DSpace Repository

Berenger, heros d'Ionesco

Show simple item record

dc.contributor.advisor Guitton, Olivier
dc.contributor.author Sombat Khruathong
dc.date.accessioned 2021-02-15T02:59:34Z
dc.date.available 2021-02-15T02:59:34Z
dc.date.issued 1987
dc.identifier.isbn 9745683906
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72274
dc.description Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 1987
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า "เบรองเชร์ตัวละครเอกของอิโยเนสโก" นั้น เป็นตัวแทนของอิโยเนสโก และเป็นตัวแทนของมนุษย์ในยุคสมัยเดียวกับผู้แต่งอีกด้วย ผลการวิจัยพบว่าตัวละครเอกเบรองเชร์เกิดความรู้สึกว่า โลกของมนุษย์ซึ่งกำลังสูญเสียลักษณะความเป็นมนุษย์ไปทีละเล็กทีละน้อยนั้น ไร้สา ระเฉกเช่นเดียวกับความรู้สึกของผู้แต่ง ผลการวิจัยครั้งนี้ยังช่วยให้เข้าใจอีกด้วยว่าผู้แต่งเริ่มเข้าไปมีบทบาทผูกพันทางการเมือง และสังคมทีละเล็กทีละน้อย โดยที่ยังคงรักษา ลักษณะเฉพาะตัวในการสร้างตัวละครแบบหุ่นยนต์อย่างสืบเนื่องกันมา ตั้งแต่ผลงานในระยะแรกของเขา ผลการวิจัยครั้งนี้ยังช่วยให้เห็นว่าอิโยเนสโกนั้น ยังคงเป็นนักเขียนผู้ซึ่งมองโลกในแง่ดีอยู่ เพราะว่าผลงานของเขาแมันว่าจะเริ่มต้นด้วยภาพของมนุษย์ ซึ่งถูกกลไกของสังคมพัดพาไป เหมือนหุ่นยนต์นั้นได้หวนกลับเข้าสู่เส้นทางของมนุษยธรรม เมื่อทำการศึกษาวิเคราะห์ผลงานบทละครทั้ง 4 เรื่องของอิโยเนสโก นักเขียนบทละครร่วมสมัยในกลุ่มผู้เริ่มละครแนวอับชูร์ดแล้ว จะเห็นได้ว่านักเขียนผู้นี้ให้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับตำนานตัวละครเอกตามแบบเก่า "ตัวละครเอก" ที่พบในบทละครทั้ง 4 เรื่องนี้ ไม่ได้เป็นตัวละครที่เราคุ้นเคยตามแบบฉบับเดียวกันกับในบทละครคลาสสิคสมัยกรีกโรมัน หรือแม้แต่สมัยปัจจุบันที่ยังคงเสนอตัวละคร ที่มีความแตกต่างไปจากผู้ดูอย่างมากอีกต่อไปแล้ว กล่าวได้ว่า "ตัวละครเอก" ของอิโยเนสโกนั้น ที่แท้ก็คือตัวผู้แต่งเอง ทั้งนี้เป็นเพราะเขาเกิดความรู้สึกว่าโลกของมนุษย์ ซึ่งกำลังสูญเสียลักษณะความเป็นมนุษย์ไปทีละเล็กทีละน้อยนั้น ไร้สาระเฉกเช่นเดียวกับความรู้สึกของผู้แต่ง ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า "เบรองเชร์ ตัวละครเอกของอิโยเนสโก" เป็นตัวแทนของมนุษยชาติ ซึ่งจำต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลาย ทั้งในทางการเมืองและสังคมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เราจะพบว่าความเลวร้ายทางการเมืองและสังคมนั้นเป็นเพียงแค่ตัวเชื้อโรคเล็ก ๆ ตัวหนึ่งอันเป็นผลผลิตมาจากเชื้อโรคอีกตัวหนึ่งซึ่งร้ายแรงกว่าหลายสิบเท่า เชื้อโรคตัวนั้นก็คือ ความเลวร้าย เชิงอภิปรัชญาที่ทำให้มนุษย์ทนทุกข์ทรมานมานานนับศตวรรษ และดูเหมือนว่าจะไม่มีตัวยาใด ๆ ที่จะรักษาให้หายหรือแม้แต่จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้เบาบางได้เลย ทั้งนี้ เป็นเพราะว่ามนุษย์ถูกกำหนดให้มีชีวิตอยู่เคียงข้างกับความตาย อันเป็นเชื้อไวรัสที่แท้จริงเพียงตัวเดียวที่กัดกร่อนจิตใจของมนุษย์มานานศตวรรษแล้วศตวรรษเล่า ดังนั้นละครทั้ง 3 เรื่องคือ ตูเออร์ ชองส์ กาชส์ รีโนเซรอส และเลอ รัว เชอ เมอร์ต จึงแสดงให้เห็นตามที่อิโยเนสโกได้กล่าวไว้ คือ "สภาวะของมนุษย์เป็นสิ่งกำหนดสภาวะของสังคม ไม่ใช่ตรงกันข้าม" ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดเลยที่ได้เห็น "เบรองเชร์ ตัวละครเอกของอิโยเนสโก” ปรากฎตัวชี้บนเวทีในฐานะนักเขียนบทละครที่กำลังอยู่ในระหว่างการพักผ่อน เพราะไม่มีเรื่องที่จะเขียนก่อนที่จะเป็น เลอ ปิเยตง เดอ แลร์ อีกครั้งหนึ่งเพื่อเห็นภาพนรกของโลกอนาคต "ตัวละครเอก" ในละครเรื่องสุดท้ายชุด 4 เรื่องนี้ ได้ตั้งข้อสงสัยในเรื่องประโยชน์ของศิลปะการละครอันก่อให้เกิดการถกเถียง โดยที่ยังหาข้อสรุปถึงที่สุดไม่ได้ระหว่างนักวิจารณ์ ที่เห็นว่างานการละครควรมุ่งสนับสนุนความตึงเครียดทางอุดมการทางการเมืองในทศวรรษ 1950 กับฝ่ายนักวิจารณ์ที่ เห็นว่า งานศิลปะควรมุ่งถ่ายทอดสารที่แฝงเร้นอยู่ในตัวงาน ดังนั้น การศึกษาเกี่ยวกับความหมายของ "เบรองเซร์ ตัวละครเอกขอ งอิโยเนสโก ในครั้งนี้จะช่วยให้เราเข้าใจได้ว่า ทำไมผู้เขียนจึงเข้าไปมีส่วนร่วมผูกพันกับสภาวะทางการเมืองและสังคมทีละเล็กละน้อยอย่างไร โดยที่ยังคงรักษาลักษณะเฉพาะตัวในการสร้างตัวละครแบบหุ่นยนต์ (สเตเรโอติป) อย่างสืบเนื่องกันมาตั้งแต่ผลงานในระยะแรกของเขา และเรายังพบอีกว่านักเขียนบทละครผู้นี้ยังคงเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ดีอยู่ เพราะว่าผลงานของเขานั้น แม้นว่าจะเริ่มต้นด้วยภาพของมนุษย์ที่ถูกกลไกของสังคมพัดพาไปจนเหมือนหุ่นยนต์ ได้หวนกลับเข้าสู่เส้นทางของมนุษยธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงกล่าวได้ว่าเขากำลังเดินสวนทางบนถนนสายเดียวกันกับชามูแอล เบดเกต ซึ่งเริ่มต้นฉายภาพของมนุษย์ธรรมดา ๆ และค่อย ๆ สูญเสียความเป็นมนุษย์ไปจนหมดสิ้นในบั่นปลาย
