DSpace Repository

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของชุมชนริมน้ำในคลองบางกอกน้อย

Show simple item record

dc.contributor.advisor นพนันท์ ตาปนานนท์
dc.contributor.author เติมศักดิ์ ภาณุวรรณ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-03-04T09:05:29Z
dc.date.available 2021-03-04T09:05:29Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9743464115
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72606
dc.description วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en_US
dc.description.abstract พื้นที่บริเวณริมคลองบางกอกน้อยเป็นชุมชนที่มีประวัติมาแต่อดีต เดิมเป็นพื้นที่ที่อยู่ตามเส้นทางน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาจนกระทั่งมีการขุดคลองลัดจึงทำให้เส้นทางนำแปรเปลี่ยนไป รูปแบบชุมชนในบริเวณนี้จะมีลักษณะโดดเด่นของความเป็นชุมชนริมน้ำแบบซาวสวน พึ่งพาอาลัยน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในทุกๆด้าน ตั้งแต่การตั้งถิ่นฐาน การเพาะปลูก การอุปโภค บริโภค การคมนาคมขนส่ง และ การประกอบกิจกรรมทางน้ำในการดำเนินชีวิตที่มีการสืบเนื่องต่อกันมา จนมาถึงสภาพที่เป็นอยู่ ในปัจจุบันที่ความเจริญและการเติบโตของเมืองได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และ บทบาทของชุมชนริมนำในพื้นที่ โดยผ่านกระบวนการของการเป็นเมือง อันจะนำไปสู่การเสื่อมโทรมและสูญหายไปของชุมชนริมน้ำ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงวิวัฒนาการ และ สภาพของการเปลี่ยนแปลงของชุมชนริมน้ำที่เกิดขึ้นทั้งทางด้าน กายภาพ เศรษฐกิจ และ สังคมชุมชน ที่มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ และลักษณะทีเป็นแบบชุมชนริมน้ำ เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุ หรือ แรงผลักที่มีต่อสภาพของชุมชนให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา ระยะทาง และอิทธิพลที่ได้รับ จากเมือง รวมถึงผลกระทบต่างๆที่มีต่อพื้นที่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับสภาพของชุมชน และการ พัฒนาที่จะเกิดขึ้น โดยการรักษาสภาพแวดล้อมแบบชาวน้ำที่มีอยู่ในพื้นที่ให้สืบเนื่องต่อไป จากการศึกษาพบว่า ผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะมีระดับของความแตกต่างที่ไม่เท่ากันซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 เขตด้วยกันคือ พื้นที่ที่อยู่ในเขตเมือง พื้นที่รอยต่อเมือง และ พื้นที่ชานเมือง โดยพื้นที่ที่อยู่ในเขตเมืองและบริเวณรอยต่อเมืองที่ติดกับเขตเมืองจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สูง ทั้งในเรื่องของกิจกรรมและประเภทการใช้ที่ดิน อาคารบ้านเรือน อาชีพ รายได้ สภาพแวดล้อม สังคมชุมชน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันที่เปลี่ยนจากชุมชนน้ำเป็นชุมชนบก ทำให้ความสัมพันธ์ของคนที่มีต่อน้ำเสื่อมถอยลง สังคมวัฒนธรรมที่เป็นแบบชาวน้ำก็ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมของชุมชนเมืองที่แผ่อิทธิพลเช้ามาในพื้นที่ส่วนหนึ่งกลายเป็นชุมชนเมือง บางส่วนยังคงรักษาสภาพแวดล้อมเดิมไว้ สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงถึงศักยภาพ และ ทัศนคติของผู้คนในชุมชนที่อาลัยอยู่ในคลองบางกอกน้อยที่มีต่อแม่น้ำลำคลอง ผลจากการวิเคราะห์ดังกล่าว ท่าให้สามารถทราบถึงปัจจัยการคงอยู่ที่มาจากความสัมพันธ์ของผู้คนที่มีกับน้ำคือการพักอาศัยริมน้ำ ระบบเครือข่ายลำน้ำ สวนผลไม้และพื้นที่การเกษตร สังคมชุมชนริมน้ำ ต่างทำหน้าที่ในการรักษาให้ยังดำเนินอยู่ต่อไป ส่วนปัจจัยการเปลี่ยนแปลงจะมาจาก 2 ประการหลัก คือ ปัจจัยภายใน ซึ่งได้แก่ การประกอบอาชีพ และ การยอมรับวัฒนธรรมสมัยใหม่ และ ปัจจัยภายนอก อันได้แก่ เส้นทางคมนาคม นโยบายและการวางแผนของภาครัฐ และ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ที่ทำให้สภาพของชุมชนเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาความเจริญ กาลเวลา ระยะทาง และ การเข้าถึงที่สะดวกรวดเร็วที่สามารถติดต่อได้ทั้งผู้คนในชุมชนและบุคคลภายนอก อย่างไรก็ตามการคงอยู่ การเปลี่ยนแปลง และ การพัฒนาจะหยุดยั้งอยู่กับที่ไม่ได้ เพียงแต่การพัฒนานั้นต้องสอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมที่มือยู่ในชุมชน โดยการสนับสนุนของทางราชการ การร่วมมือในชุมชน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพของชุมชนและการรักษาความเป็นชุมชนริมน้ำให้ดำเนินอยู่ต่อไปในอนาคต ทั้งด้านของการปรับปรุงสภาพพื้นที่ การส่งเสริมและชักจูงผู้คนในชุมชน มาตรการและการควบคุม และ นโยบายและการวางแผนในการพัฒนาพื้นที่ en_US
