DSpace Repository

ปริมาณเงินแบบถ่วงน้ำหนักที่เหมาะสมที่สุดในการเป็นเป้าหมายขั้นกลางทางการเงินในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชโยดม สรรพศรี
dc.contributor.author สินีนาฏ เสริมชีพ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ประเทศไทย
dc.date.accessioned 2021-02-12T07:13:44Z
dc.date.available 2021-02-12T07:13:44Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9740300537
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72269
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า ปริมาณเงินแบบถ่วงนํ้าหนักแบบใดที่เหมาะสมที่สุดในการเป็นเป้าหมายขั้นกลางทางการเงินในประเทศไทย โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ของฐานเงินกับดัชนีปริมาณเงิน และความสัมพันธ์ของดัชนีปริมาณเงินกับเป้าหมายขั้นสุดท้าย ซึ่งดัชนีที่เหมาะสมต้องสามารถพยากรณ์เป้าหมายขั้นสุดท้ายได้ และทางการสามารถใช้ฐานเงินในการพยากรณ์ดัชนีดังกล่าวได้ ดัชนีปริมาณเงินที่นำมาทดสอบประกอบด้วย M1 ที่คำนวณแบบ Simple-sum (SM1), M2 ที่คำนวณแบบ Simple-sum (SM2), M2 ที่คำนวณแบบ Fisher ideal (FM2) และ M2 ทีคำนวณแบบ Divisia (DM2) ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ Cointegration และ Granger causality test โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาสตั้งแต่ปี 2531 ถึง 2542 ผลการศึกษาพบว่า สมการอุปสงค์ทางการเงินของ SM1, SM2, FM2 และ DM2 มีเสถียรภาพในระยะยาว ณ ระดับนัยสำคัญ 5% นอกจากนี้ SM1, FM2 และ DM2 สามารถพยากรณ์เป้าหมายขั้นสุดท้าย (ผลิตกัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ และระดับราคา) ได้ ในส่วนของความสามารถในการควบคุม พบว่าทางการสามารถใช้ฐานเงินในการควบคุม SM2 ได้ดี เนื่องจากฐานเงินสามารถพยากรณ์ SM2 ได้ และไม่มีผลในทางย้อนกลับ จากผลดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ปริมาณเงินแบบถ่วงนํ้าหนักทั้ง 4 ตัวไม่เหมาะสมที่จะเป็นเป้าหมายขั้นกลางทางการเงินในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทยลามารถใช้ SM1, FM2 และ DM2 เป็นตัวแปรที่ให้ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจมหภาคนอกจากนี้ ทางการสามารถนำ FM2 และ DM2 มาสร้างเป็นตัวแปรชี้นำในระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าได้ด้วย en_US
dc.description.abstractalternative This thesis aims to examine that which of the weighted money supplies is suitable to be an intermediate target in Thailand. The thesis measures the causality between monetary base and money index, and between money index and ultimate targets. The suitable money index should be able to affect the ultimate targets. As a result, monetary authority can use the monetary base to control that money index. There are several choices of money index that include simple-sum of M1 (SM1), simple-sum of M2 (SM2), Fisher ideal of M2 (FM2) and Divisia of M2 (DM2). This study employs cointegration and Granger causality test by using quarterly data from 1988 to 1999. The results show that the demand for money of SM1, SM2, FM2 and DM2 are stable in the long-run at the 5% significant level. Moreover, SM1, FM2 and DM2 can predict the ultimate targets (real GDP and price level). Monetary authority can use the monetary base to control SM2 because the monetary base does "Granger cause" SM2 and there is no feedback effect. The conclusion is that four of money indices are not suitable for playing a role as an intermediate target. However, the Bank of Thailand can use SM1, FM2 and DM2 as macroeconomic information variables in order to predict macroeconomic activities. Furthermore, the monetary authority can also employ FM2 and DM2 as the early warning indicators. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ปริมาณเงิน en_US
dc.subject ความต้องการถือเงิน en_US
dc.subject นโยบายการเงิน en_US
dc.title ปริมาณเงินแบบถ่วงน้ำหนักที่เหมาะสมที่สุดในการเป็นเป้าหมายขั้นกลางทางการเงินในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative An optimal choice of weighted money supply as intermediate target in Thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Chayodom.S@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record