Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า ปริมาณเงินแบบถ่วงนํ้าหนักแบบใดที่เหมาะสมที่สุดในการเป็นเป้าหมายขั้นกลางทางการเงินในประเทศไทย โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ของฐานเงินกับดัชนีปริมาณเงิน และความสัมพันธ์ของดัชนีปริมาณเงินกับเป้าหมายขั้นสุดท้าย ซึ่งดัชนีที่เหมาะสมต้องสามารถพยากรณ์เป้าหมายขั้นสุดท้ายได้ และทางการสามารถใช้ฐานเงินในการพยากรณ์ดัชนีดังกล่าวได้ ดัชนีปริมาณเงินที่นำมาทดสอบประกอบด้วย M1 ที่คำนวณแบบ Simple-sum (SM1), M2 ที่คำนวณแบบ Simple-sum (SM2), M2 ที่คำนวณแบบ Fisher ideal (FM2) และ M2 ทีคำนวณแบบ Divisia (DM2) ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ Cointegration และ Granger causality test โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาสตั้งแต่ปี 2531 ถึง 2542 ผลการศึกษาพบว่า สมการอุปสงค์ทางการเงินของ SM1, SM2, FM2 และ DM2 มีเสถียรภาพในระยะยาว ณ ระดับนัยสำคัญ 5% นอกจากนี้ SM1, FM2 และ DM2 สามารถพยากรณ์เป้าหมายขั้นสุดท้าย (ผลิตกัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ และระดับราคา) ได้ ในส่วนของความสามารถในการควบคุม พบว่าทางการสามารถใช้ฐานเงินในการควบคุม SM2 ได้ดี เนื่องจากฐานเงินสามารถพยากรณ์ SM2 ได้ และไม่มีผลในทางย้อนกลับ จากผลดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ปริมาณเงินแบบถ่วงนํ้าหนักทั้ง 4 ตัวไม่เหมาะสมที่จะเป็นเป้าหมายขั้นกลางทางการเงินในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทยลามารถใช้ SM1, FM2 และ DM2 เป็นตัวแปรที่ให้ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจมหภาคนอกจากนี้ ทางการสามารถนำ FM2 และ DM2 มาสร้างเป็นตัวแปรชี้นำในระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าได้ด้วย