Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพี่อศึกษาความส้มพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารด้านการเมือง ความรู้และทัศนคติต่อการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ชองประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 484 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแรงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัย พบว่า 1. การเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่อมวลชนไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็น สาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ การเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่อบุคคลมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรู้เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ 2. การเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ 3. ความรู้เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ 4. ผู้ที่มีเพศต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่อมวลชนและสื่อบุคคลแตกต่างกัน ผู้ที่มีอายุและสถานภาพสมรสต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่อมวลชนแตกต่างกัน แต่มีการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่อบุคคลไม่แตกต่างกัน ผู้ที่มีการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่อมวลชนไม่แตกต่างกัน แต่มีกาเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่อบุคคลแตกต่างกัน 5. ผู้ที่มีอายุ การศึกษา อาชีพและรายได้ต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์แตกต่างกัน แต่ผู้ที่มีเพศและสถานภาพสมรสต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ไม่แตกต่างกัน 6. ผู้ที่มีเพศ อายุ การศึกษาและรายได้ต่างกัน มีทัศนคติต่อการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์แตกต่างกัน แต่ผู้ที่มีสถานภาพสมรสและอาชีพต่างกัน มีทัศนคติเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ไม่แตกต่างกัน