dc.contributor.advisor |
สุรพล วิรุฬห์รักษ์ |
|
dc.contributor.author |
สิริธร ศรีชลาคม |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-02-12T08:14:07Z |
|
dc.date.available |
2021-02-12T08:14:07Z |
|
dc.date.issued |
2543 |
|
dc.identifier.isbn |
9740300561 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72273 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษานาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ซึ่งเป็นการแสดงนาฏยศิลป์ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยการผสมผสานท่าการเคลื่อนไหวแบบนาฏยศิลป์ไทยเข้ากับนาฏยศิลป์สกุลอื่นๆ ตามกระบวนการการประดิษฐ์ท่าเต้น โดยไม่ได้จำกัดความเฉพาะการเคลื่อนไหว ทักษะการเต้นเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับกระบวนการลำดับความคิด การสร้างสรรค์ องค์ประกอบในการแสดงและผู้สร้างสรรค์ชุดการแสดงนั้นๆด้วย การศึกษาเน้นถึงพัฒนาการของนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ตั้งแต่แรกเริ่มถึงปี 2542 รวมทั้งศึกษาถึงรูปแบบ และวิธีการสร้างสรรค์ของนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ผลของการวิจัยพบว่าพัฒนาการของรูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายแบบ ได้แก่ การประยุกต์รูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ไทยตามอิทธิพลของการแสดงบัลเล่ต์การผสมผสานท่านาฏยศิลป์ไทยในการแสดงบัลเล่ต์ระบำเรื่องที่ใช้นาฏยศิลป์ไทยแนวประยุกต์ การผสมผสานท่านาฏยศิลป์ไทยในการแสดงการเต้นแจ๊ส การผสมผสานนาฏยศิลป์ไทยในการแสดงนาฏยศิลป์ร่วมสมัย โดยเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับคติไทย วิถีชีวิต และวัฒนธรรมไทยเป็นหลัก การผสมผสานนาฏยศิลป์ไทยเข้ากับทักษะการเต้นของนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ซึ่งแต่ละแบบมีพัฒนาการเฉพาะตน ในช่วงเวลาหนึ่งอาจซํ้าซ้อนกับแบบอื่นๆ และในบางครั้งอาจมีอิทธิพลต่อกัน สาเหตุในการสร้างสรรค์ท่าการเคลื่อนไหวในนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ได้แก่ แรงบันดาลใจที่ศิลปินต้องการสร้างสรรค์งานใหม่ขึ้นด้วยตนเอง สร้างสรรค์ขึ้นตามนโยบายขององค์กรวัฒนธรรมระดับประเทศ จากระบบหลักสูตรนาฏยศิลป์ในสถาบันอุดมศึกษา ความต้องการที่จะทำให้คนรุ่นใหม่สนใจศิลปะวัฒนธรรมดั้งเดิม และความต้องการทางธุรกิจ ทั้งหมดเป็นแรงผลักดันจากสังคมที่ทำให้เกิดนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ตราบใดที่ระบบของการคิดค้นยังเปิดกว้างให้กับการสร้างสรรค์ทักษะใหม่ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของนาฏยศิลปินร่วมสมัยแต่ละคนเช่นนี้ นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยก็จะมีพื้นฐานที่ชัดเจนและมีภาพลักษณะที่เปิดกว้างเช่นเดียวกับความเป็นไปได้ของนาฏยศิลป์สกุลอื่นๆในปัจจุบัน |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This thesis aim at studying Contemporary Thai Dance, the dance performance that created by combine Thai classical with other dance styles used choreographic processes. It not only about how to move and dance technique; it was also about concepts, terms, principles and how the movement has been choreographed and by whom. It focuses on the Contemporary Thai Dance's development since started until 1999. The study finds that development of Contemporary Thai Dance can be separate in many styles. There is Thai Classical performance that got inspiration from classical ballet. Thai ballet which is used Thai gestures with ballet steps. There are also Dance-drama performance that used Thai classical movement, combination of Thai classical and jazz steps, contemporary dance performance which is combine Western, Asian and Thai thoughts together, Thai classical dance step, Thai mannerisms and symbols combined with contemporary dance technique to create a uniquely Thai contemporary dance. And there are also have combination of Thai classical and modern dance technique. Each style has its own development. In one period of time there might be few styles developed เท the same time. And one might inspired by one other. There are many reasons why Contemporary Thai Dance has been created. Some are from choreographer who has been inspired to create a new style of dance from their own experience. Some are created because of following policy of the international cultural organizations or course syllabus of dance program in university level. Or choreographer has to re-create the performance to get new generation’s attention because changed of the social and frame of the old performance ritual and also from business demanding. However if there still be a chance for anyone to create their own uniquely movement, contemporary Thai dance will getting stronger and have much more variants direction of how it going to be as same as other kinds of dance form in now a day. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
นาฏศิลป์ไทย |
en_US |
dc.subject |
การรำ -- ไทย |
en_US |
dc.subject |
บัลเลต์ |
en_US |
dc.title |
นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย : การสร้างสรรค์โดยผสมผสานนาฏยศิลป์ไทย กับนาฏยศิลป์สกุลอื่นๆ ระหว่าง พ.ศ. 2510-2542 |
en_US |
dc.title.alternative |
Contermporary Thai dance : creative dance, combination of Thai classical with other dance styles, 1967-1998 |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
นาฏยศิลป์ไทย |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Surapone.V@chula.ac.th |
|