Abstract:
พื้นที่บริเวณริมคลองบางกอกน้อยเป็นชุมชนที่มีประวัติมาแต่อดีต เดิมเป็นพื้นที่ที่อยู่ตามเส้นทางน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาจนกระทั่งมีการขุดคลองลัดจึงทำให้เส้นทางนำแปรเปลี่ยนไป รูปแบบชุมชนในบริเวณนี้จะมีลักษณะโดดเด่นของความเป็นชุมชนริมน้ำแบบซาวสวน พึ่งพาอาลัยน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในทุกๆด้าน ตั้งแต่การตั้งถิ่นฐาน การเพาะปลูก การอุปโภค บริโภค การคมนาคมขนส่ง และ การประกอบกิจกรรมทางน้ำในการดำเนินชีวิตที่มีการสืบเนื่องต่อกันมา จนมาถึงสภาพที่เป็นอยู่ ในปัจจุบันที่ความเจริญและการเติบโตของเมืองได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และ บทบาทของชุมชนริมนำในพื้นที่ โดยผ่านกระบวนการของการเป็นเมือง อันจะนำไปสู่การเสื่อมโทรมและสูญหายไปของชุมชนริมน้ำ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงวิวัฒนาการ และ สภาพของการเปลี่ยนแปลงของชุมชนริมน้ำที่เกิดขึ้นทั้งทางด้าน กายภาพ เศรษฐกิจ และ สังคมชุมชน ที่มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ และลักษณะทีเป็นแบบชุมชนริมน้ำ เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุ หรือ แรงผลักที่มีต่อสภาพของชุมชนให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา ระยะทาง และอิทธิพลที่ได้รับ จากเมือง รวมถึงผลกระทบต่างๆที่มีต่อพื้นที่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับสภาพของชุมชน และการ พัฒนาที่จะเกิดขึ้น โดยการรักษาสภาพแวดล้อมแบบชาวน้ำที่มีอยู่ในพื้นที่ให้สืบเนื่องต่อไป จากการศึกษาพบว่า ผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะมีระดับของความแตกต่างที่ไม่เท่ากันซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 เขตด้วยกันคือ พื้นที่ที่อยู่ในเขตเมือง พื้นที่รอยต่อเมือง และ พื้นที่ชานเมือง โดยพื้นที่ที่อยู่ในเขตเมืองและบริเวณรอยต่อเมืองที่ติดกับเขตเมืองจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สูง ทั้งในเรื่องของกิจกรรมและประเภทการใช้ที่ดิน อาคารบ้านเรือน อาชีพ รายได้ สภาพแวดล้อม สังคมชุมชน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันที่เปลี่ยนจากชุมชนน้ำเป็นชุมชนบก ทำให้ความสัมพันธ์ของคนที่มีต่อน้ำเสื่อมถอยลง สังคมวัฒนธรรมที่เป็นแบบชาวน้ำก็ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมของชุมชนเมืองที่แผ่อิทธิพลเช้ามาในพื้นที่ส่วนหนึ่งกลายเป็นชุมชนเมือง บางส่วนยังคงรักษาสภาพแวดล้อมเดิมไว้ สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงถึงศักยภาพ และ ทัศนคติของผู้คนในชุมชนที่อาลัยอยู่ในคลองบางกอกน้อยที่มีต่อแม่น้ำลำคลอง ผลจากการวิเคราะห์ดังกล่าว ท่าให้สามารถทราบถึงปัจจัยการคงอยู่ที่มาจากความสัมพันธ์ของผู้คนที่มีกับน้ำคือการพักอาศัยริมน้ำ ระบบเครือข่ายลำน้ำ สวนผลไม้และพื้นที่การเกษตร สังคมชุมชนริมน้ำ ต่างทำหน้าที่ในการรักษาให้ยังดำเนินอยู่ต่อไป ส่วนปัจจัยการเปลี่ยนแปลงจะมาจาก 2 ประการหลัก คือ ปัจจัยภายใน ซึ่งได้แก่ การประกอบอาชีพ และ การยอมรับวัฒนธรรมสมัยใหม่ และ ปัจจัยภายนอก อันได้แก่ เส้นทางคมนาคม นโยบายและการวางแผนของภาครัฐ และ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ที่ทำให้สภาพของชุมชนเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาความเจริญ กาลเวลา ระยะทาง และ การเข้าถึงที่สะดวกรวดเร็วที่สามารถติดต่อได้ทั้งผู้คนในชุมชนและบุคคลภายนอก อย่างไรก็ตามการคงอยู่ การเปลี่ยนแปลง และ การพัฒนาจะหยุดยั้งอยู่กับที่ไม่ได้ เพียงแต่การพัฒนานั้นต้องสอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมที่มือยู่ในชุมชน โดยการสนับสนุนของทางราชการ การร่วมมือในชุมชน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพของชุมชนและการรักษาความเป็นชุมชนริมน้ำให้ดำเนินอยู่ต่อไปในอนาคต ทั้งด้านของการปรับปรุงสภาพพื้นที่ การส่งเสริมและชักจูงผู้คนในชุมชน มาตรการและการควบคุม และ นโยบายและการวางแผนในการพัฒนาพื้นที่