life was the distinguished technique of presentation. and 5) the narrative alternatives between the real world and the world of imagination was the common technique of narration. The development of Klon Suat can be divided into 2 periods, the old and the new ones. The printing technology had affected the development of Klon Suat and the reading tradition and, finally, caused their decline.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.166
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject กลอนสวด
dc.subject วรรณกรรมพุทธศาสนา -- ไทย (ภาคกลาง)
dc.subject กาพย์
dc.subject ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.subject Buddhist literature -- Thailand, Central
dc.title วรรณกรรมประเภทกลอนสวดภาคกลาง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์
dc.title.alternative Klon suat of Central Thailand : an analytical study
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ภาษาไทย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.1987.166


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record