Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมและประชากรของเกษตรกรในเขตชนบทของไทยโดยเป็นการศึกษาเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เป็นพื้นฐานกว้างๆ นอกจากนี้ยังมีความมุ่งหมายที่จะศึกษาลักษณะเศรษฐกิจและสังคมของชาวนาที่ทำนาเพียงอย่างเดียวเปรียบเทียบกับชาวนาที่ทำการเกษตรอย่างอื่นด้วยโดยมีสมมติฐานว่า “เกษตรกรที่ทำนาเพียงอย่างเดียวน่าจะมีมาตรฐานความเป็นอยู่ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม มีการยอมรับเทคนิควิทยาการแผนใหม่ในระดับต่ำกว่าและมีทัศนคติบางประการล้าหลังกว่าเกษตรกรที่ทำนาและทำการเกษตรอย่างอื่นด้วย” ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือข้อมูลจากการวิจัยของโครงการวิจัยต่อเนื่องระยะยาวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและประชากรของประเทศไทยในส่วนที่เป็นการวิจัยในเขตชนบท ภายใต้การจัดดำเนินการของสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๒ โดยนิสิตชั้นปริญญาบัณฑิตและมหาบัณฑิตซึ่งได้ผ่านการอบรมในหน้าที่พนักงานสำรวจโดยสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือน ภรรยาหัวหน้าครัวเรือนและสตรีที่สมรสแล้วทุกคนในครัวเรือนที่อายุไม่เกิน ๖๐ ปี ผลการศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรปรากฎว่า เกษตรกรประมาณ ๒ ใน ๓ มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินถือครองอยู่แต่ขนาดของที่ดินถือครองค่อนข้างเล็กคือส่วนใหญ่มีไม่เกิน ๓๐ ไร่ ขนาดที่ดินโดยเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ ๒๒.๑ ไร่ สำหรับความพอเพียงของที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูก เกษตรกรที่มีที่ดินถือครองขนาดเล็กส่วนใหญ่ตอบว่าไม่พอแต่เกษตรกรที่มีที่ถือครองขนาดใหญ่ตอบว่าพอเพียงแล้ว เกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดิน
ถือครองทั้งหมดตอบว่าที่ดินเพียงพอแล้วเป็นอัตราส่วนมากกว่าผู้ที่เช่าที่ดินตั้งแต่เช่าส่วนน้อยไปจนถึงผู้เช่าทั้งหมด เกษรกรจำนวนน้อยมากที่ใช้เครื่องทุนแรงในการเตรียมดินก่อนทำไร่ไถนา ประมาณหนึ่งในสามใช้ปุ๋ย ประมาณหนึ่งในห้าใช้ยาฆ่าแมลง และมีเพียงร้อยละ ๑๓ เท่านั้นที่ได้รับน้ำจากการชลประทานจากการให้คะแนนกแก่สิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน ปรากฎว่าประมาณสามในสี่ของเกษตรกรมีฐานะยากจน เกษตรกรจำนวนน้อยที่เก็บเงินได้ในปีที่แล้วประมาณหนึ่งในสามได้ทำการกู้เงินสาเหตุสำคัญของการกู้เงินประมาณครึ่งหนึ่งกู้เงินเพื่อใช้จ่ายในการเกษตร ผลการศึกษาลักษณะทางสังคมของเกษตรกร ปรากฎว่าส่วนมากมีการศึกษาต่ำแต่เกษตรกรส่วนใหญ่มความมุ่งหวังให้บุตรชายได้เรียนสูงกว่าตนในเรื่องการอนามัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ น้ำดื่มน้ำใช้ส่วนมากเป็นน้ำบ่อ น้ำคลอง หรือแม่น้ำลำธาร