dc.description.abstractalternative Areas along Khlong Bangkok Noi has long been with historical background. In the past, this area has been located along the Chao Phraya river until the tide was short cut by man-made cannel. Community characteristic was predominantly a cannei-along sid planters, which rely on natural water resources, in many cases, such as, settlement, agriculture, consumption, communication and transportation, and water activities in their lifestyles. This has happened continuously, from the past until the presents. Development and growth of the city creased the impact on changing patterns and the role of community along the cannel, by being processed from the city expansion. This process has deteriorated and eventually the disappearance of along-the-cannel life style. The objective of this thesis is to study the development and the historical change of the cannel community in terms of physical, economic and social lifestyle. This could reveal the cause and social impact on the change of community’s lifestyle, in different periods of time, distances, and influence from the city expansion. These can be used as a guideline for the development of community lifestyles, by preserving and continuing cannel community and environment From the study, it was found that the consequence of the changes happened on 3 different levels ; the inner city, the zone of transition, and the urban fringe. Fast changes happen with the first two areas, regarding to housing estate, occupation and income, environment and social life, day by life changing from cannel to land-community. These changes deteriorate the relation of human and water resources, which ended up with the culture changed from cannel to urban community Nevertheless, some are unchanged. This reflects potential and attitude of people living along the Khlong Bangkok Noi, which affects the cannel and river. From the analytical result reveals that the relation of human and water resources, such as lives along the waterway, waterway network, plantation areas and cannel lifestyles are factors which can maintain and continue their cannel community. Furthermore, the changes are due to two factors, internal (occupation and modern culture) and external (communication routes, government’s policy and planning and the increase of population). These factors dictate the change of community’s lifestyles, in relations with growth and development, period, connections and speed of communication within the community and also with external. However, the constancy, the change and development cannot be stopped. But the change or development should be closely in line with community’s social and culture. This could happen with government support in collaboration with community co-operation, to optimize a proper environment for the community, of being constantly a cannel lifestyles at present and in the future. This includes area development, human motivation and support, rules and regulation, and policy and planning for development of the community. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การตั้งถิ่นฐานมนุษย์ en_US
dc.subject ชุมชนริมน้ำ -- ไทย (ภาคกลาง) en_US
dc.subject การเปลี่ยนแปลงทางสังคม en_US
dc.subject เมือง -- การเจริญเติบโต en_US
dc.subject คลองบางกอกน้อย en_US
dc.title ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของชุมชนริมน้ำในคลองบางกอกน้อย en_US
dc.title.alternative Factors of change of canal communities along Khlong Bangkok Noi en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การวางผังเมือง en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Nopanant.T@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record