dc.contributor.advisor | วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ | |
dc.contributor.author | กองแก้ว สุวรรณประกร | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2021-03-04T07:44:52Z | |
dc.date.available | 2021-03-04T07:44:52Z | |
dc.date.issued | 2515 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72594 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2515 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมและประชากรของเกษตรกรในเขตชนบทของไทยโดยเป็นการศึกษาเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เป็นพื้นฐานกว้างๆ นอกจากนี้ยังมีความมุ่งหมายที่จะศึกษาลักษณะเศรษฐกิจและสังคมของชาวนาที่ทำนาเพียงอย่างเดียวเปรียบเทียบกับชาวนาที่ทำการเกษตรอย่างอื่นด้วยโดยมีสมมติฐานว่า “เกษตรกรที่ทำนาเพียงอย่างเดียวน่าจะมีมาตรฐานความเป็นอยู่ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม มีการยอมรับเทคนิควิทยาการแผนใหม่ในระดับต่ำกว่าและมีทัศนคติบางประการล้าหลังกว่าเกษตรกรที่ทำนาและทำการเกษตรอย่างอื่นด้วย” ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือข้อมูลจากการวิจัยของโครงการวิจัยต่อเนื่องระยะยาวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและประชากรของประเทศไทยในส่วนที่เป็นการวิจัยในเขตชนบท ภายใต้การจัดดำเนินการของสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๒ โดยนิสิตชั้นปริญญาบัณฑิตและมหาบัณฑิตซึ่งได้ผ่านการอบรมในหน้าที่พนักงานสำรวจโดยสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือน ภรรยาหัวหน้าครัวเรือนและสตรีที่สมรสแล้วทุกคนในครัวเรือนที่อายุไม่เกิน ๖๐ ปี ผลการศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรปรากฎว่า เกษตรกรประมาณ ๒ ใน ๓ มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินถือครองอยู่แต่ขนาดของที่ดินถือครองค่อนข้างเล็กคือส่วนใหญ่มีไม่เกิน ๓๐ ไร่ ขนาดที่ดินโดยเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ ๒๒.๑ ไร่ สำหรับความพอเพียงของที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูก เกษตรกรที่มีที่ดินถือครองขนาดเล็กส่วนใหญ่ตอบว่าไม่พอแต่เกษตรกรที่มีที่ถือครองขนาดใหญ่ตอบว่าพอเพียงแล้ว เกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดิน ถือครองทั้งหมดตอบว่าที่ดินเพียงพอแล้วเป็นอัตราส่วนมากกว่าผู้ที่เช่าที่ดินตั้งแต่เช่าส่วนน้อยไปจนถึงผู้เช่าทั้งหมด เกษรกรจำนวนน้อยมากที่ใช้เครื่องทุนแรงในการเตรียมดินก่อนทำไร่ไถนา ประมาณหนึ่งในสามใช้ปุ๋ย ประมาณหนึ่งในห้าใช้ยาฆ่าแมลง และมีเพียงร้อยละ ๑๓ เท่านั้นที่ได้รับน้ำจากการชลประทานจากการให้คะแนนกแก่สิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน ปรากฎว่าประมาณสามในสี่ของเกษตรกรมีฐานะยากจน เกษตรกรจำนวนน้อยที่เก็บเงินได้ในปีที่แล้วประมาณหนึ่งในสามได้ทำการกู้เงินสาเหตุสำคัญของการกู้เงินประมาณครึ่งหนึ่งกู้เงินเพื่อใช้จ่ายในการเกษตร ผลการศึกษาลักษณะทางสังคมของเกษตรกร ปรากฎว่าส่วนมากมีการศึกษาต่ำแต่เกษตรกรส่วนใหญ่มความมุ่งหวังให้บุตรชายได้เรียนสูงกว่าตนในเรื่องการอนามัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ น้ำดื่มน้ำใช้ส่วนมากเป็นน้ำบ่อ น้ำคลอง หรือแม่น้ำลำธาร การดื่มน้ำส่วนใหญ่ไม่มีการเตรียมก่อนดื่มเกษตรกรสองในสามไม่มีส้วมใช้แต่เกษตรกรมความนิยมในการรักษาพยาบาลแผนใหม่มากกว่าแผนโบราณ สำหรับการรับฟังข่าวสาร ปรากฎว่าเกษตรกรฟังวิทยุมากที่สุดและเกีอบสามในสี่ฟังทุกวันแต่ประมาณครึ่งหนึ่งฟังรายการบันเทิง เกษตรกรจำนวนมากที่ไม่เคยเดินทางไปที่อื่นๆ นอกจากตลาดในตัวอำเภอที่ตนอาศัยอยู่ การรู้จักบุคคลสำคัญปรากฎว่าเกษตรกรรู้จักนายกรัฐมนตรีมากที่สุดในเรื่องเกี่ยวกับทัศนคติที่ล้าหลัง ปรากฎว่าเกษตรกรประมาณครึ่งที่เชื่อถือเรื่องโชคชะตาที่เคยรดน้ำมนต์และเคยดูหมดดูประมาณหนึ่งในสามเชื่อเรื่องการสะเดาะเคราห์ ผลการศึกษาลักษณะทางประชากรของเกษตรกรพบว่าเกษตรกรที่มีคนในครัวเรื่อง ๖ คนหรือมากกว่ามีประมาณครึ่งหนึ่งของเกษตรกรทั้งหมด ขนาดของครัวเรือนโดยเฉลี่ยเท่ากับ ๖.