Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า "เบรองเชร์ตัวละครเอกของอิโยเนสโก" นั้น เป็นตัวแทนของอิโยเนสโก และเป็นตัวแทนของมนุษย์ในยุคสมัยเดียวกับผู้แต่งอีกด้วย ผลการวิจัยพบว่าตัวละครเอกเบรองเชร์เกิดความรู้สึกว่า โลกของมนุษย์ซึ่งกำลังสูญเสียลักษณะความเป็นมนุษย์ไปทีละเล็กทีละน้อยนั้น ไร้สา ระเฉกเช่นเดียวกับความรู้สึกของผู้แต่ง ผลการวิจัยครั้งนี้ยังช่วยให้เข้าใจอีกด้วยว่าผู้แต่งเริ่มเข้าไปมีบทบาทผูกพันทางการเมือง และสังคมทีละเล็กทีละน้อย โดยที่ยังคงรักษา ลักษณะเฉพาะตัวในการสร้างตัวละครแบบหุ่นยนต์อย่างสืบเนื่องกันมา ตั้งแต่ผลงานในระยะแรกของเขา ผลการวิจัยครั้งนี้ยังช่วยให้เห็นว่าอิโยเนสโกนั้น ยังคงเป็นนักเขียนผู้ซึ่งมองโลกในแง่ดีอยู่ เพราะว่าผลงานของเขาแมันว่าจะเริ่มต้นด้วยภาพของมนุษย์ ซึ่งถูกกลไกของสังคมพัดพาไป เหมือนหุ่นยนต์นั้นได้หวนกลับเข้าสู่เส้นทางของมนุษยธรรม เมื่อทำการศึกษาวิเคราะห์ผลงานบทละครทั้ง 4 เรื่องของอิโยเนสโก นักเขียนบทละครร่วมสมัยในกลุ่มผู้เริ่มละครแนวอับชูร์ดแล้ว จะเห็นได้ว่านักเขียนผู้นี้ให้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับตำนานตัวละครเอกตามแบบเก่า "ตัวละครเอก" ที่พบในบทละครทั้ง 4 เรื่องนี้ ไม่ได้เป็นตัวละครที่เราคุ้นเคยตามแบบฉบับเดียวกันกับในบทละครคลาสสิคสมัยกรีกโรมัน หรือแม้แต่สมัยปัจจุบันที่ยังคงเสนอตัวละคร ที่มีความแตกต่างไปจากผู้ดูอย่างมากอีกต่อไปแล้ว กล่าวได้ว่า "ตัวละครเอก" ของอิโยเนสโกนั้น ที่แท้ก็คือตัวผู้แต่งเอง ทั้งนี้เป็นเพราะเขาเกิดความรู้สึกว่าโลกของมนุษย์ ซึ่งกำลังสูญเสียลักษณะความเป็นมนุษย์ไปทีละเล็กทีละน้อยนั้น ไร้สาระเฉกเช่นเดียวกับความรู้สึกของผู้แต่ง ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า "เบรองเชร์ ตัวละครเอกของอิโยเนสโก" เป็นตัวแทนของมนุษยชาติ ซึ่งจำต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลาย ทั้งในทางการเมืองและสังคมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เราจะพบว่าความเลวร้ายทางการเมืองและสังคมนั้นเป็นเพียงแค่ตัวเชื้อโรคเล็ก ๆ ตัวหนึ่งอันเป็นผลผลิตมาจากเชื้อโรคอีกตัวหนึ่งซึ่งร้ายแรงกว่าหลายสิบเท่า เชื้อโรคตัวนั้นก็คือ ความเลวร้าย เชิงอภิปรัชญาที่ทำให้มนุษย์ทนทุกข์ทรมานมานานนับศตวรรษ และดูเหมือนว่าจะไม่มีตัวยาใด ๆ ที่จะรักษาให้หายหรือแม้แต่จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้เบาบางได้เลย ทั้งนี้ เป็นเพราะว่ามนุษย์ถูกกำหนดให้มีชีวิตอยู่เคียงข้างกับความตาย อันเป็นเชื้อไวรัสที่แท้จริงเพียงตัวเดียวที่กัดกร่อนจิตใจของมนุษย์มานานศตวรรษแล้วศตวรรษเล่า ดังนั้นละครทั้ง 3 เรื่องคือ ตูเออร์ ชองส์ กาชส์ รีโนเซรอส และเลอ รัว เชอ เมอร์ต จึงแสดงให้เห็นตามที่อิโยเนสโกได้กล่าวไว้ คือ "สภาวะของมนุษย์เป็นสิ่งกำหนดสภาวะของสังคม ไม่ใช่ตรงกันข้าม" ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดเลยที่ได้เห็น "เบรองเชร์ ตัวละครเอกของอิโยเนสโก” ปรากฎตัวชี้บนเวทีในฐานะนักเขียนบทละครที่กำลังอยู่ในระหว่างการพักผ่อน เพราะไม่มีเรื่องที่จะเขียนก่อนที่จะเป็น เลอ ปิเยตง เดอ แลร์ อีกครั้งหนึ่งเพื่อเห็นภาพนรกของโลกอนาคต "ตัวละครเอก" ในละครเรื่องสุดท้ายชุด 4 เรื่องนี้ ได้ตั้งข้อสงสัยในเรื่องประโยชน์ของศิลปะการละครอันก่อให้เกิดการถกเถียง โดยที่ยังหาข้อสรุปถึงที่สุดไม่ได้ระหว่างนักวิจารณ์ ที่เห็นว่างานการละครควรมุ่งสนับสนุนความตึงเครียดทางอุดมการทางการเมืองในทศวรรษ 1950 กับฝ่ายนักวิจารณ์ที่ เห็นว่า งานศิลปะควรมุ่งถ่ายทอดสารที่แฝงเร้นอยู่ในตัวงาน ดังนั้น การศึกษาเกี่ยวกับความหมายของ "เบรองเซร์ ตัวละครเอกขอ งอิโยเนสโก ในครั้งนี้จะช่วยให้เราเข้าใจได้ว่า ทำไมผู้เขียนจึงเข้าไปมีส่วนร่วมผูกพันกับสภาวะทางการเมืองและสังคมทีละเล็กละน้อยอย่างไร โดยที่ยังคงรักษาลักษณะเฉพาะตัวในการสร้างตัวละครแบบหุ่นยนต์ (สเตเรโอติป) อย่างสืบเนื่องกันมาตั้งแต่ผลงานในระยะแรกของเขา และเรายังพบอีกว่านักเขียนบทละครผู้นี้ยังคงเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ดีอยู่ เพราะว่าผลงานของเขานั้น แม้นว่าจะเริ่มต้นด้วยภาพของมนุษย์ที่ถูกกลไกของสังคมพัดพาไปจนเหมือนหุ่นยนต์ ได้หวนกลับเข้าสู่เส้นทางของมนุษยธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงกล่าวได้ว่าเขากำลังเดินสวนทางบนถนนสายเดียวกันกับชามูแอล เบดเกต ซึ่งเริ่มต้นฉายภาพของมนุษย์ธรรมดา ๆ และค่อย ๆ สูญเสียความเป็นมนุษย์ไปจนหมดสิ้นในบั่นปลาย