DSpace Repository

การสนทนาระหว่างกุมารแพทย์กับผู้ป่วยในการตรวจรักษาโรค

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัฐพร พานโพธิ์ทอง
dc.contributor.author สิริมา เชียงเชาว์ไว
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-03-01T07:59:02Z
dc.date.available 2021-03-01T07:59:02Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741311559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72485
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและองค์ประกอบของบทสนทนา วิธีการสื่อสารที่กุมารแพทย์และ ผู้ป่วยใช้ในการตรวจรักษาโรค รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นในการสื่อสาร ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นบทสนทนาจากกุมาร แพทย์ ๕ คน คนละ ๑๐ บทสนทนา รวม ๕0 บทสนทนา ผลการวิจัยพบว่า บทสนทนาระหว่างกุมารแพทย์กับผู้ป่วยในการตรวจรักษาโรคมีองค์ประกอบทั้งหมด ๖ ส่วน ได้แก่ การกล่าวทักทายและต้อนรับ การซักถามข้อมูลและตรวจวินิจฉัย การชี้แจงข้อวินิจฉัย การอธิบายวิธีการรักษา การกล่าวก่อนอำลา และการกล่าวอำลา แต่ละองค์ประกอบมีการเรียงลำดับค่อนข้างตายตัว กุมารแพทย์และผู้ปกครองของผู้ป่วยซึ่งเป็นคู่สนทนาหลักต่างก็ใช้วิธีการสื่อสารที่หลากหลายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการสื่อสารของตน กุมารแพทย์มีวิธีการสื่อสารกับผู้ป่วย ๑๐ วิธี ได้แก่ การใช้คำลงท้ายแปรไปตามเพศผู้ป่วยการใช้คำเรียกญาติการใช้ภาษาเด็ก การใช้คำเลียนเสียง การใช้คำถามแบบให้เลือกตอบ การขอร้องแทนการออกคำสั่งการกล่าวยกย่องชมเชย การตั้งเงื่อนไข การยกตัวอย่าง และการชี้แจงเหตุผล และมีวิธีการสื่อสารกับผู้ปกครองของผู้ป่วย ๙ วิธีได้แก่ การใช้คำถามแบบให้เลือกตอบ การใช้ประโยคบอกเล่าในการถาม การทวนคำตอบ การใช้คำที่มีความหมายว่า "เล็กน้อย, ปกติ" การใช้คำว่า"ไม่เป็นไร" การยกตัวอย่าง การแบ่งประเด็น การตั้งคำถาม และการเลี่ยงศัพท์และรายละเอียดทางการแพทย์ ส่วนวิธีการสื่อสารที่ผู้ปกครองของผู้ป่วยใช้กับกุมารแพทย์มี ๔ วิธี ได้แก่ การให้ข้อมูลไม่ตรงกับคำ ถามของแพทย์ การให้ข้อมูลเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีอาการรุนแรง การใช้รูปประโยคคำถามเพื่อความสุภาพและการเกริ่นก่อนการถาม ถึงแม้กุมารแพทย์และผู้ปกครองของผู้ป่วยจะพยายามให้การสื่อสารราบรื่นและบรรลุวัตถุประสงค์ แต่ผู้วิจัยพบปัญหาในการสื่อสารบางประการอันเนื่องมาจากวิธีการสื่อสารที่คู่สนทนาเลือกใช้ ได้แก่ ผู้ปกครองตอบคำถามไม่ชัดเจนตรงประเด็นและไม่ตอบคำถามของแพทย์ ผู้ปกครองปฏิบัติเกินหน้าที่ในปริบทการสนทนา และผู้ปกครองอาจไม่ได้รับข้อมูลจากแพทย์ครบถ้วนเนื่องจากการถามแทรกผลัด ส่วนปัญหาในการสื่อสารระหว่างกุมารแพทย์กับผู้ป่วยพบปัญหาด้านการใช้คำศัพท์และการไม่ยอมให้ความร่วมมือในการตรวจรักษาของผู้ป่วย en_US
dc.description.abstractalternative The present study aims at examining the structure of pediatrist-patient clinical interview, linguistic devices adopted by the participants, as well as problems found during the conversation. The data includes 50 interviews from 5 pediatrists. It is found that the pediatrist-patient clinical interview consists of 6 components. That is, greeting, interviewing and diagnosing, explaning the patient’s condition, explaining the treatment, pre-closing and closing. The components are arranged in the same order. The study also reveals that the pediatrists and the patients's parents adopt several devices to achieve their end. Ten devices adopted by the pediatrists to communicate with the patients are choosing the final particle for politeness according to the patients's sex, using kin terms, using child language, using onomatopoeia, providing choices to answer, making a request, praising, using a condition statement, giving examples and giving reasons. As for communicating with the parents, the pediatrists adopt 9 devices. That is, providing choices to answer, using a statement for asking, repeating the answer, using words which mean “normal" or "not serious", saying /maypenray/, giving examples, being orderly, using rhetorical questions and avoiding technical terms. The parents, on the other hand, use 4 devices. That is, being more informative than required, exaggerating, using interrogative forms for politeness and using pre-request for information. Even though the pediatrists and the parents try to be cooperative in achieving their end, some problems are found during the communication. The problems are due to the devices they adopt. The parents do not seem to give sufficient information from the pediatrists's point of view. The parents sometimes do not get sufficient information due to their intervening the pediatrist's turn. For the problems with the patients, they are due to the patients's competence and uncooperation. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การสนทนา en_US
dc.subject การสื่อสารทางการแพทย์ en_US
dc.subject กุมารแพทย์ en_US
dc.subject ผู้ป่วย en_US
dc.title การสนทนาระหว่างกุมารแพทย์กับผู้ป่วยในการตรวจรักษาโรค en_US
dc.title.alternative Pediatrist-Patient clinical interview en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ภาษาไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Natthaporn.P@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record