๖ คน ลักษณะครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวเกษตรกรเกือบครึ่งมีบุตร มีชีวิตห้าคนขึ้นไป การศึกษาเรื่องการว่างงานปรากฎว่าเกษตรกรจำนวนน้อยมากประมาณหนึ่งในสิบเท่านั้นที่ว่างเกิน ๔ เดือนขึ้นไป การศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวนาที่ทำนาเพียงอย่างเดียวเปรียบเทียบกับชาวนาที่ทำการเกษตรอย่างอื่นด้วย ปรากฎผลในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะทางเศรษฐกิจชาวนาที่ทำนาอย่างเดียวมีอัตราส่วนของคนยากจนน้อยกว่าแต่มีอัตราส่วนของคนที่มีหนี้สินมากกว่ามีการเช่าที่ดินคือครองเกินกว่าครึ่งของที่ดินถือครองทำกินเป็นอตัราส่วนสูงกว่ามีการว่างงานเป็นเวลามากกว่าชาวนาที่ทำการเกษตรอย่างอื่นด้วยสำหรับเรื่องความทันสมัยในเรื่องการรับเทคนิควิทยาการแผนใหม่ปรากฎว่าชาวนาที่ทำนาอย่างเดียวมีอัตราส่วนของผู้รับเอาเทคนิคใหม่ๆ ช่วนในการเพาะปลูกเช่น ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงมากกว่า สำหรับการออมทรัพย์ปรากฎว่าไม่มีความแตกต่างอย่างสำคัญระหว่างชาวนาที่ทำนาอย่างเดียวกับชาวนาที่ทำการเกษตรอย่างอื่นด้วยในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะทางสังคมพบว่าเกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีระดับการศึกษาไร่เรี่ยกันมีความทันสมัยในเรื่องการรักษาพยาบาลแผนใหม่ การอ่านหนังสือพิมพ์และการฟังวิทยุรายการข่าวไม่แตกต่างกันมากนัก ทัศนคติที่ล้าหลังเช่นการดูหมดดูก็มีความแตกต่างน้อยเช่นกัน ผลการศึกษาที่ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้คือชาวนาที่ทำนาอย่างเดียวมีอัตราส่วนของผู้ที่มีส้วมใช้สูงกว่าชาวนาที่ทำการเกษตรอย่างอื่นด้วย ในการศึกษาถึงปัญหาสำคัญในการดำเนินชีวิตของเกษตรกรพบว่าเกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีปัญหาสำคัญๆ คล้ายคลึงกัน คือส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องความยากจน เรื่องการผลิตและการขายผลผลิต เรื่องน้ำและสุขภาพอนามัยตามลำดับ | |
dc.description.abstractalternative | An additional purpose is to analyze the differences of socio-economic status between rice farmers and rice farmers who engaged in general farming and/or fruit growing. The main hypothesis is: “Rice farmers have lower socio – economic standard of living than rice farmers who engaged in general farming and/or fruit growing.” Data were collected from the “National Longitudinal Survey of Social, Economic and Demographic Change in Thailand” conducted by the Institute of Population Studies, Chulalongkorn University, April – May 1969. The sample is a stratified selection of 1:2,000 of all household in rural areas. The sample size used in this study was 988 farmers. The instrument used in collecting data was a questionnaire. Concerning Economic characteristics, about two-third of all farmers owned their land. Most of the farmers owned holdings of small size, not more than 30 rais. The average size of farm was 22.1 rais. The percentage of farmers who indicated that their land was sufficient was positively related to size of farm and ownership in land. A few farmers used mechanical innovations in ploughing their fields. One-third used fertilizer and one fifth used insecticide. Only about thirdteen percent cultivated irrigated areas. Only eighteen percent saved money in the last year. One-third were in debt and about half