การดื่มน้ำส่วนใหญ่ไม่มีการเตรียมก่อนดื่มเกษตรกรสองในสามไม่มีส้วมใช้แต่เกษตรกรมความนิยมในการรักษาพยาบาลแผนใหม่มากกว่าแผนโบราณ สำหรับการรับฟังข่าวสาร ปรากฎว่าเกษตรกรฟังวิทยุมากที่สุดและเกีอบสามในสี่ฟังทุกวันแต่ประมาณครึ่งหนึ่งฟังรายการบันเทิง เกษตรกรจำนวนมากที่ไม่เคยเดินทางไปที่อื่นๆ นอกจากตลาดในตัวอำเภอที่ตนอาศัยอยู่ การรู้จักบุคคลสำคัญปรากฎว่าเกษตรกรรู้จักนายกรัฐมนตรีมากที่สุดในเรื่องเกี่ยวกับทัศนคติที่ล้าหลัง ปรากฎว่าเกษตรกรประมาณครึ่งที่เชื่อถือเรื่องโชคชะตาที่เคยรดน้ำมนต์และเคยดูหมดดูประมาณหนึ่งในสามเชื่อเรื่องการสะเดาะเคราห์ ผลการศึกษาลักษณะทางประชากรของเกษตรกรพบว่าเกษตรกรที่มีคนในครัวเรื่อง ๖ คนหรือมากกว่ามีประมาณครึ่งหนึ่งของเกษตรกรทั้งหมด ขนาดของครัวเรือนโดยเฉลี่ยเท่ากับ ๖.๖ คน ลักษณะครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวเกษตรกรเกือบครึ่งมีบุตร
มีชีวิตห้าคนขึ้นไป การศึกษาเรื่องการว่างงานปรากฎว่าเกษตรกรจำนวนน้อยมากประมาณหนึ่งในสิบเท่านั้นที่ว่างเกิน ๔ เดือนขึ้นไป การศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวนาที่ทำนาเพียงอย่างเดียวเปรียบเทียบกับชาวนาที่ทำการเกษตรอย่างอื่นด้วย ปรากฎผลในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะทางเศรษฐกิจชาวนาที่ทำนาอย่างเดียวมีอัตราส่วนของคนยากจนน้อยกว่าแต่มีอัตราส่วนของคนที่มีหนี้สินมากกว่ามีการเช่าที่ดินคือครองเกินกว่าครึ่งของที่ดินถือครองทำกินเป็นอตัราส่วนสูงกว่ามีการว่างงานเป็นเวลามากกว่าชาวนาที่ทำการเกษตรอย่างอื่นด้วยสำหรับเรื่องความทันสมัยในเรื่องการรับเทคนิควิทยาการแผนใหม่ปรากฎว่าชาวนาที่ทำนาอย่างเดียวมีอัตราส่วนของผู้รับเอาเทคนิคใหม่ๆ ช่วนในการเพาะปลูกเช่น ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงมากกว่า สำหรับการออมทรัพย์ปรากฎว่าไม่มีความแตกต่างอย่างสำคัญระหว่างชาวนาที่ทำนาอย่างเดียวกับชาวนาที่ทำการเกษตรอย่างอื่นด้วยในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะทางสังคมพบว่าเกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีระดับการศึกษาไร่เรี่ยกันมีความทันสมัยในเรื่องการรักษาพยาบาลแผนใหม่ การอ่านหนังสือพิมพ์และการฟังวิทยุรายการข่าวไม่แตกต่างกันมากนัก ทัศนคติที่ล้าหลังเช่นการดูหมดดูก็มีความแตกต่างน้อยเช่นกัน ผลการศึกษาที่ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้คือชาวนาที่ทำนาอย่างเดียวมีอัตราส่วนของผู้ที่มีส้วมใช้สูงกว่าชาวนาที่ทำการเกษตรอย่างอื่นด้วย ในการศึกษาถึงปัญหาสำคัญในการดำเนินชีวิตของเกษตรกรพบว่าเกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีปัญหาสำคัญๆ คล้ายคลึงกัน คือส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องความยากจน เรื่องการผลิตและการขายผลผลิต เรื่องน้ำและสุขภาพอนามัยตามลำดับ