dc.description.abstractalternative Cette recherche vise a prouver que "Berenger, heros d'Ionesco" est l'avatar de son createur Ionesco et aussi le representant de l'homme de l'epoque. Il resulte de cette recherche que Berenger eprouve comme son createur une impression d'absurde dans le monde, vision dans laquelle est plonge I'hommequi perd petit a petit son caractere humain. Elle nous permet de comprendre que le dramaturge s'engage inconsciemment, peu a peu, dans la solidarite de la tension politico-sociale tout en conservant son originalite a force de recreer des personnages stereotypes caracterisant les pieces de ses deux premieres periodes. Cette recherche nous permet de constater que le dramaturge est encore tres optimistepuisque son oeuvre au depart porte sur la deshumanisation, entre dans la voie humaniste. En abordant la tetralogie theatrale d'Ionesco, un dramaturge du theatre contemporain, classe parmi les initiateurs du "theatre de I'absurde" , on decouvre qu'lonesco met en question le mythe du heros traditionnel. Le "heros' que nous rencontrons n'est plus le meme personnage auquel nous a habitues le theatre classique, antique, voire moderne, qui se plait a presenter un etre hors du commun fort different du public. Le "heros" ionescien est le double du dramaturge puisqu'il eprouve, comme son createur, une impression d'absurde dans le monde, vision dans laquelle est plonge l'homme qui perd au fur et a mesure son caractere humain. 'Berenger, heros d'Ionesco" represente ainsi donc toute I'humanite qui doit faire face aux transformations diverses des evenements politico-sociaux. Cependant, on decouvre que le mal politico-social n'est qu'un petit germe resultant d'un autre mal dix fois plus grand : c'est le mal metaphysique qui fait souffrir l'homme depuis des siecles. Aucune "antidote" ne peut l'en guerir ni ne calme cette douleur enracinee parce que l'homme est condamne a vivre au sein de la mort, le seul vrai "virus" qui nous ronge le coeur depuis des siecles et des niecles. Ainsi, ce sont Tueur sans gages, Rhinoceros, et le Roi se meurt qui nous montrent selon la constatation ionescienne que "c'est la condition humaine qui gouverne la condition sociale, et non le contraire." Donc, il n'est pas etonnant de revoir "Berenger, heros al'Ionesco" sur scene en tant que dramaturge en retraite et steril avant (le (levenir le Pieton de l'air pour voir la vision des Eufers du monde fulur. Le 'heros" de cette derneire piece de la tetralogie met en cause l'utilite de 1'art theatral qui provoque un grand debal: sans aucune solution definitive : les critiques solidaires de la lension politique et iddeologique des annees cinquante Cette recherche sur la signification du "Berenger, heros d'Ionesco" nous aidera donc a comprendre comment le dramaturge s'cngage petit a petit dans la solidarite politico-soiale touten conservant son originalite a force de recreer des personnages stereotypes: caracterisant les pieces de ses deux premieres reriodes. On peut romarquer que ce dramaturge est encore tres optimiste ruisque son oeuvre, au depart porte sur la deshumanisation, entre dans la voie humaniste. Tl prend ainsi la meme voie que Samuel Beckett, mais en sens inverse. Beckett, au depart, choisit de presenter des personnages au caractere humain pour finalement arriver a les deshumaniser.
dc.language.iso fr
dc.publisher Chulalongkorn University
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.132
dc.rights Chulalongkorn University
dc.subject Ionesco, Eugène, 1909-1994 -- Characters
dc.subject French drama
dc.title Berenger, heros d'Ionesco
dc.title.alternative เบรองเชร์ ตัวละครเอกของอิโยเนสโก
dc.type Thesis
dc.degree.name Master of Arts
dc.degree.level Master's Degree
dc.degree.discipline French
dc.degree.grantor Chulalongkorn University
dc.email.advisor No information provided
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.1987.132


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record