of them said that the main reason for applying for a loan was for agricultural expenditures. Concerning social characteristics, it was found that most farmers finished only 4th grade level of schooling, but the majority of them expected their sons to have higher education than themselves. Health standards are rather low. Drinking water comes mostly from wells without treatment before drinking. Only seventeen percent secure drinking water from the rain by keeping the water in big jars. Sources of water for general use include wells as well as swamps, ponds, creeks and streams, Two-third of farmer did not use latrines. Those who used preferred digged latrines which are more convenient for the villagers. The majority preferred modern medical care as the method of curing disease. Most farmers have transistor radios and almost three fourth of them listened to the radio daily. The majority never go anywhere outside their villages except the market place in their amphoe. In response to an inquiry as if they knew some mentioned governer officers, the majority knew the prime minister but not other. As for religions affiliation and supernatural beliefs, half of farmers believed in or have gone to a fortune-teller, have gone for ritual bathing in order to be blessed or purified, and one-third have performed thanks giving ceremonies at a spirit shrine or sacred site in return for a fullfilled request. Concerning Demographic characteristics, it was found that about half of all agricultural household composed of six persons or more. The average size of household was 6.6 persons. Sixty percent of households consist of only a nuclear family. Almost half of them have five living children or more. Only about ten percent who are free more than four months during a year. Analyzing the differences of socio-economic status between rice farmers and rice farmers who engaged in general farming and/or fruit growing, it was found that the percentage of rice farmers who are in debt, who rented a large part of their land-holding and who are free more than four months during a year were higher, even if they have same size of farm. Nevertheless, rice farmers include a higher percentage of those who used fertilizer and insecticide. The study shows that there is no differences in percentage of saving money, educational level, listening to the radio, reading newspaper, preferring modern medical care and going to a fortune teller between rice farmers and rice farmers who engaged in other types of agriculture. The percentage of those who used latrine was higher among rice farmers. Thus in many ways the analysis rejects the unrial hypothesis. | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1972.10 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เกษตรกร -- ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ | en_US |
dc.subject | เกษตรกร -- ไทย -- ภาวะสังคม | en_US |
dc.subject | Farmers -- Thailand -- Economic conditions | en_US |
dc.subject | Farmers -- Thailand -- Social conditions | |
dc.title | ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในชนบทของประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Socio-economic characteristics of agriculturists in rural Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1972.10 |